6325.ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า

ฤกษ์ดีของพระพุทธเจ้า ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในโกศลรัฐได้มีบุคคลผู้หนึ่งในชนบทสู่ขอธิดาของตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีให้แก่บุตรของตนตกลงกันกำหนดวันประกอบพิธีมงคลเรียบร้อยแล้วต่อมาเขาได้ถามอาชีวก (นักบวชจำพวกหนึ่ง) ผู้เป็นที่นับถือของตนว่าวันนั้นฤกษ์ดีหรือไม่ อาชีวกโกรธว่าไม่ถามตนเสียก่อน กำหนดวันกันแล้วมาถามภายหลังจึงกล่าวว่า วันนั้นฤกษ์ไม่ดี อย่าทำมงคล ถ้าทำจะเกิดมหาวินาศพวกเขาก็พากันเชื่อ เมื่อถึงวันนัดก็ไม่ไปเพราะกลัวจะเกิดมหาวินาศ ส่วนทางฝ่ายหญิงซึ่งได้เตรียมการมงคลทั้งปวงไว้แล้วรออยู่ไม่เห็นฝ่ายชายมาก็พากันโกรธเพราะได้ตกลงวันกันไว้ได้ตระเตรียมสิ่งทั้งปวงสิ้นเปลืองไปเป็นอันมาก ทั้งเป็นการเสียหน้าแก่ฝ่ายหญิงจึงได้ยกธิดาให้แก่ชายในตระกูลอื่นซึ่งเป็นผู้ขอรับแทนได้ประกอบพิธีมงคลตามที่เตรียมไว้เสร็จเรียบร้อยไปในวันนั้นเอง ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกฝ่ายชายที่สู่ขอไว้ก่อนจึงพากันไปก็ถูกพวกฝ่ายหญิงด่าว่าขับไล่ให้กลับ พวกฝ่ายชายก็โต้ตอบเกิดวิวาทกันขึ้นแต่ก็ไมไ่ด้หญิงเพราะเขายกให้คนอื่นไปแล้ว ต้องพากันกลับ ข่าวเรื่องอาชีวกนั้นทำการทำนายทายทักเป็นอันตรายแก่การมงคลปรากฏไปทั่วนครจนทราบถึงหมู่ภิกษุ พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจากหมู่ภิกษุก็ได้ตรัสเล่าเรื่องทำนองเดียวกันที่เกิดเพราะถือฤกษ์ยามผิดๆ ในอดีตกาลแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสประทานโอวาทแปลความว่า“ประโยชน์ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์

Read more
error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ