6251. เปิดประเพณีแห่งรัตนโกสินทร์!! เมื่อ “ช้างเผือก” ล้ม

หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ จะเห็นได้ว่า ช้างนั้นได้รับความสนใจศึกษาลักษณะได้อย่างละเอียด มีการแบ่งช้างออกตามลักษณะดีและลักษณะอัปมงคล ดังปรากฏในตำราคชลักษณ์ ช้างที่มีลักษณะมงคลนั้นก็จะถูกคัดเลือกออกมาเฉพาะนำมาน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นช้างต้น

เพื่อเป็นราชพาหนะแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ช้างที่มีลักษณะเป็นมงคลซึ่งเป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งแต่โบราณ คือ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญ ซึ่งเมื่อพบแล้วจะถูกนำน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระมหากษัตริย์เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชเป็นพระยาช้างต่อไป

แต่เดิมคำว่าช้างต้นจะหมายถึงช้างหลวงของพระมหากษัตริย์ ทั้งช้างเผือกและช้างทรงที่เป็นราชพาหนะ โดยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ช้างต้นจะหมายถึงช้างเผือกเป็นสำคัญ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า เมื่อช้างเผือก เกิดล้มลงนั้น ก็ต้องมีการทำพิธีใหญ่โตเช่นกัน กล่าวคือ ต้องนำผ้าขาวห่อศพช้าง แล้วเอาลงเรือ แห่ลากไปถ่วงน้ำที่หน้าวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคา นั่นเอง

ในประวัติศาสตร์ชาติของเรา ช้างเผือก คือสาเหตุ ของสงครามระหว่าง อยุธยา กับ พม่า ตอนนั้นพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ของพม่าได้ขอช้างเผือกจากอยุธยาแต่ พระมหาจักรพรรดิ” ไม่ให้ ” พม่าก็เลยยกทัพเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา เป็นความจริงที่ยิ่งกว่าจริงคือ ช้างเผือกเป็นช้างมงคลที่กษัตริย์ ถือเป็นเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ ต้องมีไว้คู่บารมี

ที่พม่าเล่ากันว่า เมื่อช้างเผือกล้ม ในแผ่นดินพม่า คนพม่าจะแห่กันไปกราบไหว้ ร้องไห้อาลัยรัก เป็นจำนวนมากตามธรรมเนียม การเผาช้างเผือกของพม่า พม่าจะเอาช้างเผือกใส่หีบใหญ่ แล้วยกขึ้นรถทรง มีขบวนแห่แหนกันไปจากในเมือง ไปเผากันนอกเมือง ที่สำหรับเผาก็สร้างอย่างเมรุหลวง มีพิธีรีตองทางศาสนา เหมือนพิธีเผาศพข้าราชการผู้ใหญ่ เมื่อเผาเสร็จแล้ว ก็เก็บเอากระดูกมาพรมด้วยเครื่องหอม แล้วก็แห่กันมาบรรจุไว้ในเจดีย์ และได้เกิดประเพณีการไหว้เจดีย์ช้างตามมา

ในเมืองไทย ก็เล่ากันอีกว่า การทำศพช้างเผือกของไทย สมัยโบราณ แตกต่างจากพม่า เมื่อช้างเผือกล้ม ประเพณีของรัตนโกสินทร์จะเอาผ้าขาวห่อศพช้าง แล้วเอาลงเรือ แห่ลากไปถ่วงน้ำที่หน้าวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคา ในสมัยอยุธยา จะเอาศพช้างลอยน้ำ มีปะรำผ้าขาวคลุม ลงเรือแห่ไปถ่วงน้ำที่ปากคลองตะเคียน

นกระบวนแห่ จะมีเรือข้าราชการเป็นกระบวนแห่ ๑๐ คู่ เรือดั้งนำ ๓ คู่ เรือคู่เคียงศพคู่หนึ่ง มีเครื่องสูงพร้อมสำรับหนึ่ง มีกลองชนะแดง ๒๐ คู่ สังข์ ๑ คู่ แตรงอน ๔ คู่
แตรลำโพง ๔ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ มีธงประจำทุกลำเรือ นี่คือเกียรติยศอันสูงสุด ของช้างเผือกคู่บารมี ในวาระสุดท้าย

ที่จังหวัดสุรินทร์ หลังจากจับช้างเผือก ส่งคืนให้อยุธยาได้ควาญช้างทั้ง เขมร กูย ลาว ก็ได้บรรดาศักดิ์ เป็นผู้ปกครองเมืองหลัง พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาแตก กลุ่มช้างเผือก ในกรมคชบาล แตกแยกหนีสงครามออกเป็น สองสาย ทางเขาคิชกุฏ อ่างฤไน อีกพวกหนึ่ง หนีลงไปทางปักษใต้ ๒๕๐ ปี ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการจับช้างเผือก จากป่าพนมดงรัก ส่งเข้าราชสำนักอีกเลย

เหลือแต่ช้างเลี้ยง ช้างบ้าน เมื่อช้างเลี้ยง ช้างบ้านล้ม ชาวช้างก็จะจัดพิธีศพให้ช้าง นิมนต์พระมาสวดให้ ทำการฝัง และจะขุดเอากระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อีก และนำไปรวบรวมไว้ที่สุสานช้าง วัดป่า อาเจียง ช้างเลี้ยง ก็เปรียบได้กับสมาชิกในครอบครัว มีความเคารพ ความเกรงใจให้กัน นับอาวุโสกันตาม วัยวุฒิ

ตามความเชื่อของคนไทยกับช้างเผือก เป็นช้างที่เกิดขึ้นเพราะพระบารมีของพระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริงช้างเผือก หรือช้างสำคัญ มี ๓ ชนิดดังกล่าว ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีจำนวนมาก ก็จะถือว่าเป็นมงคล บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

เมื่อสำนักพระราชวังตรวจคชลักษณ์ว่าเป็นช้างเผือกหรือช้างสำคัญแล้ว ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ พระมหากษัตริย์องค์ใดได้พบช้างเผือกเป็นจำนวนมาก แสดงว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นทรงถึงพร้อมด้วยบุญญาภินิหารบารมีมากและมักถวายพระนามพระองค์ว่า พระเจ้าช้างเผือก ดังเช่น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

สำหรับในความเชื่อของชาวพม่า ซึ่งนับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาทเช่นเดียวกับไทย เชื่อว่า ใครได้พบกับช้างเผือกเสมือนกับได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในอดีตชาติเคยเสวยชาติเกิดเป็นช้างเผือกนั่นเอง

จากตำนานพุทธประวัติ กล่าวว่าช้างเผือกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความรู้ และ การเกิด คืนก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้า พระมารดาของพระองค์ทรงสุบิณท์ ถึงช้างเผือก มอบดอกบัวให้พระนาง ดอกบัวอันหมายถึงความบริสุทธิ์และความรู้

ตำนานไตรภูมิ มีบทหนึ่งกล่าวถึงช้างเผือกว่า: ” มหาราชมีครบซึ่งสิ่ง ๗ ประการ ภริยาที่สมบูรณ์ ขุมสมบัติคณานับ ผู้ปรึกษาแผ่นดินที่ดี ม้าที่วิ่งเร็ว กฎการปกครองที่ดี แก้วแหวนอันเป็นสิ่งสำคัญ และช้างเผือกที่สง่างาม”

สำหรับขนช้างเผือกโดยเฉพาะขนหางถือว่าเป็นเครื่องรางของคลังชนิดหนึ่งสามารถป้องกันเสนียดจัญไรแก่ผู้ที่มีไว้ครอบครองได้ จึงนิยมนำมาทำเป็นแหวนติดตัว และพระแส้หางช้างเผือกของพระมหากษัตริย์ก็ทำมาจากขนหางช้างเผือกเช่นกัน เชื่อกันว่าเด็กคนใดที่มักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แข็งแรง หรือเลี้ยงยาก ถ้านำเด็กคนนั้นไปลอดใต้ท้องช้างเผือกครบ ๓ รอบ จะกลับมาแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆอีก และเลี้ยงง่าย

หากมีเหตุต่างๆเกิดขึ้นแก่ช้างเผือก เช่น เจ็บ งาหักหรือล้มถือว่าเป็นลางร้ายของแผ่นดิน จะเกิดอาเพศภัยร้ายแรงขึ้นแก่บ้านเมืองและประชาชนหรือเมื่อบ้านเมืองจะเกิดวิกฤตการณ์ ช้างเผือกจะมีอาการประหลาดๆ ให้เห็น

ดังเช่นในประเทศพม่าในตอนที่แม่ทัพอังกฤษเข้าเฝ้าพระเจ้าสีป่อ เพื่อเชิญเสด็จไปจากประเทศพม่า ช้างเผือกก็ส่งเสียงร้องเหมือนคนร้องไห้และดิ้นรนมิได้หยุด หมอควาญจะปลอบอย่างไรก็มิได้สงบ ซึ่งหลังจากที่พระเจ้าสีป่อเสด็จออกไปนอกประเทศและชาวอังกฤษเข้ามาปกครองแทนแล้ว ช้างเผือกก็ล้มโดยมิได้เป็นโรคอะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ ชุมชนคนสุรินทร์ Ptn – surin (Chacorn Sivasomboon)

https://th.wikipedia.org/wiki/ช้างเผือก

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: