6334.การสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ปืพุทธศักราช ๒๔๔๒ โปรดให้ ออก แบบพระอุโบสถตกแต่งไว้ด้วยหินอ่อนงดงามวิจิตร จำเป็นต้องแสวงหาพระประธานที่มีความทัดเทียมกัน

พระองค์มีความประสงค์อัญเชิญพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานเป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร จึงมีกระแสรับสั่งให้ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ไปหาพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาประดิษฐานแทนพระพุทธชินราช สมุหเทศาภิบาลฯ ทราบว่าหลวงพ่อเพชรมีความงาม

จึงสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรเตรียมอัญเชิญหลวงพ่อเพชรมาเมืองพิษณุโลก ประชาชนชาวพิจิตรทราบข่าวจึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากเมืองพิจิตรเก่า (วัดนครชุม) ไปซ่อนที่ต่างๆ สุดท้ายก็ถูกค้นพบแล้วนำมาประดิษฐานไว้เมืองพิจิตรใหม่ (วัดท่าหลวง) เพื่อรออัญเชิญไปเมืองพิษณุโลก

ส่วนชาวเมืองพิษณุโลกเมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธชินราช จะถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ต่างก็หวงแหนพระพุทธชินราชพากันโศกเศร้าเสียใจถึงกับร้องไห้กันทั้งเมือง สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก จึงได้นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เพื่อทรงทราบจึงโปรดเกล้าฯ ระงับการอัญเชิญพระพุทธชินราชลงมากรุงเทพแล้วให้หล่อพระพุทธชินราชจำลองแทน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็น หลวง ประสิทธิปฏิมา) จ้างวานช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิม ที่วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อปั้นหุ่นเสร็จแล้วจึงทรงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อทรงร่วมพิธีเททองหล่อเป็นส่วน ๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๔๔ พระพุทธชินราช มีขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีเศษ น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ ชั่ง และทรง ปิดทองเบิกพระเนตร ประดับอุณาโลมทองคำฟังเพชร และอัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ

โดยพระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ มียศเป็นพลเรือโทตำแหน่งผู้บัญชาการกรม ทหารเรือ) เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระเสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร

เป็นกระบวน แห่ทางเรืออย่างยิ่งใหญ่มีผู้แต่งเรือเข้ากระบวนกว่า ๑,๐๐๐ ลำ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองสามเสน เข้าคลองเปรม ประชา เทียบหน้า วัดแล้วชลอเลื่อนเข้าสู่พระอุโบสถ และจัดงานสมโภชเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๔๔

ที่มา​ New’Anon Saardrat

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: