3649. คุณพระนิติกรรมสุนทร (ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม)

กฎหมายอาญามาจากรากฐานเดียวกันตั้งแต่ยุคมหาอาณาจักรบาบิโลนของชาวบาบิโลเนียพระเจ้าฮามูราบิก ทรงตรากฎหมายที่รู้จักกันไปทั่วโลกที่เรียกกันว่า กฎหมายลงโทษทดแทนที่เรียกกันติดปากตามจารึกในอักษรคูนิฟอร์มว่า ”ตาต่อตาฟันต่อฟัน”

ที่กำหนดว่าผู้ทำร้ายย่อมได้รับโทษจุดเดียวกับผู้ที่ถูกทำร้ายทำให้ตาผู้อื่นบอด 1 ข้างมันผู้กระทำต้องถูกควักลูกนัยน์ตาออก 1 ข้างทำให้ผู้อื่นฟันหัก 1 ซี่มันผู้กระทำต้องถูกหินทุบให้ฟันหัก 1 ซี่

จากนั้นก็มาถึงพระมนูธรรมศาสตร์กฎหมายในยุคต้นเมื่อหลายพันปีมาแล้วในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต้นกำเนิดศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นรากฐานกฎหมายในประเทศไทยในยุคก่อนจากกรุงสุโขทัย ศรีอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ที่ต่อมา

เมื่อประเทศไทยต่อรองเรื่องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ศาลกงสุล)ทางฝ่ายประเทศตะวันตกจึงให้ประเทศไทยปรับปรุงกฎหมายในไทยในลักษณะอาญาและแพ่งให้เป็นสากลโดยพระองค์เจ้าศักดิ์รพีพระบิดาแห่งกฎหมายไทยทรงปรับปรุงกฎหมายลักษณะอาญาและแพ่งเป็นสากลนิยมมาจนทุกวันนี้

ไพฑูรย์เล่าว่าเรื่องนี้ให้ผู้เขียนฟังเป็นฉากๆหลายอย่างที่ทำให้ผู้เขียนเชื่อว่าไพฑูรย์เคยเป็นอดีตนายทหารกรมพระธรรมนูญจริงไพฑูรย์เล่าว่า เมื่ออังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นผู้นำในการจัดตั้งศาลกงสุลเพราะในสมัยรัชกาลที่ 4 กรมพระนครบาลยังใช้จารีตนครบาลอันได้แก่การทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพอาทิเอาไม้ไผ่บีบขมับ เอาเหล็กแหลมตอกเข้าไปในจมูกเล็บ เอาคีมดึงเล็บออกมาจากนิ้ว ฯลฯ ชาวตะวันตก บอกว่ารับไม่ได้

ในปัจจุบันทั่วโลกใช้ระบบเดียวกันหมดคือศาล 3 ระดับคือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่มีประเทศใดยอมรับศาลเดียว

ไพฑูรย์เล่าว่าสมัยเมื่อเรียนกฎหมายคุณพระนิติกรรมสุนทร อาจารย์สอนกฎหมายอาญาได้เล่าถึงเรื่องการตัดสินในศาลฝรั่งเศสขณะที่ยึดครองจันทบุรีว่า แม้เป็นศาลกงสุลแต่มี 3 ศาลและผู้พิพากษาฉลาดเป็นกรด ไต่สวนลงโทษคนผิดไม่พลาดเพราะรอบคอบ คุณพระท่านเล่าว่า

มีคดีหนึ่งมีโจทก์นำฟ้องว่านายจีบ(แขนด้วน 2 ข้าง)ขโมยกระทะต้มข้าวหมูที่โจทก์คว่ำไว้บนไม้หมอนไป โจทก์ตามไปเจอถูกซุกไว้ในป่าข้างหลังบ้านผู้ต้องหา แต่ผู้ต้องหาปฏิเสธมีพยานคนหนึ่งเห็นว่านายจีบมักเดินไปดูกระทะอยู่เป็นประจำแสดงว่าเป็นทรัพย์สินของตนพยานอีกคนหนึ่งบอกว่านายจีบเคยบอกขายกระทะต้มข้าวหมูให้กับพยาน

เมื่ออัยการนำเรื่องเสนอต่อศาล ศาลกงศุลอ่านคำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลจึงเปิดการพิจารณาคดีโดยในคำฟ้องบอกเพียงแต่ผู้ต้องหาชื่อนายจีบมิได้ระบุว่าแขนด้วนสองข้าง เพราะอัยการเกรงว่าหากระบุลงไปแล้วศาลจะไม่รับฟ้อง

เมื่อผู้พิพากษาศาลกงสุลเข้านั่งประจำที่แล้วจึงให้เบิกตัวผู้ต้องหาและโจทก์มาเผชิญสืบหน้าศาล

เมื่อผู้ต้องหาคือนายจีบที่แขนด้วนสองข้างถูกเบิกตัวเข้ามาในศาลผู้พิพากษาเห็นผู้ต้องหาแขนด้วน 2 ข้างขัดกับข้อกล่าวหาว่าขโมยกะทะข้าวหมูโดยของกลางที่ยึดมาแสดงต่อหน้าศาลไม่มีทางที่นายจีบจะหิ้วหอบไปได้

พออัยการอ่านบรรยายคำฟ้องจบผู้พิพากษาคว้าค้อนไม้มาเคาะบัลลังก์เกลี้ยงพูดด้วยเสียงอันดังจนทุกคนในห้องพิจารณาคดีหัวหด

”เป็นอะไรกันไปหมดผู้ต้องหาแขนด้วนถึงหัวไหล่ 2 ข้างพยานไม่เห็นตอนขโมยแต่เห็นว่าผู้ต้องหาไปวนเวียนคอยดูกะทะของกลางกับพยานอีกคนหนึ่งระบุว่าผู้ต้องหาบอกขายกะทะ

ผู้ต้องหาอาจเป็นเพียงจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้ร่วมคิด แต่อัยการโจทก์ฟ้องผู้ต้องหาที่ปฏิเสธมาโดยตลอดว่ามิได้เป็นผู้ขโมยว่าเป็นขโมยลักทรัพย์ผู้อื่นศาลเห็นว่าเป็นการฟ้องผิดข้อหาให้คืนของกลางให้ผู้ต้องหา”

ผู้พิพากษาหันมาชี้มือไปที่นายจีบแล้วสั่งว่า

”นายจีบนายเป็นอิสระแล้วเอากระทะคืนไปได้”

ขณะที่ทุกคนยืนตกตะลึงนายจีบดีใจสุดขีดเดินเข้าไปเอาหัวมุดเข้าไปใต้กะทะที่คว่ำไว้บนหมอนรองแล้วงัดขึ้นให้ได้ดุล เดินแบกกระทะด้วยหัวจะออกจากห้องพิจารณาคดี เสียงผู้พิพากษาร้องสั่งด้วยเสียงดังดุจเดิมว่า

” เจ้าหน้าที่ศาลจับกุมตัวนายจีบเอาไว้ศาลจะเริ่มพิจารณาคดีอีกครั้ง”

นายจีบจำนนด้วยหลักฐานคาศาลถูกตัดสินจำคุกขี้ไก่เป็นเวลา 1 เดือน

นักเรียนกฎหมายฮากันตรึมคุณพระหันมามองตาขวางปิดตำรากฎหมายดังปึงพูดด้วยน้ำเสียงขุ่นๆว่า

หัวเราะหาพระแสงอะไรกันเป็นเรื่องจริงที่มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุเมื่อฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นเรื่องเป็นราวที่ฉันเอามาเล่าให้ฟังเตือนว่าไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทนายความ หรืออัยการก็ดีต้องหาหลักฐานมาประกอบให้ชัดเจนในศาลสู้กันด้วยหลักฐานพยานและข้อกฎหมายไม่มีใครเก่งกว่าใครสุดแต่ว่าใครจะมองแง่มุมกฎหมายในการต่อสู้ดีกว่าใครเท่านั้นเอง

ไพฑูรย์ลุกขึ้นขอโทษคุณพระแทนเพื่อนและถามคุณพระว่าทำไมผู้พิพากษาจึงให้ปล่อยตัวนายจีบคุณพระมีสีหน้าดีขึ้นเราต่อไปว่า

ผู้พิพากษาดูสำนวนแล้วเห็นว่าสู้กันไปในที่สุดก็เสียเวลาเปล่าถึงอย่างไรก็ต้องปล่อยตัวนายจีบเป็นอิสระเพราะขาดพยานยืนยันว่าเห็นนายจีบที่แขนด้วน 2 ข้างขโมยกระทะไปได้ต่อหน้าต่อตาเมื่อขาดพยานสำคัญอย่างนี้ไม่ว่าใครก็คิดเหมือนกันว่าคนแขนด้วนถึงหัวไหล่จะขโมยกระทะใบใหญ่ไปได้อย่างไร

”ผู้พิพากษาศาลกงสุลแกฉลาดเป็นกรดอย่างนี้ จึงแสร้งทำเป็นสงสารผู้ถูกกล่าวหาว่าถูกอัยการเป็นโจทก์ฟ้องไม่สมเหตุผลให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาแถมให้เอากระทะของกลางกลับไปเป็นของแถมที่ถูกกฎหมาย

ถ้านายจีบจะรอจนปิดศาลแล้วไปจ้างใครก็ได้มายกกระทะครอบหัวแกเท่านั้นทุกอย่างก็จบแต่นายจีบแกดันผ่าโง่แสดงวิธีการขโมยด้วยการใช้หัวมุดเข้าไปใต้กระทะแล้วเอาหัวดันจนได้ดุลซึ่งใช้หัวแบกกระทะไปได้เป็นการสารภาพกลางศาลเลยเขาปิ้ง”

ไพฑูรย์เล่าว่าเมื่อตอนติดคุกระหว่างถูกดำเนินคดีในข้อหาฆ่าขุนตระเวนฯโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น คุณพระนิติกรรมสุนทรให้ลูกน้องเอาของเยี่ยมมาฝากพร้อมนามบัตรที่มีข้อความเขียนด้วยลายมือคุณพระฯว่าสู้เขาไอ้ลูกชายได้ข่าวว่าเป็นทนายให้ตัวเองอย่างนี้สิถึงจะเรียกว่าเป็นศิษย์มีครู (มีลายเซ็นคุณพระฯตอนท้าย)

ไพฑูรย์บอกว่าเสียใจที่ไม่ได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพคุณพระนิติกรรมสุนทรเพราะตอนนั้นหนีไปกบดานที่อำเภอกันตัง ท่านเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่ทำให้ไพฑูรย์สอบเข้ารับราชการเป็นนายทหารพระธรรมนูญติดยศร้อยตรีและใช้ในการต่อสู้คดีในศาลตลอดมา พระคุณของท่านชาตินี้ชดใช้ไม่หมด

เมื่อเรียนจบวันอำลาคุณพระฯได้เรียกไพฑูรย์ไปคุยใกล้ๆคุณพระฯกล่าวกับไพฑูรย์ว่า

” ในรุ่นเดียวกับเธอ เธอดีกว่าคนอื่นทั้งความจำไหวพริบปฏิภาณและการมองแง่มุมกฎหมายแต่ฉันมีข้อติงเธออยู่บางประการ ขอเธอพึงระลึกไว้เสมอ”

”ประการแรกเธอเป็นคนอารมณ์ร้อนคนอารมณ์ร้อนเป็นนักกฎหมายที่ดีไม่ได้เพราะฝ่ายตรงข้ามจะยั่วยวนกวนบาทาให้เธอเสียรูปไปเองนักกฎหมายต้องควบคุมอารมณ์ให้เหมือนกับว่ามิได้ขึ้นศาลมิได้โต้เถียงแต่เป็นเพียงแสดงเหตุแสดงผลหักล้างกันให้ผู้พิพากษาท่านได้เป็นผู้พิจารณาศาลเราเป็นศาลที่ผู้พิพากษาเป็นใหญ่ไม่เหมือนศาลตะวันตก

”ศาลตะวันตกเขาใช้ระบบลูกขุนทนายความและอัยการจะต้องทำให้คณะลูกขุนทั้ง 10 คนมีความเห็นตรงกันว่าจำเลยผิดหรือไม่ผิดจริงอัยการหรือทนายความใครอารมณ์ร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ได้แพ้ป่าราบก็แล้วกัน”

” อีกอย่างเธอพึงระลึกว่าศาลมีสามศาลด้วยกันเธอชนะในศาลชั้นต้นอาจจะแพ้ในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาอย่าลำพองอย่าทรนงจงทำทุกอย่างให้รอบคอบที่สุดจงทำให้ชนะทั้ง 3 ศาลนั่นแหละยอดนักกฎหมาย”

ไพฑูรย์สรุปในตอนที่เล่าว่าเป็นเหมือนที่คุณพระฯพูดทุกอย่างไพฑูรย์อารมณ์ร้อนวู่วามจึงลืมตัวแม้ขว้างปากกาใส่ตำรวจใส่อัยการ ขว้างร้องเท้าใส่พยานจนต้องคำพิพากษาสั่งศาลให้จองจำ 5 สถานแม้ในห้องพิจารณาคดีรองเท้าก็ไม่ให้ใส่คงอนุญาตแต่ปากกาเท่านั้น

ในที่สุดก็โดนคดีประหาร 2 คดีติดคุกรวมกันอีกร้อยกว่าปีกว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษก็แก่เสียแล้วแต่ก็ดีกว่าแก่ตายในคุก

ไพฑูรย์บอกว่าแม้จะเป็นขาใหญ่ในคุกแต่การอยู่ในคุกก็เหมือนตกนรกถูกจำกัดบริเวณแม้มีความเป็นอยู่ดีไม่เหมือนอยู่นอกคุกแบบอิสระเสรีเป็นนายเป็นนางดีกว่าเป็นนช.นักโทษชายหรือนญ. นักโทษหญิง คำว่าคุกสั้นแต่เจ็บปวดสหรัฐอเมริกาบางรัฐจึงเปลี่ยนจากคำว่า”เรือนจำรัฐ”มาเป็น”สถานปรับปรุงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแห่งรัฐ”

เปลี่ยนโทษประหารด้วยเก้าอี้ไฟฟ้ามาเป็นฉีดยาแทนยกเลิกโทษประหารแต่เปลี่ยนมาเป็นจำคุกตลอดชีวิตไม่มีอภัยโทษพูดให้เข้าใจง่ายๆคือติดคุกจนตายคาคุกศพเท่านั้นที่จะผ่านประตูออกไปได้

ในเมืองไทยโทษแบบนี้ยังไม่มีอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาเพราะถึงอย่างไรพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ในการลดหย่อนผ่อนโทษเมื่อนักโทษประหารหรือจำคุกตลอดชีวิตทูลเกล้าถวายฎีกายังคงมีอยู่เป็นความหวังสุดท้ายของนักโทษเด็ดขาดทุกคนตลอดไป

*สายบู๊อาคมหนังเหนียวรอก่อนนะครับเอาความรู้ไปเพิ่มเติมก่อน
ฝากด้วยเรื่องนิตยสารแปลกเล่มเก่าๆที่มีผลงานขออาจารย์ไพฑูรย์ใครเจอเเจ้งแอดมินด้วยนะครับขอบพระคุณครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : นักเลง โบราณ ตำนานหนังเหนียว
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: