6156. ตำนานอาถรรพ์..วัดละมุด วัดของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอยุธยา สุดสะพรึง..ประตูวิญญาณ คนลองดี่ฉี่ใส่ จน…บวมเป่ง.

ความเป็นมาของ “วัดละมุด”

ประวัติวัดละมุด ของกรมการศาสนา (หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม ๔ พิมพ์โดยกองพุทธศาสน-สถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.๒๕๒๘ กล่าวถึงวัดละมุดไว้ในหน้าที่ ๓๐๘-๓๐๙) วัดละมุด ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๘ บ้านละมุด หมู่ที่ ๒ ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๑ ไร่ สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่สมัยอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.๒๑๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๑๐ วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของเจ้าละมุดขณะประชวน ครั้นหายแล้วจึงได้สร้างวัดขึ้น เป็นเวลานานกว่า ๒๐๐ ปี มาแล้ว

ประวัติวัดละมุดและหลวงพ่อหินตามคำบอกเล่า

วัดละมุด เดิมตั้งอยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก โดยตั้งอยู่บริเวณวัดโคกเสือ(ร้าง)ใกล้ ๆ กลุ่มออมทรัพย์ตำบลปากจั่น และเดิมทีนั้น แม่น้ำป่าสักมีเส้นทางที่น้ำไหลเข้ามาทางวัดคลองน้ำชา (ต.ท่าช้าง) และไหลผ่านบึงบ้านชุ้งมาออกที่คลองลาวหรือที่เรียกว่าคลองไทยในปัจจุบัน (ต.ปากจั่น) ต่อมาได้มีการขุดคลองจากวัดคลองน้ำชา มาบรรจบกับแม่น้ำลพบุรี ที่บริเวณปากคลองบางพระครู หรือบริเวณหน้าวัดนครหลวงในปัจจุบัน จึงทำให้แม่น้ำป่าสักเปลี่ยนทางเดินไปจากเดิม ต่อมาวัดโคกเสือได้ย้าย เข้ามาตั้งอยู่ใกล้กับริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดละมุดในปัจจุบัน

เล่ากันว่า ประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๐๕ เจ้าจอมละมุด ซึ่งเป็นพระสนมของพระเจ้าเอกทัศน์ ได้มาสร้างวิหาร ขนาดใหญ่และยาว (เดิมวิหารนี้เป็นวิหารรูปท้องสำเภาสันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาตอนกลาง) ขนานไปกับแม่น้ำป่าสักมีประตูเข้าขนาดใหญ่ทางด้านทิศเหนือ เรียกว่า ประตูโขลง ในการนี้ได้สร้างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยขึ้น ๑๕ องค์ เป็นพระพุทธรูปหน้านาง สร้างด้วยหินทรายแดง ต่อมาพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นที่นับถือของชาวบ้านว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก โดยเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อหิน ตามวัสดุที่สร้าง

มีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาของพระเจ้าเอกทัศน์ทรงเห็นว่าพระเจ้าเอกทัศน์เป็นคนเขลา ไม่สมควรจะให้สืบราชสมบัติ จึงให้มาผนวชที่วัดละมุด ซึ่งผนวชอยู่ได้ไม่นานก็ได้สึกออกไปเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา และเมื่อเป็นกษัตริย์แล้วจึงได้สถาปนาวัดละมุดขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๐๘

ที่มา : คำบอกเล่าของพระครูโสภิตนครธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดละมุด และคำบอกเล่าของอาจารย์สมศักดิ์ เปรมใจ ข้าราชการบำนาญ เรียบเรียงโดย พระมหามนตรี วลฺลโภ เจ้าอาวาสวัดละมุด

ประวัติวัดละมุด ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา

ตามคำบอกเล่า

วัดละมุด จะสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด สมัยใดนั้น ไม่ทราบได้ แต่เคยได้ยินมาว่าในตอนปลายกรุงศรีอยุธยานั้น พระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาได้มาผนวชที่วัดละมุดนี้ นัยว่า เพื่อรักษาโรคเรื้อนที่ท่านเป็นอยู่ โดยการรักษานั้น จะกระทำ
ภายในวิหารใหญ่ของวัดละมุด ในการนี้พระองค์ได้ให้สืบหาหมอยาดี ๆ มาเพื่อรักษา และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ความลับเรื่องที่พระองค์อาพาธด้วยโรคร้ายนี้แพร่ขยายออกไป จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตหมอยาทุกคนที่มาถวายการรักษาแล้วไม่สามารถรักษาได้สำเร็จ โดยสถานที่ประหารนั้นกล่าวกันว่า บริเวณด้านนอกของประตูทางเข้าวิหาร ซึ่งต่อมาเรียกว่า ประตูโขลงการที่ได้ชื่อว่าโขลงนั้น เป็นเพราะว่าหมอยาเก่ง ๆ คนแล้วคนเล่าจำนวนมากมายถูกประหารตรงนี้ จึงเรียกว่าประตูโขลง หมายความว่า มีคนมาตายกันเป็นโขลง ๆ หรือตายกันเป็นหมู่มาก ๆ นั่นเอง

บริเวณประตูโขลงนี้ สมัยก่อนกล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์เอาการอยู่ เพราะเคยมีคนไปเที่ยวงานวัด แล้วไปปัสสาวะไว้บริเวณนั้น ครั้นกลับไปบ้านแล้วถ่ายปัสสาวะไม่ออกและท่อปัสสาวะบวมเป่ง เจ็บปวดทรมานมาก จนมีคนแนะนำให้นำดอกไม้ ธูปเทียนมาขอขมาบริเวณนั้นอาการต่าง ๆ เหล่านั้นจึงหายไป นี่ก็คงจะตรงกับคำว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นั่นเองข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ เดิมทีวัดละมุดมีสมุดข่อยเก่า ๆ เป็นตำรายาอยู่มากกว่า๑๐๐ เล่ม ต่อมาครูชั้นท่านว่า ท่านนำไปมอบให้ครูที่วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์

ที่มา : คำบอกเล่าของครูชั้น ภู่ศรี อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดละมุด (ร.ส.พ.ราษฎร์บำรุง)และ ทีนิว
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: