1059. กริ่งรุ่นแรก กรรมการ และประวัติ หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี

หลวงพ่อยงยุทธ เป็นพระปฏิบัติดีและเก่งมากรูปหนึ่ง ท่านไม่ใช่ชาวชลบุรี แต่เป็นพระธุดงค์มาจากทางเหนือ ตอนหลังท่านมาพบสำนักสงฆ์เขาไม้แดง สภาพเกือบร้างเห็นว่าเหมาะกับการเจริญภาวนาและถูกอัธยาศัย ท่านจึงได้อยู่ที่นี่พัฒนากลายเป็นวัดใหญ่โตสวยงาม หลวงพ่อยงยุทธ ท่านเป็นพระดังในพื้นที่ ไม่นิยมให้คนเขียนประวัติของท่าน และไม่มีพุทธพาณิชย์มายุ่งเกี่ยว

พระเครื่องของหลวงพ่อยงยุทธ ไม่ค่อยพบเจอในสนาม ส่วนใหญ่ลูกศิษย์ที่รู้จักจะเก็บกันหมด เพราะพุทธคุณดีมากๆ โดยเฉพาะเรื่องค้าขาย ก้าวหน้า หลวงพ่อยงยุทธ สร้างพระกริ่งรุ่นแรกในปี 2527 พิมพ์ล้อวัดสุทัศน์ปี 79 ในพิธีนี้มีพระชัยวัฒน์ด้วยครับ จำนวนสร้างไม่มาก ปลุกเสกในวันมาฆบูชา องค์ที่โชว์ เป็นพระกริ่งกรรมการ เนื้อนวโลหะกะไหล่ทอง ผมได้มาพร้อมพระชัยวัฒน์อยู่ในกล่อง แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้

ชีวประวัติ
หลวงพ่อยงยุทธ ท่านนามเดิมว่า “จำปี” นามสกุล แก้วไพรำ เมื่อวัยเด็กพ่อกับแม่ของท่านได้พาท่านไปฝากกับญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นพระและเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดวงษ์ภาศนาราม ซึ่งเปิดโรงเรียนขึ้นหลวงพ่อก็เลยได้รับการศึกษาแห่งนี้มาจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2493 ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ 23 ปี ท่านตัดสินใจบวช ณ พัทธสีมาวัดบ้านป่า โดยมีพระครูโกวิทนวการหรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิบูลสังฆกิจ เจ้าคณะอำเภอไชโยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอธิการตี๋ เจ้าอาวาสวัดประสาทเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโกสโล”

ครั้นพระภิกษุยงยุทธ ธมฺมโกสโล ก็อยู่กับหลวงปู่โห้ที่วัดบ้านป่า อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งตามหมายกำหนดการแล้วนั้นจะครองเพศบรรชิตอยู่เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าเวลาทั้งหมดมีเพียงแค่ 15 วันซึ่งหลวงพ่อท่านลางานมา แต่ตอนนี้ใช้หมดไปแล้ว 8 วัน ก็เหลือเพียง 7 วัน พอบวชใกล้จะครบ 7 วันท่านก็เริ่มคิดว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้ว

โยมพ่อโยมแม่ญาติพี่น้อง ตลอดจนชาวบ้านทั่วไปก็จะเรียกท่านว่า “ทิด” ซึ่งแปลมาจากคำว่า ”บัณฑิต” อันเรียกอีกในหนึ่งว่า “ผู้ทรงความรู้สูง” พอบวชได้ครบ 7 วันท่านก็หวนคิดว่า ที่บวชมานี้ได้อะไรบ้าง..? ไหว้พระสวดมนต์ก็ยังท่องไม่ได้ บทสวดอะไรต่างๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเขาสวดเพื่ออะไร แล้วแปลว่าอะไรบ้างพอสึกออกไปญาติพี่น้องก็เรียกว่า “ทิด” ซึ่งแปลว่าผู้มีความรู้สูง แต่เราไม่มีความรู้เลยจึงตัดสินใจว่าจะบวชต่อไปอีกให้ได้สักพรรษาหนึ่ง เพื่อจะได้ใช้เวลานั้นศึกษาพระธรรมวินัยเรียนรู้และหาประสบการณ์ชีวิตบรรพชิตให้มากขึ้น

จึงมุ่งมั่นนั่งกัมมัฏฐานพอใจเริ่มเป็นสมาธิก็บังเกิดความสุขอย่างแปลกประหลาดและไม่เคยมีความสุขอย่างนี้มาก่อน ครั้นพอได้พบกับความสุขสงบเท่านั้นท่านจึงเกิดแรงบันดาลใจนั่งสมาธิเรื่อยมา พรรษานั้น (พ.ศ. 2502) ท่านตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะสร้างวัดที่เขาให้ได้ จึงได้อยู่ประจำที่นั่นและเริ่มลงมือพัฒนาภูเขาแห่งนั้นให้เป็นวัด โดยแรกเริ่มก็ได้สร้างศาสนสถานชั่วคราว โดยสร้างง่ายๆ คือทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกุฏีที่พักสงฆ์ หรือศาลาโรงธรรมอื่นๆ จะทำด้วยไม้และมุงด้วยจาก

จนกระทั่งมีพวกนักศึกษาที่ออกค่ายมาพักแรมที่วัด และได้นำเรื่องราวความเป็นอยู่ของเขาไม้แดง ไปพูดกันความทราบไปถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เกิดความสนใจคิดจะสนับสนุนส่งเสริม จึงให้ทหารจำนวนหนึ่งไปดูสถานที่เพื่อถ่ายรูปและทำรายงานมาเสนออย่างละเอียด เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ก็ได้ส่งข่าวไปให้ท่านอาจารย์ทราบ แต่เนื่องจากตอนนั้นงานบ้านเมืองมีมากไม่สามารถปลีกตัวเข้าไปได้ ภายหลังได้รับข่าวดีแล้วเวลาผ่านไป 3 เดือน จอมพลสฤษดิ์ ยังไม่ทันได้ลงมือทำอะไรกับวัดเขาไม้แดงเลย ท่านเกิดป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมาอย่างกะทันหัน ทำให้แผนพัฒนาวัดตามนโยบายของจอมพลสฤษดิ์นั้นเงียบหายไปด้วย

แต่นโยบายของหลวงพ่อยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 พลเรือเอกกฤษณ์ สีวรา ได้รับปากจะเข้ามาสานต่อทางด้านพัฒนาอาคาร โดยจะนำกฐินมาทอดให้ทุกปีจนกว่าทุกอย่างในวัดจะสำเร็จลงในยุคของพลเรือ เอกกฤษณ์ให้การอุปถัมภ์เจริญรุดหน้าเป็นอย่างดี แล้วทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักอีกทีใน พ.ศ. 2516 เนื่องจากหัวเรือใหญ่ในการพัฒนา คือพลเรือเอกกฤษณ์ได้เสียชีวิตลง

และในปี พ.ศ. 2519 พลเรือสงัด ชลออยู่ ก็ได้อาสามาพัฒนาวัดไม้แดงต่อไป โดยจัดกฐินทอดให้ทุกปี แต่เหตุการณ์ดำเนินมาเพียง 3 ปีก็ได้ก็ต้องชลอลงอีกครั้งเนื่องจากผู้อุปถัมภ์ใหญ่ คือพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้เสียชีวิตลงไม่เพียงแต่สิ่งก่อสร้างทุกอย่างหยุดชะงักยังแถมภาระหนี้สินอีกหลายแสนบาท แต่หลวงพ่อยงยุทธก็ไม่ท้อเดินหน้าสร้างสิ่งก่อสร้างต่อไป และต่อมาก็มีท่านนาย พลเรือโทยุธยา เชิดบุญเมือง มาช่วยพัฒนาต่อจากท่านพลเรือเอกสงัด ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี หมดสิ้นหนี้สินและวัดก็เจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งปัจจุบัน

สำหรับงานทางด้านการพัฒนาวัดเขาไม้แดงภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ยงยุทธนั้น “ชุตินธโรภิกขุ” ศิษย์ใกล้ชิดรูปหนึ่งของท่านได้เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบอายุ 63 ปี ของพระครูโกวิท เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 ตอนหนึ่งว่า “ปี พ.ศ. 2502-2507 ท่าน (หมายถึงพระอาจารย์ยงยุทธ) ได้เริ่มปรับปรุงสถานที่จากป่าให้ราบเรียบเพื่อสร้างกุฏิ โดยทำถนนตามเชิงเขา 3 สาย เพื่อเชื่อมต่อกันซึ่งให้รถสามารถวิ่งได้ตลอดถึงยอดเขา ต่อมาท่านได้ก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้มีกุฏิประมาณ 20 กว่าหลัง โดยได้สร้างไว้รอบๆ เขาทุกขั้น” ในปี พ.ศ. 2507-2509 สร้างบันไดขึ้นยอดเขารวม 142 ขั้น, ปี พ.ศ. 2512 สร้างอ่างเก็บน้ำ,

ปี พ.ศ. 2521-2522 เริ่มก่อสร้างอุโบสถจตุรมุข บนยอดเขา ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดชลบุรีเห็นว่าท่านมีพรรษาอาวุโสมากแล้ว สร้างความดีความชอบให้กับวงการสงฆ์มากมายมีวัตรปฏิบัติเป็นที่ไว้วางใจ ท่านเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ทำเรื่องขอพระราชทานสมณะศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรให้กับท่าน และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็น “พระครูธรรมโกวิท” หลังจากได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศแล้ว ชีวิตของพระครูธรรมโกวิทก็ยังคงดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยชรากล่าวคือ อายุได้ 75 ปีแล้วแลท่านก็มีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจแต่ท่านก็ยังไม่ท้อยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่เคยได้ดำเนินมาต่อไปจนท่านละสังขารไปอย่างสงบในเวลาต่อมา

วัตถุมงคลของท่าน ที่ได้ับความนิยมมากๆ เช่นสมเด็จแหวกม่าน สมเด็จปี09 พระผงชุดปี13 พระชินราชปี 18 เหรียญรุ่นแรก ปี 16 พระกริ่ง เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : mindamulet.com
ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : พลังจิต
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: