2636.ดวงตาไม่ไหม้ไฟ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

เมื่อหลวงพ่อพิธมรณภาพ หลังจากประชุมเพลิงแล้ว มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงตาทั้งสองของท่านไฟเผาไม่ไหม้ และทางวัดฆะมังยังเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้

ชาวบ้านเลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาไฟสมัยที่ท่านไม่มรณภาพ ท่านมีดวงตาที่ดุมากตอนนั้นเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ พอมรณภาพแล้วเลยเรียกว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ คงหมายถึงดวงตาทนต่อไฟได้นั่นเอง

ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมังว่าด้วยเรื่องตะกรุดนั้นต้องยอมรับว่ามีมากมายหลายสำนัก มีที่มาที่ไปต่างกันและล้วนขึ้นอยู่กับความเชื่อและศรัทธาของแต่ละบุคคล แต่ที่เด่นดังขึ้นชื่อผู้คนนิยมบูชาก็ต้องยกให้ “ตะกรุดคู่ชีวิต” หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง อันเป็นตะกรุดสายพิจิตร ที่สืบทอดต่อๆ กันมา


ตะกรุดคู่ชีวิต-หลวงพ่อพิธ-วัดฆะมัง

มีเรื่องล่ำล่ำกันมาว่า แค่ออกตะกรุดคู่ชีวิตก็สามารถนำปัจจัยไปสร้างอุโบสถได้ถึง 7 วัดประวัติความเป็นมาหลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2415 โดยท่านผู้รู้เล่าว่า ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงทำให้ท่านได้รับวิชาอาคมมามากมาย นอกจากนี้ท่านยังได้ไปศึกษาวิทยาคมจากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมอีก ทั้งยังเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวคง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา

ต่อมาได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่ หรือวัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก จากก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร เป็นวัดสุดท้ายเมื่อย้อนไปสมัยเจ็ดแปดสิบปีที่แล้ว ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีราคาประมาณดอกละ 10 บาท ซึ่งนับว่าแพงมากๆ เพราะทองคำในสมัยนั้นมีราคาประมาณ 20 บาท ดังนั้นจึงไม่ใช่ใครจะหาเช่าก็ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธาอันแรงกล้าอย่างแท้จริงเท่านั้นถึงจะหาเช่า

ตะกรุดของท่านมีจุดสังเกตก็คือ ตะกั่วที่ใช้ทำตะกรุดเป็นตะกั่วนมแบบโบราณที่ค่อนข้างจะนิ่ม ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง และดอกที่สมบูรณ์จะมีการถักเชือกหุ้มอีกทีตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเนื่องมาจากท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฆะมัง ซึ่งขณะนั้นวัดได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก

มีอยู่คราหนึ่งท่านได้ขอแรงพวกชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาให้ไปช่วยกันตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้สำหรับขึ้นลงที่หน้าวัดเพื่ออำนวยความสะดวกให้ญาติโยม และในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังทำงานกันอย่างขะมักเขม้น หลวงพ่อท่านก็ได้สั่งให้ลูกศิษย์ไปหาแผ่นทองแดงมาให้พอกับจำนวนคนที่มาช่วยงานจากนั้นท่านก็ได้ลงยันต์อาวุธพระพุทธเจ้าและทำการปลุกเสก มอบตะกรุดให้ผู้ที่มาช่วยงานคนละ 1 ดอก เพื่อตอบแทนน้ำใจ

แต่ชาวบ้านที่ได้ตะกรุดไปบางคนก็นึกแคลงใจว่าไปทำงานก็ตั้งหลายวันได้ตะกรุดมาดอกเดียวแถมจะดีจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ (ตอนที่ปลุกเสกหลวงพ่อยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก) คิดดังนั้นก็อยากลองของเลยเอาตะกรุดมาแขวนคอไก่ แล้วยิงไก่ด้วยปืนลูกซอง ปรากฏว่าปืนไม่ลั่น ทำยังไงก็ไม่ลั่น

เมื่อข่าวนี้ร่ำลือออกไป ก็ทำให้มีผู้คนเริ่มสนใจและมาขอตะกรุดหลวงพ่อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยันต์ที่ใช้ลงในตะกรุดคู่ชีวิตนั้นเป็นยันต์พระพุทธเจ้าห้ามศาสตราวุธ ในตำรากล่าวไว้ว่าให้ลงยันต์ให้ทันยามเช้าก่อนไก่ขัน แล้วเสกไปจนกว่าจะถึงเวลาฉันจังหัน (ภัตตาหาร)

ยันต์นี้จะมีลักษณะเป็นตาราง 5 ตาราง แต่ละตารางลงคาถา 1 บาทคาถา และมีองค์พระอยู่ระหว่างตาราง เมื่อลงยันต์แล้วให้เสกด้วยคาถาต่างๆ อีกบทละ 108 คาบ เช่น หัวใจ พระไตรสรณคม นวหรคุณ บารมี 30 ทัศน์ เป็นต้น


ตะกรุดคู่ชีวิต-หลวงพ่อพิธ-วัดฆะมัง

จากนั้นจึงเสกด้วยบทสัมพุทเธหงษา อีก 7 ที (พระคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันมาแต่โบราณ เชื่อว่าสามารถป้องกันอันตรายจากศาสตราวุธ คุณไสย และภูติผีปีศาจ แม้แต่หลวงพ่อเงินยังกล่าวสรรเสริญไว้ว่าศักดิ์สิทธิ์นักแล)

เมื่อปลุกเสกแล้วก็ต้องมาทำไหมเบญจพันธ์ (ไหม 5 สี) ควั่นเป็นเกลียวทำสายตะกรุด แล้วย้อมด้วย เพ็ชรสังฆาต บอระเพ็ด ใบขี้เหล็ก คั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาย้อมสายตะกรุด จากนั้นให้เอาไคลเสมาทั้ง 8 ทิศ ไคลพระเจดีย์ ไคลพระศรีมหาโพธิ์ ผงปถมัง นำมาผสมกับรักพอกตะกรุด ท่านว่าเอาไว้เป็นคู่ชีวิตวิธีใช้ตะกรุดคู่ชีวิต-เมื่อจะสู้เขาให้เอาไว้ข้างหน้า-เมื่อจะหนีเขาให้เอาไว้ข้างหลัง ซึ่งจะทำให้ไล่ไม่ทัน ยิงไม่ออก-เมื่อเข้าหาผู้ใหญ่ให้เอาไว้ข้างขวา-เมื่อเข้าหาผู้หญิงให้เอาไว้ข้างซ้าย (เสน่ห์มหานิยม)-เมื่อจะคลอดบุตรให้อาราธนาแล้วใส่ลงในขันน้ำมนต์ และนำมาลูบหัวลูบหน้า ดื่มกินหรืออาบ จะทำให้คลอดง่าย-เมื่อเดินทางไปไหนให้พก จะช่วยป้องกันอันตราย-เมื่อค้าขายให้อาราธนาทำน้ำมนต์ ประพรมสิ่งของจะขายดี-เมื่อป่วยไข้ให้อาราธนาทำน้ำมนต์รักษาอาการเรียกได้ว่าสารพันคุณวิเศษในหนึ่งเดียว


หลวงพ่อพิธ-วัดฆะมัง

ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้บูชาว่าจะใช้ไปในทางไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขอให้ตั้งตนอยู่ในความดี และใช้ไปทางที่ดีที่ชอบเพื่อคุณประโยชน์อันเป็นอนันต์จะดีที่สุดนะครับ สาธุ…ข้อมูลอ้างอิง : สารานุกรมพระ สุดยอดเครื่องรางของขลัง

ขอบคุณเนื้อหา : blog.dealfish.co.th/

ภาพประกอบ : pramuangnue.com, siam-amulit.siamvip.com

แอพเกจิ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: