9011.เขาอ้อ ตักศิลาทาง ไสยเวทย์ของภาคใต้

ตอนที่ 1 : กำเนิดเขาอ้อ

เมื่อพุดถึงเรื่องไสยศาสตร์ผู้คนในประเทศเราส่วนใหญ่ก็จะนึกไปถึงพวกขอม หรือประเทศเขมรในปัจจุบัน แต่ถ้าจะว่ากันเฉพาะในประเทศไทยแล้ว ส่วนของภาคใต้เชื่อว่าชื่อเสียงของวัดเขาอ้อ ถูกนึกถึงเป็นอันดับแรก ในฐานะที่เป็นสำนักทางไสยเวทย์ที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้

สำนักวัดเขาอ้อ ที่ว่านี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดพัทลุง อยู่ในเขตอำเภอควนขนุน สาเหตุที่ตั้งอยู่บริเวณนั้น ก็เพราะที่บริเวณนั้นเป็นสถานที่สำคัญในอดีต ผู้เขียนเองเคยติดตามอ่านงานเขียนเกี่ยวกับสำนักเขาอ้อมามาก แต่ส่วนใหญ่ที่พบก็มักจะพุดถึงเพียงกลายๆ กล่าวคือ จะพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่เป็นศิษย์สายเขาอ้อเสียมาก แล้วเท้าความถึงเขาอ้อแต่เพียงเล็กน้อยผู้เขียนจึงเข้าใจว่าเขาอ้อคือวัดธรรมดาๆ ที่นิยมในทางไสยศาสตร์ แต่เมื่อถึงคราวที่ได้มีโอกาสลงไปศึกษาค้นคว้าเข้าอย่างจริงจัง กลับพบว่า สำนักเขาอ้อมีอะไรสำคัญกว่านั้น มีประวัติชับซ้อนเกี่ยวข้องโยงใยถึงประวัติชาติในภูมิภาคเอเซียเสียด้วย จึงได้ค้นคว้าข้อเขียนที่เกี่ยวข้องเพิ่ม แล้วนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ ดังที่จะได้นำมาเสนอต่อไปนี้

ความแปลกอย่างแรกที่ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาประวัติของวัดเขาอ้ออย่างจริงจังก็คือ พบว่าวัดเขาอ้อนั้น ก่อนจะเป็นวัดเป็นสำนักของพราหมณ์ผู้เรืองเวทมาก่อน เป็นสำนักที่สำคัญและยิ่งใหญ่ขนาดที่กษัตริย์หลายเมืองส่งลูกหลานมาเรียน รับความรู้เอาไปครองเมือง อาจารย์ผู้สอนก็เป็นพราหมณ์เรืองวิชาที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียจริงๆ ในยุคที่พราหมณ์เคลื่อนไหว เพื่อขยายฐานศาสนา เมื่อศึกษาให้ลึกไปอีกก็พบว่า ไสยเวทสายเขาอ้อกับไสยเวทของเขมรหรือขอมนั้น เป็นสายเดียวกัน กล่าวคือสืบเชื้อสายมาแต่คัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ พราหมณ์ส่วนหนึ่งได้แยกไปสร้างเมือง สร้างความเจริญรุ่งเรืองในเขตประเทศเขมรในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอยู่เมืองนครศรีธรรมราช อีกส่วนหนึ่งลงไปทางใต้แหลมมลายู ส่วนที่ลงไปทางใต้นั้น ส่วนหนึ่งได้พำพักอยู่ในเขตเมืองพัทลุง และในจำนวนนั้นมีพราหมณ์ผู้เรืองเวทอยู่จำนวนไม่น้อย

พราหมณ์ผู้เรืองเวทจำนวนหนึ่ง ได้สร้างสำนักขึ้นเพื่อขยายฐานศรัทธาของพราหมณ์ โดยสร้างขึ้นบนเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นทำเลที่ดีมาก อยู่ในเขตเมืองพัทลุงเก่า คือในเขตอำเภอควนขนุนในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในนาม ‘วัดเขาอ้อ’

ก่อนจะพูดถึงเรื่องราวของสำนักเขาอ้อโดยพิสดาร ขอเท้าความถึงความเป็นมาของพรามหณ์ในแผ่นดินสยามเสียก่อนสักเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นว่า พราหมณ์มีส่วนเกี่ยวอย่างไรกับเขาอ้อ และไสยเวทของเขาอ้อ เป็นสายเดียวกับของเขมรหรือขอมจริงหรือไม่

สำหรับประวัติความเป็นมาของพราหมณ์บนแผ่นดินสยามนั้น ผู้เขียนต้นพบข้อเขียนน่าสนใจของปราชญ์ท้องถิ่นท่านหนึ่ง คือครูน้อม อุปรมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเมืองนครศรีธรรมราชหลายสมัย

ครูน้อย หรืออาจารย์น้อม อุปรมัยได้เขียนถึงประวัติความเป็นมาของพราหมณ์ในแผ่นดินสยามไว้ในหนังสือประวัติวัดท้าวโคตร เมืองนครศรีธรรมราช และพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดท้าวโคดร ผู้เขียนเห็นว่าข้อเขียนนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับพราหมณ์ในแผ่นดินไทยได้ดีมาก จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอดต่อบางส่วนดังนี้

“… นับเวลาอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า๓,๐๐๐ปี ที่ศาสนาพราหมณ์ได้อุบัติและได้ครองลัทธิประเพณีของประชาชนชาวชมพูทวีป หรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน สืบเนื่องตกทอดตลอดแม้จนกระทั่งบัดนี้ ก็มีอยู่เกือบค่อนประเทศซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ‘ศาสนาฮินดูอิซม์’ ต่อมาเมื่อเกิดตาสนาพุทธขึ้นในย่านเดียวกันของโลกคือชมพูทวีปและมีชาวฮินดูมาก่อนได้หันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น พยานเหตุการณ์ที่เชื่อถือได้ในเรื่องนี้คือ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้เพียงเจ็ดวัน ก็ตั้งเค้าว่าจะเกิดแย่งพระสรีรธาตุของพระองค์ขึ้นแล้ว และเหตุการณ์นับเวลาจะรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้นหลังจากได้ถวายพระเพลิงของพระองค์ที่นครป่าหมากหรือเมืองกุสินาราเสร็จแล้วก็มีโทณพราหมณ์ต้องกระทำการแจกจ่ายถวายแก่กษัตริย์เมืองต่างๆ ไปเท่าที่จะทำได้ ส่วนสัมภินนธาตุ คือส่วนที่แตกหัก ก็ตวงด้วยทะนานเล็กๆให้ไป แต่ส่วนที่เป็นอวัยวะสำคัญคือ พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา ๑ องค์ เบื้องซ้ายอีก ๑ องค์ ซึ่งเราเรียกกันต่อมาว่า “พระทันตธาตุ” นั้น พระเขมเถระ ซึ่งเป็นพระสาวกอาวุโสได้กำบังผู้คนที่ห้อมล้อมนำออกมาได้เพื่อจะได้นำไปถวายพระมหากษัตริย์จากแว่นแคว้านภาคกลางและภาคใต้ชมพูทวีปบ้าง ต่อมาความลับเรื่องนี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นหลังจากกาลเวลาล่วงมาถึง ๘๐๐ ปี ว่าพระทันตธาตุได้ตกไปอยู่ที่เมืองทันดปุระ ทำให้กษัตริย์เมืองอื่นๆ คือ พระเจ้าขีรราภราช แห่งเมืองหรือรัฐมคธ และรัฐกาลิงค์ยกกองทัพใหญ่มาแย่งชิงที่เมืองปาตาลิบุตรเพราะขณะนั้นพระทันตธาตุได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ที่เมืองนั้นแล้ว แต่กษัตริย์แห่งรัฐกาลิงค์รบแพ้พระเจ้าลิวราชแห่งปาตาลีบุตร ต่อมาทันตธาตุถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานไว้ที่เกาะลังกาเหตุการณ์หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องยืดยาวจับเอาเป็นว่าพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าลอยทะเลมาประดิษฐ์ติดอยู่ที่หาดทรายแก้วของเผ่าเนกรีรตอสในสมัยนั้นและพระสารีริกธาตุอยู่ชั่วกาลเวลาหนึ่ง ซึ่งรายละเอียดประกาศอยู่ในหนังสือตำนานพระบรมธาตุแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้ถึงกษัตริย์เมืองต่างๆ ทำศึกสงครามกันทหารผู้คนล้มตายเหลือคณานับนั้น แสดงให้เห็นว่าความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับนับถือเลื่อมใสมีมากขึ้นรวดเร็วอย่างมหาศาลจนถึงกับทำให้ศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ในชมพูทวีปหวั่นไหวในความอยู่รอดของตนไปตามๆ กัน…..”

ภายหลัง จากที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไม่นาน คานาพราหมณ์ที่ครองความเป็นใหญ่อยู่ในหัวใจของชาวฮินดูมาก่อนเป็นพันๆ ปี ก็เริ่มรู้สึกหวั่นไหว เพราะได้เห็นศาสนาพุทธแพร่หลายรวดเร็วลุกลามกระจายออกไปทั่วสารทิศในชมพุทวีปราวกับไพไหม้ป่า จึงทำให้พราหมณ์ผู้อาวุโสทั้งหลายต่างรู้สึกว่าจะต้องหาทางยับยั้งหรืออย่างน้อยก็ให้เคียงคู่ขนานกันไปกับศาสนาพุทธ และจะจำกัดวงอยู่แต่ในชมพูทวีปแห่งเดียวก็ไม่ได้ ควรขยายเผยแพร่ออกไปยังดินแคนต่างทวีปด้วย ความคิดนี้ถือเป็นหลักการปฏิบัติอันสำคัญยิ่งของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงเริ่มดำเนินการเผยแพร่หลายตามแบบพิธีพราหมณ์ และจาริกไปยังดินแดนต่างๆ นอกชมพูทวีป โดยส่วนใหญ่ก็มุ่งไปทางตะวันออก(ตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย)

ขอขอบคุณ สำนักตักศิลาไสยเทวะ

ที่มา : เวทย์ วรวิทย์ หนังสือ : เขาอ้อ ตักศิลาทาง ไสยเวทย์ของภาคใต้

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: