6318.สมเด็จพระราเมศวร พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ถึง 2 ครั้ง

สมเด็จพระราเมศวร พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กับพระขนิษฐาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี เสด็จพระราชสมภพใน พ.ศ. 1875 พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียวก็สละราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ผู้เป็นพระมาตุลา และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติอีกครั้งภายหลังการสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง

Read more

6338.พระแท่นราชบรรจถรณ์ พระแท่นบรรทมของพระมหากษัตริย์

พระแท่นราชบรรจถรณ์ พระแท่นบรรทมของพระมหากษัตริย์พระแท่นราชบรรจถรณ์ เป็นพระแท่นบรรทมของพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับราชสมบัติบรมราชาภิเษกตามราชประเพณี แล้วจัดพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรซึ่งเปรียบเหมือนขึ้นบ้านใหม่ของสามัญเรา ในที่นี้จะกล่าวถึงพระแท่นราชบรรจถรณ์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งเคยเป็นที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระแท่นราชบรรจถรณ์นี้ จะกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรไว้ที่เพดาน กั้นพระฉากลายทองบุตาด แบ่งเป็นห้อง ๆ หน้าพระแท่นราชบรรจถรณ์ทอดพระแท่นลด ส่วนห้องติดกันเป็นห้องทรงเครื่อง ตั้งพระแท่นสำหรับประทับราบทอดเครื่องสรงพระพักตร์และเครื่องพระสำอาง ซึ่งตามพระราชนิติธรรมประเพณีพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว แต่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษก จะไม่เสด็จประทับบรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

Read more

6330.ใบมะตูม และศาสนาพราหมณ์ในไทย

ใบมะตูม ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทยมีมาแต่โบราณกาลจนถึงสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยจึงเคารพนับถือศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ งานพิธีบางอย่างที่ชาวไทยประกอบขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล จึงมีทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ควบคู่กันไปตามที่ตนเคารพยึดมั่นอยู่ จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมขนบประเพณีอันดีงามมาถึงปัจจุบันนี้ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าเป็นพุทธมามกะและทรงเคารพนับถือศาสนาพราหมณ์ตามบูรพราชประเพณี ในพิธีต่าง ๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบขึ้นนั้น บางพิธีมีทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ตามควรแก่กาละ ใบมะตูมเป็นพฤกษชาติ ลักษณะใบเล็กมน ปลายเรียวแหลมอ่อนนุ่มมีก้านใบเรียงติดกันเป็นรูปสามแฉก ในก้านหนึ่งมี ๓

Read more

614. พิชัยสงครามของพระมหากษัตริย์สยาม

ผู้ปกครองแผ่นดินสยามจะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ เพื่อความสงบร่มเย็นแก่ไพร่ฟ้าทั้งปวง ให้รอบรู้หลักการปกครองบ้านเมือง เช่น ให้มีจิตวิทยาในการครองใจเสนาอำมาทย์ผู้สนองราชกิจต่างๆ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยแห่งความสามัคคี และความจงรักภัคดีของอาณาประชาราษฎ์ ลักษณะให้บังเกิดศึก หมาย ถึง การศึกสงครามจะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุต่างๆ กล่าวคือ การจะเกิดศึกสงครามแต่ละคราวต้องมีต้นเหตุ ในตำราพิชัยสงครามระบุว่าสาเหตุที่จะบังเกิดศึกมี ๑๓ ประการ คือ ด้วยเหตุแย่งชิงดินแดน

Read more
error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ