918. อภินิหาร!!! “หลวงพ่อจวน” แห่งวัดหนองสุ่ม แม้แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำยังยกย่อง

หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม นอกจากเป็นศิษย์หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์แล้ว ท่านยังเรียนวิชากับหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ และอาจารย์ที่เป็นฆาราวาสอีกหลายคนจำชื่อไม่ได้ สมัยก่อนท่านเดินธุดงค์ไปทั่ว ท่านเป็นพระที่มีผิวพรรณอิ่มเอิบมาก ๆ ชาวบ้านเขาเรียกผิวสวย

เมื่องานปิดทองฝังลูกนิมิตรวัดปากแรก หลวงพ่อจวนปลุกเสกจับสายสินญ์ลุกเป็นไฟตอนนั้นอาจารย์ทรง ศิษย์หลวงพ่อกวยเป็นคนสวดมนต์ ท่านเป็นพระวาจาศักด์สิทธิ์ท่านเคยบอกให้สร้างเหรียญแค่ ๕๐๐ เหรียญ แต่ร้านที่ทำจะทำเพิ่มพอเหรียญที่๕๐๑ บล๊อกแตกทันที บล๊อกหนามากแต่แตก ปัจจุบันบล๊อกนี้เก็บไว้ที่วัดปากแรก

หลวงพ่อจวนแห่งวัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรีท่านนี้ แม้แต่พระอภิญญาอย่างหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ยังยกย่องและยอมรับว่าหลวงพ่อจวนท่านนี้เก่งจริงๆๆพลังจิตกล้าแกร่งเหลือเกิน “หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ”

หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม ชาวจังหวัดสิงห์บุรี เคารพ ศรัทธาท่านมาก ท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ เป็นพระที่มีกสินธ์แรงกล้าที่สุดองค์หนึ่งตามคำเล่าขาน หลวงพ่อจวนท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศรีวัดพระปรางค์เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ได้ยินมาว่าหลวงพ่อกวยเคยบอกให้คนที่มานิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกวัตถุมงคล ให้ไปนิมนต์หลวงพ่อแพ หลวงพ่อจวน แทนที่จะไปนิมนต์ให้ท่านไปปลุกเสกในบางครั้ง ขนาดหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงยังยกย่องหลวงพ่อจวนว่าท่านเก่งมาก

ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก พระเถราจารย์ที่มีจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง มีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยดี มีเมตตา และสมถะ สมเป็นผู้ทรงศีล ใครได้พบเห็นจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริง สมกับฉายา “พระทองคำ” อันหมายถึงบริสุทธ์ดั่งทองคำแท้ๆนั้นเชียว หลวงพ่อจวน ได้ถือกำเนิด เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๕๘ ที่ ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ด้วยฐานะยากจน พ่อแม่สิ้นชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษา

พ.ศ.๒๔๗๓ บรรพชาที่วัดหนองสุ่ม แต่บวชได้เพียง ๓ ปี ก็ลาสิกขา เพื่อไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม พ.ศ.๒๔๗๕ อายุได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม ๑ พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกครั้น พ.ศ.๒๔๘๒ หลวงพ่อจวนได้ลาสิกขาไปประมาณ ๕ เดือน เพื่อไปช่วยงานพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดู

หลังจากนั้น หลวงพ่อจวนท่านได้อุปสมบทใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๓ ณ พัทธสีมา วัดประศุก และได้มาจำพรรษาอยู่วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อจวน ได้มุ่งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ (วัดโฆสิทธาธรรม) หลวงพ่อกอง จ.สุโขทัย, หลวงพ่อปั้น วัดค้างคาว อ.สรรคบุรี, หลวงพ่อลา วัดโพธิศรี, หลวงพ่อผึ่ง วัดโบสถ์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อเจ๊ก วัดระนาม, หลวงพ่อโต๊ะ วัด กำแพง, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อเอาะ วัดม่วง, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข เป็นต้น

หลวงพ่อจวน กอปรด้วยศีลที่งดงาม มีเมตตาธรรมสูง ถือสันโดษ มีปฏิปทาต่อสาธุชน ไม่เลือกยากดีมีจน มีผู้คนไปขอความเมตตาจากท่าน เวลามีทุกข์ร้อน จะไปกราบไหว้ขอพร และรดน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อปัดเป่าความทุกข์ร้อน จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าน้ำมนต์ของท่านขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

หลวงพ่อจวนได้พัฒนาวัด สร้างโรงเรียน สร้างความเจริญให้หมู่บ้านแห่งนี้ ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเข้าวัดและประกอบสัมมาชีพ ทำให้พื้นที่ แห่งนี้กลายเป็นชุมชนแห่งความสงบสุข ตลอดชีวิตหลวงพ่อจวน

จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมในแต่ละวัน คนจึงไปกราบไหว้รดน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อจวนเป็นประจำ หลวงพ่อจวนได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕ ด้วยความศักดิ์ของหลวงพ่อจวน ลูกศิษย์ก้นกุฏิเล่าให้ฟังถึงความปฏิหาริย์ของหลวงพ่อว่า

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : TNews

แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: