6119. 10 ถนนที่ตั้งตามนามของบุคคลสำคัญของไทย

10.ถนนสาธุประดิษฐ์

นายต่วน สาธุ เป็นผู้ก่อสร้างถนนสาธุ จึงได้ชื่อว่าสาธุประดิษฐ์ ปัจจุบัน ธิดาของคุณต่วน ยังมีชีวิตอยู่ เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ และนิตยสารบางฉบับ และวารสารโรงเรียนยานนาเวศ ได้รับรู้เรื่องประวัติถนนสาธุ และปัจจุบันท่านอายุ ประมาณ 89 ปี แล้ว ชื่อคุณยายจำลอง สาธุ เคยได้ฟังท่านเล่าเรื่องที่คุณพ่อต่วน ได้สร้างถนน ด้วยความมุมานะอย่างสูงที่จะพัฒนาการเดินทางแก่ชาวบ้านที่อาศัยในสวน เลียบแม่น้ำให้มีถนนออกสู่ถนนเจริญกรุงให้ได้ เพื่อให้ความเจริญเข้าถึงให้ได้ โดยท่านคุณต่วน ได้บริจาคที่ดินตลอดที่ท่านมีอยู่จากสะพาน 4 ไปถึง ท่าน้ำสาธุ เท่าที่ท่านมี บางที่ดินที่เป็นของคนอื่น ท่านก็เอาที่ดินที่อื่นที่ท่านมีไปขายเอาเงินมาซื้อที่ ทางผ่านทำถนนให้ต่อกันให้ได้ โดยจ้างคนจีนสมัยนั้นช่วยสร้างค่าแรงวันละ 10 สตางค์ ต่อคน ช่วยกันขนดินมาทำถนน ยืนต่อแถวเอาดินใส่บุ้งกี่ทะยอยส่งต่อๆ กัน วันนึงต้องใช้จ่ายสตางค์เยอะมาก แต่ความพยายาม และปณิธาน อันแรงกล้าที่จะทำความสะดวกให้แก่มหาชนส่วนรวม ท่านจึงทำทุกอย่างให้สำเร็จให้จงได้ จนได้ความเจริญมาถึงทุกวันนี้ ขอกราบขอบพระคุณคุณต่วน สาธุ ผู้มีพระคุณยิ่ง คิดว่าอีกไม่นานนี้ อนุสรณ์คุณต่วน น่าจะได้ทำให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้ความดีของท่าน

9.ถนนสุขุมวิท 71

ถนนนี้เดิมคือซอยสุขุมวิท 71 สร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2485-2486 เทศบาลนครกรุงเทพได้รับมอบมาจากแขวงการทางกรุงเทพ (หน่วยงานของกรมทางหลวง) เมื่อปี พ.ศ. 2503[1] โดยกรมทางหลวงเรียกซอยนี้ว่า “ทางสายพระโขนง-คลองตัน (ซอยปรีดี)” และต่อมาคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย และสะพานได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนสุขุมวิท 71 เมื่อปี พ.ศ. 2513

8.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

ชื่อถนน “ประดิษฐ์มนูธรรม” ตั้งตามราชทินนามของ “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม” (ปรีดี พนมยงค์) รัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย และผู้นำพลเรือนในคณะราษฎร เพื่อสดุดีเกียรติคุณของท่านในฐานะบุคคลสำคัญของชาติและในวาระที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ประกาศให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดสร้างและดูแลรักษาถนนสายนี้

7.ถนนนิมมานเหมินท์

นายกี และ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้บริจาคที่ดินให้แก่สาธารณะ เพื่อสร้างถนนเชื่อมถนนสุเทพ เข้ากับถนนห้วยแก้ว จนกระทั่งในปัจจุบันถนนนิมมานเหมินท์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจังหวัด เป็นถนนสายที่มีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก และแหล่งบันเทิงจำนวนมาก ทำให้ถนนสายนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ถนนสายที่ฮิตที่สุดของเชียงใหม่

6.เพชรเกษม

ถนนเพชรเกษมตั้งชื่อตามชื่อหลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์เป็นนักเรียนทุนหลวงของกรมรถไฟ ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่สหราชอาณาจักร และกลับมารับราชการที่กรมรถไฟหลวง ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมทางหลวง เมื่อถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 จึงได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการก่อสร้างหรือการบังคับบัญชารับผิดชอบ

5.ถนนพหลโยธิน

ถนนพหลโยธิน ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันเอกพระยาพหลพล

พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.

2493] ก่อนหน้านี้ถนนพหลโยธินมีชื่อเดิมว่า “ถนนประชาธิปัตย์”

4.ถนนประเสริฐมนูกิจ

ชื่อถนนประเสริฐมนูกิจตั้งตามราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2439-2512) นักกฎหมายและศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2500 ราชทินนามหลวงประเสริฐมนูกิจเป็นราชทินนามคู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

3.ถนนทองหล่อ

ถนนทองหล่อ หรือ ซอยสุขุมวิท 55 หรือที่นิยมเรียกกันว่า ซอยทองหล่อ เป็นถนนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย บนถนนสุขุมวิท เป็นที่รู้จักด้านร้านอาหารนานาชาติ รวมถึงมีศูนย์การค้า ร้านค้านานาชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่เที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน ที่พักอาศัยของคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่เดิมในสมัยสงครามโลก เป็นที่ ๆ กองทัพญี่ปุ่นผ่านและมาตั้งฐานทัพ ชื่อของซอยนั้นมาจากชื่อเดิมของ ร.ท. ทองหล่อ ขำหิรัญ ร.น. (ยศขณะนั้น) อดีตสมาชิกคณะราษฎร์ ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475[1]

2.ถนนจรัญสนิทวงศ์

ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า “ถนนจรัลสนิทวงศ์” ต่อมาได้แก้ไขเป็น “จรัญสนิทวงศ์” ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

1.ถนนสุขมวิท

ถนนสายนี้แต่ก่อนมีชื่อว่า “ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ” เพราะปลายถนนนี้ไปถึงตัวเมืองสมุทรปราการ เปิดใช้งานเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาถนนสายนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนสุขุมวิท” ตามราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 และเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พระพิศาลสุขุมวิทได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสำคัญของประเทศเป็นอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราด ว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

ถนนข้าวสาร

ถนนข้าวสารเป็นถนนที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมโยธาธิการได้กราบบังคมทูลให้ตัดถนนตรอกข้าวสาร เริ่มตั้งแต่ถนนหน้าวัดชนะสงคราม (ซึ่งได้นามว่าถนนชนะสงคราม) ตัดมาทางตะวันออกตามตรอกข้าวสารแล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนครตอนหน้าสวนหลวงตึกดิน พระราชทานนามถนนตามเดิมว่า “ถนนข้าวสาร”

ถนนข้าวสาร เดิมเป็นย่านเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตรอกที่ขายข้าวสาร เป็นแหล่งค้าขายข้าวสารที่ใหญ่ที่สุดของเขตพระนคร ซึ่งข้าวสารจำนวนมากจะถูกขนส่งมาจากฉางข้าวหลวง สะพานช้างโรงสี ริมคลองคูเมืองเดิม หรือ ปัจจุบันก็คือ คลองหลอด เลียบมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นที่ท่าเรือบางลำพู เพื่อนำข้าวมาขายให้แก่ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้[1] นอกจากนี้ก็ยังขายถ่านหุงข้าว ของชำ โดยถัดออกไป 1 ถนน จะเป็นคลองที่เชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการค้าขายข้าวสารมากมายจึงเรียกว่าตรอกข้าวสาร (เพราะขนาดเล็ก) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นถนนข้าวสาร หลังจากนั้นก็เริ่มเกิดชุมชนขึ้น และขยับขยายต่อไป ต่อมาเริ่มมีร้านขายของมากขึ้น เช่นร้านขายของเล่น อย่างลูกข่าง ร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรือ[2]

ต่อมาความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 200 ปี ได้เข้ามาเช่าห้องพักอาศัยเพื่อเที่ยวชมเมืองหลวงของไทยในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ และเริ่มมีฝรั่งเข้ามามาถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โดยมีทีมงานกองถ่ายมาอยู่กันจำนวนมาก ที่มาเช่าที่ เช่าเกสเฮาส์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี ก็ต้องเช่าจากบ้านที่อยู่แถวนั้นซึ่งใช้แบ่งเช่า จึงเป็นที่มาของเกสเฮาส์ เกสต์เฮ้าส์ของชาวต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2529 ระยะหลังเริ่มมีคนเข้ามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์รวมของพวกแบ็คแพ็กเกอร์ที่มาท่องเที่ยวประเทศไทย จนเป็นที่โด่งดังในที่สุด ก่อนที่จะมาปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกทีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลายเป็นย่านบันเทิงยามราตรีที่สำคัญของกรุงเทพฯ

ปล. แอดไม่รู้มาก่อนนะว่ามันมายังไง! แต่ที่รู้ๆคือ แต่ละที่ตอนนี้นั้น รถติดโคดๆ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : postjung.com
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: