3550. เสือสุนทรนักโทษประหาร (ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม)

เมื่อเกิดคดีขึ้นตำรวจจะเข้าไปสอบสวน ทำสำนวนรวบรวมหลักฐานทั้งที่เป็นพยานวัตถุและพยานบุคคลติดตามจับกุมคนร้าย ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังเจ้าพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวนคดีหากพบข้อบกพร่องหรือช่องที่ทนายจำเลยอาจจะอาศัยเป็นช่องทางให้จำเลยพ้นผิดหรือได้รับโทษน้อย จะตีกลับสำนวนพร้อมกับข้อแนะนำให้ตำรวจกลับไปสอบสวนเพิ่มเติม ก่อนจะนำมาดูอีกครั้งเมื่อหมดข้อท้วงติงแล้วส่งตัวจำเลยขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอันพ้นจากความรับผิดชอบของตำรวจ ไพฑูรย์บอกว่าทุกยุคทุกสมัยใครจะติดคุก ใครจะถูกกันเป็นพยาน ใครจะพ้นผิด ล้วนเป็นฝีมือของตำรวจผู้ทำสำนวนทั้งนั้นที่ไพฑูรย์ต้องโทษประหาร 2 คดีกับจำคุกอีกร้อยกว่าคดีก็ด้วยสำนวนของตำรวจ สำหรับไพฑูรย์บอกว่าโดยส่วนตัวนั้นก็ผิดจริงแต่ไม่เลวเหมือนในสำนวนการสอบสวนของตำรวจ ใครมีเงินมีเส้นใหญ่พอสำนวนการสอบสวนจะอ่อนยวบยาบจนคนที่น่าจะติดคุกกลับรอด คนที่ไม่น่าจะติดคุกกลับติด คนผิดกลับถูกกันเป็นพยาน หลังจากที่ไพฑูรย์ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระภูมิพลมหาราชาออกมาดำเนินชีวิตตามปกติก็มีการออกกฎหมายว่าด้วย “บุคคลอันธพาล” ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมคุมขังผู้ต้องหาไว้ได้เป็นเวลา 1 เดือน

Read more
error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ