1079. ย้อนรอยตำนาน หลวงพ่อหรุ่นเก้ายอด

หลวงพ่อหรุ่นเก้ายอด

หลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม “เก้ายอด” ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์ พลิกแฟ้มข้อมูลของหลวงพ่อหรุ่น มีระบุเพียงว่า เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2390 ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา

อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปี พ.ศ.2431 มีพระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่ “พระธรรมราชานุวัตร” เป็นพระอุปัชฌาย์

ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้น เป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็ว่าเป็นพระวัดลำลูกกานั้นเอง บ้างก็ว่าเป็นวัดกลางนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้างก็ว่าเป็นพระวัดสามไห แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดลำลูกกามากกว่า

พระเกจิอาจารย์ยุคโบราณ จอมขมังเวทย์วิทยาคมสุดยอดอาคมเข้มขลัง ชื่อเสียงโด่งดังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านเก่งกล้าวิชาอาคมตั้งแต่เป็นฆราวาส เคยเป็นเสือเก่าแต่กลับตัวกลับใจมาบวชเป็นพระ ในสมัยนั้นไม่มีใครสามารถปราบเสือหรุ่นลงได้ ท่านมีวิชาผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน และตัวเองก็สามารถหลบหนีจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปได้ทุกครั้ง ในเวลาต่อมาท่านได้กลับใจเป็นคนดีเข้ามาช่วยราชการ จนได้รับพระราชทานยศเป็น ขุนกาวิจลใจภารา ต่อมามีเหตุการณ์ให้ต้องออกจากราชการหนีมาบวชพระ ต่อมาท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาสักยันต์เก้ายอด ในสมัยนั้นในวงการนักเลงคนจริง ไม่มีใครไม่รู้จัก เรียกว่า “นักเลงเก้ายอด”

ในอดีตนั้นย้อนไปซักประมาณปี 2400 ต้นฯ เมืองกรุงเทพหรือจังหวัดพระนครในสมัยนั้น มีก๊กนักเลงอยู่หลายก๊กด้วยกัน ที่ขึ้นชื่อก้อมี ลูกศิษย์หลวงพ่อโม วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) มีถิ่นอยู่แถวเยาวราช – วงเวียน 22กรกฎา แถววรจักร ก้อมีศิษย์หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรม มีอาวุธประจำกายคือ ไม้ตะพดของหลวงปู่ภู หรือที่เรียกว่านิ้วเพชรพระอิศวร ว่ากันว่าหากใครโดนหัวไม้ตะพดตีนั้น อาจถึงแก่ชีวิต หลวงปู่ภูท่านจึงบอกศิษย์อยู่เสมอว่าอย่าใช้หัวไม้ตีใคร มันจะบาปตัวท่านเองด้วย

ที่จะพูดถึงคือ แก๊งเก้ายอด ลูกศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา วัดอัมพวัน ราชวัตร กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อหรุ่นท่านนี้แต่เดิมเป็นเสือเก่า ออกปล้นแถบ ปทุมธานี – อยุธยา จนมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงกลัวไปทั่ว ฉายาของท่านคือ เสือหรุ่นแห่งเชียงราก ภายหลังนั้นท่านได้เบื่อกับการปล้นจึงขอมอบตัวกับทางการ จึงใด้รับตำแหน่งกำนันจากนายอำเภอสมัยนั้น เป็นขุนวิกลใจภารา ชาวบ้านรักใคร่นับถือท่านทุกคน

ต่อมาเมื่อท่านอายุใด้ 40 กว่าปีใด้เกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชและจำพรรษาอยุ่ที่วัดอัมพวัน ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ ใด้สร้างเครื่องรางคือตะกรุดกระดูกห่านและเหรียญซึ่งหายากมากจริงฯ หลวงพ่อหรุ่นท่านสักยันต์เก้ายอดให้แก่ศิษย์ ต่อมาภายหลังจึงใด้มอบวิชานี้ให้กับอาจารย์ภู่ ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์เอกที่ใด้รับวิชาสักนี้ไป หลวงพ่อหรุ่นท่านมีบุตรชายคนโตชื่อ นายเสงี่ยม ใจภารา มีตำแหน่งเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ภายหลังใด้เป็นมหาดเล็กใน เสด็จเตี่ย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) สมัยก่อนแก๊งเก้ายอดนี้มีถิ่นอยู่แถวนางเลิ้ง,ไปจนถึงดุสิต

**************************************************************
นายหรุ่น ใจภารา

นายรุ่นไม่เคยสนใจในการทำนา และไม่เคยช่วยบิดา มารดา ทำงานเลย สนใจแต่เพียงว่ามีพระเกจิอาจารย์องค์ใดที่เก่งกล้าในวิชาอาคมทางไสยศาสตร์อยู่ที่ไหน เป็นต้องหนีออกจากบ้านไปครั้งละหลายวัน บางครั้งก็เป็นเดือน เพื่อขอร่ำเรียน

วิชาต่างๆ ทำความอิดหนาระอาใจให้แก่นายน้อยและนางคำเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอยู่ต่อมาบิดาและมารดาเห็นว่าจะเลี้ยงลูกคนนี้ไว้ไม่ได้แล้ว จึงได้ปรึกษากันและกล่าวว่า ถ้าเองไม่ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ข้าทั้งสองก็เห็นจะเลี้ยงเองต่อไปไม่ได้ เพราะเองเอาแต่เที่ยวเตร่อย่างเดียว

นายรุ่นเป็นคนที่ฐิทิมานะแรงกล้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงก้มลงกราบพ่อแม่แล้วพูดว่า ถ้าชีวิตยังไม่ตายเสียก่อน จะกลับมาสนองพระคุณพ่อแม่ให้ได้ต่อไป พร้อมทั้งรวบรวมเสื้อผ้าข้าวของที่มีอยู่ใส่ในย่ามและลงเรือหายสาบสูญไปเป็นเวลานานโดยไม่มีข่าวและวี่แววอีกเลย จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2425 ชื่อของเสือหรุ่นก็ปรากฏขึ้นโดยปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์นับร้อยราย

ตลอดทุกตำบลในอยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่สามารถปราบได้ เพราะเสือหรุ่นผู้นี้ แก่กล้าวิชาอาคม สามารถผูกหุ่นลวงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงและจับมานับครั้งไม่ถ้วน นายอำเภอจังหวัดอยุธยา ได้ปิดประกาศไปทั่ว ให้เสือหรุ่นเข้ามาพบเพื่อเข้ารับราชการ

โดยทางการจะไม่เอาผิด เมื่อเสือหรุ่นได้ทราบ จึงเดินทางเข้ามา แต่เสือหรุ่นติดกับเสียแล้วนายอำเภอได้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจนับร้อยรายล้อมไว้และตะโกนบอกให้เสือหรุ่นยอมมอบตัว ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่จะระดมยิง

เมื่อเสือหรุ่นรู้ตัวว่าถูกลวง ก็นึกแค้นใจนายอำเภอเป็นที่สุด แต่ก็มิได้สะทกสะท้านอย่างใด รวบรวมใจเป็นสมาธิแล้วภาวนาคาถาที่ร่ำเรียนมาผูกเป็นหุ่นลวงตา หนีฝ่าวงล้อมไปได้ นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา เสือหรุ่นก็ได้ปล้นฆ่าหนักยิ่งขึ้น ครอบครัวที่ถูกปล้นจะถูกฆ่าตาย ไม่เหลือแม้แต่คนเดียว

จนกระทั่งเจ้าเมืองอยุธยาเห็นว่ายากที่จะปราบเสือหรุ่นได้อีกต่อไป จึงเขียนประกาศด้วย ตัวเองให้เข้าพบเพื่อเจรจาเข้ากลับตัวกลับใจ เสือหรุ่นได้ทราบข่าว แต่ไม่ไว้ใจเพราะเคยถูกหักหลังมาแล้ว จึงมีหนังสือถึงท่านเจ้าเมือง ให้ออกมาพบเพียงคนเดียว ในวันขึ้น 15 ค่ำ เวลา 2 ทุ่มตรง ที่ลานนวดข้าวหลังโรงสี

เมื่อถึงเวลา ท่านเจ้าเมืองมายืนรอก่อน เสือหรุ่นจึงออกมาจากพุ่มไม้เข้าพบ ท่านเจ้าเมืองพูดขึนว่า ” หรุ่นเอ๊ย สิ่งใดที่ผ่านมาก็ขอให้ลืมเสีย จงกลับตัวกลับใจเสียเถิดบ้านเมืองยังต้องการคนดีมีฝีมืออยู่ ข้าจะแต่งตั้งให้เจ้าเป็นกำนันปกครองคนในตำบลบ้านเดิมต่อไป ”

นับจากนั้นมา เสือหรุ่นก็เข้ารับราชการ ทำความดีความชอบมาตลอด 3 ปี จนได้รับพระราช ทานยศเป็น “ขุนภาวิจล ใจภารา” แต่กรรมเวรไม่หมดสิ้น เสืออุ่น ลูกน้องคนสนิทครั้งเป็นเสือร้าย ไม่พอใจที่เสือหรุ่นเข้ารับราชการ ได้ออกปล้นฆ่าโดยใช้ชื่อเสือหรุ่นตลอดหลายสิบครั้ง เมื่อถูกจับได้ก็ซัดทอดว่าเสือหรุ่น

อยู่เบื้องหลังการปล้นทุกครั้ง ท่านเจ้าเมืองอยุธยาจึงให้หนังสือให้ขุนภาวิจลเข้าพบเพื่อไต่สวนกำนันหรุ่นไตร่ตรองแล้วเห็นว่ายากที่จะพ้นมลทิน จึงหนีไปบวชที่วัดลำลูกกา ถึงสามพรรษา

เมื่อเรื่องราวเงียบหายไป ท่านจึงย้ายมาประจำอยู่ที่วัดอัมพวัน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในช่วงเวลานั้นมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เพราะกิติศัพย์ยันต์เก้ายอดอันลือชื่อ กล่าวกันว่า ในยุคนั้น ไม่มีใครดังใครเหนียวเท่าก๊ก “เก้ายอด”

เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างใว้ระยะหลังมีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. เหรียญรูปไข่รูปเหมือนครึ่งองค์
2.ตะกรุดโทนดอกยาวประมาณ 1 เกรียก (ยาว ประมาณปลายนิ้วโป้ง ถึงนิ้วชี้ หรือ 2 องคุลีนิ้ว)
3.กระดูกห่าน กระดูกแร้ง ลงจารขอม ยาวประมาณ 1 องคุลี
4. แหวนเก้ายอด เป็นชิ้นสุดท้าย

ของทุกชิ้นใน 4 ชนิดนี้ หาได้ยากมากเพราะท่านได้สร้างไว้จำนวนน้อย และราคาก็สูงในปัจจุบัน อภินิหารซึ่งตามที่ได้ปรากฎมาเป็นของ คงกระพันชาตรีโดยตรง

สำหรับตะกรุดโทน หลวงพ่อหรุ่นนั้นมี 2 ชั้น ชั้นแรกทำด้วยตะกั่ว ชั้นที่สอง ทำด้วยทองแดงมีความยาวประมาณ 1 เกรียก มีทั้งชนิด ถักเชียกหุ้มและไม่ถักเชียกหุ้ม ภายหลังลงอักขระและม้วนเรียบร้อย ตะกรุดที่ในภาพประกอบเรื่องนี้เป็นเครื่องรางชิ้นเดียวของอาจารย์หรุ่น ที่แม่ฟัก (ลูกสาวที่ยังเหลือเพียงคนเดียว) มีอยู่และได้มอบให้ลูกชายผู้เขียนบันทึกเรื่องของ หลวงพ่อหรุ่นออกเผยแพร่

เครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ของหลวงพ่อหรุ่น
คือตะกรุด ทำด้วยกระดูกห่าน เป็นกระดูกห่านซึ่งดูเป็นสีขาวนวล ด้านนอกลงอักขระไว้เต็มสำหรับตะกรุดกระดูกห่านนี้อาจารย์พู่ ลูกศิษย์หลวงพ่อซึ่งได้รับมอบหมายให้สักแทน ภายหลังเมื่อหลวงพ่อเสียแล้วเล่าให้ฟังว่า ตะกรุดกระดูกห่าน และเครื่องรางตลอดจนเหรียญนั้นท่านไม่ได้ดำริทำขึ้นเอง เป็นเพีงลูกศิษย์ไปแสวงหาและทำกันมาเสร็จแล้วก็นำมามอบให้ หลวงพ่ออาจารย์หรุ่น ปลุกเสกให้ ซึ่งท่านก็ทำให้ทุกรายไป

หลังจากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันได้ไม่นานนัก หลวงพ่อหรุ่นก็ได้อาพาธกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ด้วยโรคอัมพาตและท่านได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2471 ณ.วัดอัมพวัน นั่นเอง ในกุฏิหลังโบสถ์ปัจจุบันนี้ คำนวนอายุได้ 81 ปี 35 พรรษา พอดี

ประวัติ และ การดูวัตถุมงคล ของท่านแบบละเอียด
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อหรุ่น จัดสร้างประมาณปี พ.ศ.2460 ที่ท่านสร้างเองจะมีจำนวนน้อยมาก แต่จะมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งลูกศิษย์สร้างขึ้นแจกจ่ายกันเองแล้วต่างคนต่างก็นำมา ให้หลวงพ่อหรุ่นปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ประมาณ 4,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ยกขอบโดยรอบเป็นเส้นแบน พิมพ์ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงพ่อหรุ่น ที่คอปรากฏเม็ดประคำ 5 เม็ด ด้านบนสุดจารึก “ตัวอุ” ลากหางยาวไปจนจดขอบหูเชื่อม

ต่อลงมาเป็นอักษรขอมว่า “อะ ระ หัง” มี “ตัวอุ” ขนาบทั้ง 2 ข้าง แถวต่อมาเป็นอักษรขอมว่า “มะ อะ” ถัดลงมามี “ตัวอุ” ซ้อน 2 ตัว ขนาบอยู่ทั้ง 2 ข้าง ถัดจากตัวอุ เป็นอักษรขอมทั้ง 2 ข้างว่า “พุท ธะ สัง มิ” ล่างสุด เป็นโบปลายกนก ภายในจารึกอักษรขอมว่า “ระ อะ ภะ” และมี “ตัวอุ” ขนาบทั้ง 2 ข้าง

สำหรับ พิมพ์ด้านหลัง มีด้วยกัน 2 พิมพ์ เพราะแม่พิมพ์เดิมชำรุดจึงสร้างแม่พิมพ์ด้านหลังขึ้นใหม่ พิมพ์แรก คือ “บล็อกหลังยันต์ใบพัด หรือพิมพ์บล็อกแตก” จะมีรอยบล็อกพิมพ์แตกบริเวณที่พาดลงมาตามขอบเหรียญด้านล่างด้านซ้ายของเหรียญ โดยรอบด้านของเหรียญจะเป็น “ยันต์รูปใบพัด” ทั้งใหญ่ เล็ก ตรงกลางเป็น “ยันต์นะองค์พระ” ด้านบนเป็นตัว “อุ” และมีอักขระขอมเรียงเป็นแถว ส่วนพิมพ์ที่ 2 คือ “บล็อกหลังยันต์นะองค์พระในวงกลม” พิมพ์นี้ยันต์นะฯ จะอยู่ภายในเส้นล้อมวงรูปไข่ โดยรอบจะเป็นอักขระขอม

ตำหนิในพิมพ์ทรงนี้จะเป็นเส้นพิมพ์แตกบริเวณด้านขวาของเหรียญ ตรงมุมล่างที่ยันต์ใบพัด พาดจากขอบเหรียญไปยังยันต์ใบพัดครับผม

หลวงพ่อหรุ่นมรณภาพ ปี 2471 สิริอายุ 81 พรรษาที่ 35

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : นักเลง โบราณ ตำนานหนังเหนียว
ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : พระเครื่องตั้มศรีวิชัย
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: