2281.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู สุดยอดพระเกจิทรงอภิญญาแห่งเมืองลพบุรี

#สุดยอดพระเกจิทรงอภิญญาแห่งเมืองลพบุรี
#พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
……หลวงพ่อพริ้ง นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกของเมืองละโว้ธานีองค์หนึ่ง พระเดชพระคุณท่านนับว่าเป็นพระเถระ ที่ทรงคุณธรรมหลายประการ ใครๆ ที่ได้มาเยี่ยมเยือนหรือสัมผัสพูดคุย มักจะประทับใจในอริยาบทและวัตรปฏิบัติตลอดจนอุปนิสัยใจคออันเยือกเย็นของพระคุณท่าน หลวงพ่อเป็นพระที่พูดน้อย มีลูกศิษย์ลูกหามาก เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของหมู่ชนทุกระดับชั้นยิ่งในแถวถิ่นโก่งธนูด้วยแล้วใครไม่รู้จักหลวงพ่อก็แสนจะเชยสิ้นดีครับ.
เพจจดหมายพระเกจินับเป็นโอกาสที่เหมาะเนื่องด้วย.

วันที่๒พฤศจิกายน๒๕๖๒ ที่ผ่านมาเป็น #วันครบรอบ๑๑๙ปีชาตกาลหลวงพ่อพริ้ง…ผมจะขอลงบทความชีวประวัติที่ผมจะได้กล่าวถึงต่อๆ ไป เพื่อเป็นการระลึกถึงหลวงพ่อครูบาอาจารย์และเพื่อเป็นประกาศเกียรติคุณ ความดี ของครูบาอาจารย์ มิให้สูญหายหรือลาลับไปกับกาลเวลากระผมขอลงเรื่องราวให้รับชมรับฟังกันครับ…


พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) วัดโบสถ์ ต.โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี• • • • • • • • • • • • • • • • • • • •
วัดโบสถ์ฯ ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏชัดเจน จากการสันนิษฐานหรือประมาณกาลเอาว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยประชาชนและพุทธมามกะ มีความพร้อมใจกันสร้างขึ้นด้วยความสามัคคีการที่สร้างวัดนี้ขึ้น ก็เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจ และบำเพ็ญกุศล และ ตั้งชื่อวัดนี้ว่า ‘วัดโบสถ์’ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ของวัดมีประมาณทั้งสิ้น 20 ไร่ เศษ

และมีผู้ใจบุญได้ถวายที่ดินให้กับวัดอีกจำนวนหนึ่ง ระยะทางจากหัวเมืองลพบุรีถึงวัดโบสถ์โก่งธนูประมาณ15 กม.มาถึงวัดได้โดยทางรถยนต์ เวลาหน้าน้ำก็มาได้ทางลำน้ำโดยทางเรือวัดโบสถ์เป็นวัดสังกัดมหานิกาย

โบราณวัตถุมงคลของวัดมีพระเจดีย์ 3 องค์ หน้าพระอุโบสถเก่า 1 หลัง โบราณสถานมีอุโบสถ์หลังใหม่ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง และมีกุฎิ 9 หลัง หอสวดมนต์ 1 หลัง หอฉัน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง ศาลาเล็กๆ ที่ท่าน้ำ 2 หลัง มีห้องสุขา 8 ห้อง มีสถานีอนามัยชั้น 2 มีบ่อน้ำบาดาลและจัดตั้งประปาน้ำบาดาล มีโรงเรียนประชาบาล 1 ลัง มีเมรุเผาศพ 1 เมรุ และมีโรงเก็บศพ 1 หลัง

#ทำเนียบเจ้าอาวาส
ตั้งแต่องค์แรกไม่ทราบประวัติ ได้สอบถามผู้ใหญ่ที่มีอายุไม่อาจจะทราบได้ เพิ่งมาจำได้ตอนที่พระอาจารย์สะอาดปกครองแล้ว ต่อจากพระอาจารย์สะอาดแล้ว ก็มีพระอาจารย์ฉิมจากอาจารย์ฉิม ก็ถึงอาจารย์อินปกครอง มีนายจันทร์ นายแก้ว เป็นไวยาวัจกรหรือมัคนายก ต่อจากปลัดหลำ ก็ถึงอาจารย์ฝอยปกครอง มีนายพึ่ง, นายจันทร์, นายจุ่น,นายเป๋า, นายดิษฐ์,นายเปีย,นายฮวบ เป็นไวยาวัจกร

เมื่อพระอาจารย์ฝอยลาสิกขาแล้วการปกครองก็ถึงพระครูประสาทวรคุณหรือทุกคนเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้ง เมื่อพรรษา 5 ท่านเป็นคู่สวดและสมภารสืบแทนอาจารย์ฝอย นายเฉื่อย จันทร์อิน เป็นไวยาวัจกร

#ประวัติของพระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) อายุ84 พรรษา 64 วัดโบสถ์ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อดีตดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลโก่งธนู สถานะและชาติกำเนิดของหลวงพ่อ

นามเดิม ชื่อพริ้ง นามสกุล เพ็งรอด เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ปีชวด ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 บิดาชื่อนายดึก มารดาชื่อ นางแสง นามสกุล เพ็งรอด บ้านคุ้งนามอญ ตำบลโก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรีมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คนคือ1. หลวงพ่อพริ้ง เพ็งรอด2. นางผลบ ไข่หงส์3. นายกรู่ เพ็งรอด4. นายโหน่ง เพ็งรอด5. นายบ่าย เพ็งรอด6. นางสาวสาคร เพ็งรอดอุปสมบทเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ พัทธสีมาวัดญาณเสน ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

หลวงพ่อหลำเจ้าอาวาสวัดญาณเสนเป็นอุปัชฌายะ หลวงพ่อแสน วัดญาณเสนเป็นกรรมวาจารย์ หลวงพ่อฝอย วัดญาณเสน เป็นอนุสาวนาจารย์ชีวิตในวัยเยาว์เมื่อหลวงพ่อยังอยู่ในเยาว์วัย ท่านได้ช่วยโยมพ่อและโยมแม่ประกอบอาชีพตามประสาเด็กที่จะพึงกระทำได้ด้านการศึกษา วิทยะฐานะ อ่านออก เขียนได้ จากสำนักวัดไก่เตี้ย ตำบลตลองน้อยอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาสมัยนั้นนับว่าอยู่ในขั้นที่ยังไม่เจริญ อาจจะพูดได้ว่าหาโรงเรียนทำยายาก

ยิ่งในถิ่นธุรกันดาร ก็ยิ่งจะไม่มีโรงเรียนเอาเสียเลย กุลบุตรหรือเยาวชนชายก็พอจะมีโอกาสบ้าง ถ้าสนใจที่จะศึกษา คือพ่อแม่หรือผู้ปกครองนำไปมอบให้เป็นศิษย์ของสมภารเจ้าวัดหรือพระภิกษุ องค์ใดองค์หนึ่ง

แต่ถ้าเป็นกุลธิดาอาจจะไม่มีโอกาสได้ร่ำเรียนหรือศึกษา หาความรู้เลยหลวงพ่อท่านเป็นพระผู้สนใจในการศึกษาพอสมควร พอว่างจากการงานจึงเข้าเรียนจากสำนักวัดดังกล่าวข้างต้น ครั้งถึงเวลาทำไร่ทำนา ท่านก็ไปช่วยโยมทำนา ท่านได้ปฏิบัติอยู่ดังนี้ จนมีความรู้ภาษาไทยอ่านออกเขียนได้ประกอบกับ มีความเลื่อมใสศรัทธา ในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า

ครั้นอายุครบอุปสมบท โยมบิดามารดาจึงทำการอุปสมบทตามประเพณีชายไทยตามวันเวลาดังกล่าวข้างต้นตำแหน่งและสมณศักดิ์ เมื่ออุปสมบทแล้ว 5 พรรษาได้ปกครองวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ตำบลโก่งธนู เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นต้นมา เป็นเจ้าคณะตำบลโก่งธนูเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2480 เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2482 เป็นพระครูสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2496 เมื่อปี พ.ศ. 2516 มีพระภิกษุจำนวน 28 รูป สามเณร 2 รูป ศิษย์วัด 30 คน การปกครองเป็นปกติด้วยดีเสมอมาไม่มีอธิกรณ์ใดๆ เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 68 ปี

นับว่ามีอายุครบปกครอง ดีเสมอต้นเสมอปลายมาตลอดผลงาน การก่อสร้าง เมื่อท่านได้เข้ารับหน้าที่เจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2468 ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีต่างๆ ได้ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแด่พระภิกษุสามเณรภายในวัด ซึ่งเป็นผลให้พระภิกษุสามเณรสอบนักธรรมได้หลายรูป

ท่านได้มีเมตตาสั่งสอนเพื่อสหธรรมิก ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาให้ตั้งอยู่ในความดี และให้ความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชน ที่จะประกอบการกุศล ด้วยคุณงามความดีที่พระเดชพระคุณได้บำเพ็ญมา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2596 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระเดชพระคุณเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ‘พระครูประสาทวรคุณ’ ท่านได้ก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุภายในวัดโบสถ์แห่งนี้เรื่อยมา โดยมิได้หยุดยั้ง

ผลงานของท่านจะอวดและกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้1. สร้างโบสถ์หลังใหม่2. สร้างโรงเรียน3. สร้างสถานีอนามัยชั้น 24. สร้างศาลาท่าน้ำ5. ซ่อมโบสถ์และกำแพงแก้ว6. สร้างศาลาการเปรียญ7. สร้างฌาปนสถาน (เมรุ)8. สร้างกุฎิ9. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูลค่าในการก่อสร้างทั้งหมดนี้หลายล้านบาทคุณธรรม หลวงพ่อพริ้ง นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกของเมืองละโว้ธานีองค์หนึ่ง

พระเดชพระคุณท่านนับว่าเป็นพระเถระ ที่ทรงคุณธรรมหลายประการ ใครๆ ที่ได้มาเยี่ยมเยือนหรือสัมผัสพูดคุย มักจะประทับใจในอริยาบทและวัตรปฏิบัติตลอดจนอุปนิสัยใจคออันเยือกเย็นของพระคุณท่าน หลวงพ่อเป็นพระที่พูดน้อย มีลูกศิษย์ลูกหามาก เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของหมู่ชนทุกระดับชั้นยิ่งในแถวถิ่นโก่งธนูด้วยแล้วใครไม่รู้จักหลวงพ่อก็แสนจะเชยสิ้นดี

เมื่อหลวงพ่อบวชแล้วก็หาโอกาสเดินธุดงค์วัตรไปในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง บางแห่งต้องผจญกับสัตว์ร้ายนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นผีสางนางไม้หรือภัยนานาประการ หลวงพ่อได้ประสบพบอยู่เป็นประจำจนชินชา หลวงพ่อต้องการหาความวิเวก ขณะเดินธุดงค์ก็ได้พบกับพระอาจารย์ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ต่างก็ถ้อยทีถ้อยอาศัย แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเป็นการถ่ายทอดวิชาไสยาศาสตร์เวทย์มนต์ ให้แก่กันและกัน

และการที่หลวงพ่อมีวิริยะอุตสาหะอย่างล้นเหลือ หลวงพ่อได้ท่องบ่นตำราจากสมุดเก่าๆ และตำรับตำราต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ต่างๆ ทั้งในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงบ้านเช่น อยุธยา, อ่างทอง, สิงห์บุรี,สระบุรี และที่อื่นๆ อีกด้ววยหลวงพ่อพริ้งได้พยายามศึกษาร่ำเรียนด้วยตนเองบ้าง

จนเป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองวิชาน่าอัศจรรย์ยิ่งทีเดียวหลวงพ่อพริ้งมีพรสวรรค์อยู่ในตัว ท่านสามาถท่องบ่นหรือสวดมนต์เช้า-เย็น โดยไม่ต้องต่อจากพระในวัด เพียงแต่จดจำพระรุ่นพี่ๆ ในระยะแรกๆ ท่านท่องจำเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานและสามารถท่องปฏิโมกข์ได้คล่องแคล่วสมบูรณ์ดีด้วยประการทั้งปวง

นับว่าสติปัญญาของหลวงพ่อเป็นเลิศการเขียนการอ่านโดยมาก มักจะเรียกด้วยตนเองเสมอ ประกอบกับหลวงพ่อมีบารมีอันสูงส่ง อนาคตของหลวงพ่อจะต้องรุ่งเรืองในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแน่แท้ถึงแม้ว่าหลวงพ่อจะเป็นพระหนุ่มในขณะนั้น แต่ก็เคร่งครัดในกฎระเบียบของพระธรรมวินัยในสมัยนั้น เรียนทั้งพระธรรมวินัย(พระปริยัติธรรม) และเรียนภาษาขอมรวมกันไปด้วยจากสำนักวัดไก่เตี้ยจนความรู้แตกฉาน

ท่านได้รวบรวมตำรับตำราต่างๆ ไว้มากมาย เช่น ตำรายากลางบ้านตำราแพทย์แผนโบราณ ตำราเวทย์มนต์คาถา และตำราไวยาศาสตร์ ไวยเวท ไว้มากพอสมควรหลวงพ่อพริ้งเป็นพระเถรรูปหนึ่งที่ชาวลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเคารพนับถือท่านมาก

หลวงพ่อได้มุ่งมั่นประกอบศาสนกิจ เพื่อบำรุงพุทธศาสนาโดยจิตมั่น เพื่อเจริญรอยตามเบื้องยุคลาบาทขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า หลววงพ่อจึงได้รับแต่งตั้ง ตามตำแหน่งต่างๆ ดังได้กล่าวข้างต้นการเผยแพร่ศาสนานั้นหลวงพ่อได้จัดอบรมให้มีการฟังธรรมฟังเทศน์ตามไตรมาส

มีอุบาสกอุบาสิกาและประชาชนโดยทั่วไปเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนไม่น้อย การทำบุญกุศลหรืองานประเพณีต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับทางวัดแล้ว หลวงพ่อมีวิเทโสบายและอุบายให้คนทั้งหลายมาร่วมกันได้เป็นอันมาก หลวงพ่ออำนวยความสะดวกให้ในทุกกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2500 หลวงพ่อได้มีอายุ 57 พรรษา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อได้อ้อนวอนให้หลวงพ่อออกวัตถุมงคล เพื่อจะได้ให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมผู้ใกล้ชิดไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ

ปลายปี พ.ศ.2500 ก็มีศิษย์อ้อนวอนท่านอีก ‘สร้างเถอะหลวงพ่อ’ หมายถึงสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อท่านทนต่อคำรบเร้าอ้อนวอนของบรรดาศิษย์ไม่ไหว ท่านจึงพูดว่า ‘จะเอาอย่างไร ก็เอากัน’ หลวงพ่อบุญช่วย เขมโก ผู้เป็นผู้ช่วยของหลวงพ่อหาโอกาสนี้มานาน แต่ไม่กล้าออก ความเห็น

จึงนมัสการกับหลวงพ่อขึ้นว่า ควรจะทำเป็นเหรียญ ซึ่งจะถาวรต่อการใช้ไว้นานๆ ไม่เหมือนกับพระเนื้อผง อันอาจจะเสียหายและหักง่าย จากการเสนอแนะของหลวงพ่อบุญช่วย และบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อจึงได้ตกลง ออกแบบเป็นรูปเหรียญสี่เหลี่ยม ด้านหน้ามีรูปของหลวงพ่อนั่งพร้อมพัดยศ ชั้นโท ด้านหลังเป็นยันต์เขียนว่ารุ่น ๑ ใช้เนื้อฝาบาตรปั๊ม ห่วงหูในตัว กะหลั่ยเงินกะหลั่ยทองที่พื้นเหรียญ ออกไม่มากนัก ราคารุ่นนี้แพงเป็นพัน เพราะถือว่าเป็นเหรียญรุ่นแรก

เหรียญนี้หลวงพ่อพริ้งได้นั่งปรกปลุกเสกเดี่ยวด้วยพุทธาคมอันเข้มขลัง นักเล่นเหรียญทั้งหลายมักจะเสาะหาเหรียญของหลวงพ่อรุ่นแรกนั้นเป็นจำนวนไม่น้อย ใครมีไว้ในครอบครองจงหวงแหน อย่าจำหน่ายจ่ายแจกเพราะเป็นของดี มีคนที่มีประสบการณ์มาแล้วจากเหรียญนี้ จากเหรียญรุ่นหนึ่งนี่เองทำให้หลวงพ่อพริ้งมีชื่อเสียงโด่งดัง

หลวงพ่อได้สร้างเหรียญอีกรุ่นต่อมาเป็น พ.ศ 2504 เหรียญรุ่นนี้ทำให้หลวงพ่อยิ่งกว่าพลุโด่งดังจนถึงขีดสุดจากเหรียญดังกล่าวแล้ว ยังมีแหวนรูปหลวงพ่อซึ่งเป็นแหวนลงยา มีทั้งแหวนทองคำ แหวนเงิน และอาปาก้า เป็นแหวนลงยา ปลุกเศกในคราวเดียวกัน และมีความนิยมไม่แพ้เหรียญ

ลักษณะของแหวนด้านบนของหัวแหวนซึ่งมีรูปของหลวงพ่อ จะมีลักษณะคล้ายรูปโล่ มีตัวอักษรสองข้าง ข้างขวามีคำว่า ‘หลวง’ ข้างซ้ายมีความว่า ‘พ่อพริ้ง’ ปัจจุบันเริ่มหายากเหมือนกัน จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 วง บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างก็บูชาไว้ใช้คนละวงสองวง วัตถุมงคลรุ่นแรกหนักแน่นไปในทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เพราะผู้ใช้ได้ประสบการณ์จากการใช้วัตถุมงคลของหลวงพ่อมากรายด้วยกัน

หลังจากหลวงพ่อได้สร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกแล้ว ท่านก็ไม่คิดหรือจะออกของอีก ชั่วระยะไม่นานนักทั้งเหรียญและแหวนเริ่มหมด คณะกรรมการต่างปรึกษาหารือกันจะขออนุญาตสร้างแบบกึ่งเหรียญกึ่งรูปหล่อ หรือที่เรียกกันว่าหลังเตารีด เมื่อกรรมการปรึกษากันแล้ว จึงเรียนให้หลวงพ่อท่านทราบ หลวงพ่อก็ไม่ได้ตอบว่าอะไร ‘จะให้สร้างหรือไม่ให้สร้างก็ไม่พูด’
เพราะหลวงพ่อท่านเป็นพระรักสันโดษและมักน้อย กรรมการต่างก็พากันกลับโดยมิได้ปริปากต่อไปอีก

กระทั่งปลายปี พ.ศ. 2505 กรรมการชุดเดิมนั่นแหละ เห็นว่าความต้องการของบรรดาลูกศิษย์และประชาชนคนทั่วไป มีความเลื่อมใสศรัทธามาก ประกอบกับของที่ออกแต่ละครั้งไม่ทั่วถึงผู้ที่ใฝ่หาและความต้องการของประชาชน ศิษยานุศิษย์ และกรรมการจึงเรียกร้องอ้อนวอนให้หลวงพ่อออกของอีกสักรุ่นโดยบอกว่าวัตถุมงคลเมื่อปี 2504 ให้ได้บูชากันไปยังไม่ทั่วถึง

คณะกรรมการได้กราบเรียนให้หลวงพ่อทราบ หลวงพ่อก็ตอบสนองตามอัธยาศัยของบรรดาศิษย์และกรรมการ เมื่อหลวงพ่ออนุญาตต่างก็ดีอกดีใจไปตามๆ กัน และคณะกรรมการได้ลงไปกรุงเทพฯ มอบแบบตามที่ต้องการ สร้างวัตถุมงคลรุ่นปีพ.ศ. 2505 เมื่อสร้างเสร็จก็นำมาให้หลวงพ่อปลุกเสกเดี่ยวจนครบไตรมาส(หนึ่งพรรษา) ลักษณะของรูปวัตถุ คือรูปของหลวงพ่อ(แบบหลวงปู่ทวด) เรียกว่ารุ่นหลังเตารีดมีทั้ง 2 แบบคือ แบบหนึ่งมีห่วง และแบบหนึ่งไม่มีห่วง แบบไม่มีห่วงหรือหูห้อย

นักสะสมเรียกว่ารุ่น หายห่วง หรือหมดห่วง ครั้นเมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว ก็เปิดให้สาธุชนผู้เลื่อมใสเช่าบูชา นักสะสมบางคนต่างพากันสะสมและแสวงหากันเป็นจำนวนมากมีผู้ที่ไปถึงวัดไม่เว้นแต่ละวัน พระรุ่นหลังเตารีดของหลวงพ่อพริ้งครั้งนี้เป็นแบบปั๊ม รมดำทำด้วยเนื้อทองผสม ทุกวันนี้เริ่มจะหายาก และราคาก็แพง และยังให้โรงงานสร้างรูปหล่อลอยองค์ขึ้นอีกในปี 2505 เรียกรุ่นที่มียันต์ที่ฐาน มีตัวอักษร ขอมอ่านว่า นะ มะ พะทะ ดินนำ้ลมไฟ

ที่มา​ จดหมายเหตุพระเกจิ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: