8110. ข้อคิดดีๆ จากเรื่อง “รอยตะปูของพ่อ”

มีเด็กน้อยคนหนึ่งอารมณ์ไม่ค่อยดีพ่อของเขาจึงให้ตะปูกับเขา 1 ถุง และบอกเขาว่า ทุกครั้งที่ลูกรู้สึกไม่ดี โมโหหรือโกรธใครก็ตาม ให้ตอกตะปู 1 ตัวลงไปที่รั้วหลังบ้านก็แล้วกัน

วันแรกผ่านไปเด็กน้อยตอกตะปูเข้าไปที่รั้วถึง 37 ตัว วันที่ 2 และวันที่ 3 ที่ผ่านไป จำนวนตะปูก็ค่อยๆ ลดลง ลดลงๆ

เพราะเด็กน้อยรู้สึกว่า “การรู้จักควบคุมตัวเองให้สงบ ง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ” แล้ววันหนึ่ง หลังจากที่เขาสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เขาเดินไปหาพ่อเพื่อบอกว่า เขาคิดว่าเขาไม่จำเป็นที่ต้องตอกตะปูอีกแล้วเพราะเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว เขาสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ไม่มุทะลุเหมือนแต่ก่อนแล้วพ่อยิ้มแล้วบอกลูกชายว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ลองพิสูจน์ให้พ่อดูทุกๆ ครั้งที่ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตัวเองได้ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้านที่ละ 1 ตัว วันแล้ววันเล่า เด็กชายก็ค่อยๆ ถอนตะปูออกทีละตัวๆ จนในที่สุด วันหนึ่งตะปูทั้งหมดก็ถูกถอนออกหมดเด็กชายดีใจมากรีบวิ่งไปบอกพ่อของเขาว่า ผมทำได้แล้วครับ ในที่สุดผมก็ทำได้สำเร็จ

พ่อไม่ได้พูดว่าอะไร แต่จูงมือลูกของเขาไปที่รั้วนั้น แล้วบอกว่า…ลูกทำได้ดีมาก ทีนี้ลองมองกลับไปที่รั้วสิ เห็นมั๊ยว่ารั้วมันไม่เหมือนเดิม มันไม่เหมือนกับที่มันเคยเป็นก่อนหน้านี้

ลูกจำไว้นะ…

“ว่าเมื่อไหร่ที่เราทำอะไรลงไปด้วยการใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมักจะเกิดรอยแผล เหมือนกับการเอามีดไปกรีดหรือแทงใครเข้า” ต่อให้ใช้คำว่า..ขอโทษ..สักกี่หน ก็ไม่อาจจะลบรอยแผลหรือความเจ็บปวดที่เกิดกับเขาคนนั้นได้และลูกจงจำคำว่า..ขอโทษ..ไว้เสมอนะ ไม่ว่าเขาจะยกโทษให้เราหรือไม่ก็ตาม และจำไว้อีกด้วยว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้นกับเขา อาจจะไม่มีวันลบเลือนมันได้ตลอดไป ไม่ว่าเราจะไปเพิ่มรอยตะปูให้ใครหรือใครจะมาเพิ่มรอยตะปูให้เรา (ทั้งแบบที่ตั้งใจอย่างมากหรือจะเพราะอารมณ์พาไป) จงคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนนะ

มีอยู่ 3 อย่างในโลกนี้ที่ผ่านมาแล้วก็จะไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้นั่นคือ

“คำพูด” “โอกาส” และ ”เวลา”

“…เพื่อน ก็เหมือนอัญมณีที่หายาก แน่ล่ะเขาทำให้ลูกยิ้มสดชื่น ให้กำลังใจลูกก้าวไปสู่ในความสำเร็จ เขาพร้อมที่จะฟัง และพร้อมที่จะแบ่งปันคำสรรเสริญให้เธอ และพวกเขาก็พร้อม เปิดใจของเขาให้กับเราเสมอ”

สิ่งที่สำคัญคือ ให้รู้ทันความโกรธให้เร็วที่สุด ทันทีที่สติรู้ทัน ว่าเราปล่อยให้ความโกรธครอบงำ อย่างน้อยมันจะหยุดเพ่งโทษคนอื่น วางความยึดมั่นว่าเราถูกลง เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขสถานการณ์ ดีกว่าปล่อยให้ความยึดว่า ตัวเองถูกเสมอ หรือฐิทิมานะมาทำลายทุกอย่างรวมทั้งชีวิตตัวเราเอง

 

แหล่งข้อมูลจาก คิดเป็น

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: