1986.สมเด็จโตกับพระยืนอุ้มบาตร วัดกลางราชบุรี

สมเด็จโตกับพระยืนอุ้มบาตร วัดกลางราชบุรี

วัดกลาง ต. คลองข่อย

ก่อสร้างในสมัยรัชกาลใด ไม่มีผู้ใดทราบ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส เดิมวัดนี้หันหน้าไปทางแม่น้ำเพราะการเดินทางจะใช้แม่น้ำเป็นหลัก ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2300 ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง แต่เป็นวัดที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต)พรหมรังสี ได้เคยธุดงค์มาบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และจัดสร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้น ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน สูง 16 ศอก 1 องค์

วัดกลางได้รับการพัฒนาและบูรณะมาโดยตลอดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2508

เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 11090 เมตร ยาว 26.80 เมตร

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ

รูปที่ 1.) พระเดช รูปที่ 2.) พระเอี่ยม

รูปที่ 3.) พระโชติ รูปที่ 4.) พระนวม

รูปที่ 5.) พระนวม รูปที่ 6.) พระอวน

รูปที่ 7.) พระอธิการพวน รูปที่ 8.) พระครูสถิตสมณวัตร พ.ศ. 2484-2546

รูปที่ 9.) พระครูสังฆรักษ์ สุเทพ สุเทโว พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน
ณ วัดแห่งนี้สมเด็จพระพุฒจารย์โต พรหมรังสี

ท่านได้สร้างพระพุทธรูปยืน ซึ่งมีปรากฎไว้ในบันทึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าในช่วพ.ศ. 2375

ในรัชกาลที่ 4 ตอนปลายสมเด็จพระพุฒจารย์โ ต ท่านได้เสด็จโดยเรือมาทางน้ำจนถึงบริเวณบางแขยง

(ชื่อคลองข่อยเดิม) อันเป็นที่ตั้งของวัดกลางซึ่งสมัยนั้นมีอธิการอวน ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส สมเด็จพระพุฒจารย์โตท่านได้เสด็จจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น โดยหันหน้าสู่แม่น้ำให้เหล่าเทพเทวาและมนุษย์สักการะประจำทางด้านทิศตะวันตก การก่อสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ได้อธิษฐานจิตนั่งทำสมาธิ พิจารณาสถานที่ก่อสร้างพระประจำทิศ ณ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ (ปัจจุบันต้นโพธิ์ยังอยู่และเล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก)

ในขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าท่านคงสร้างเป็นปางไสยาสน์ (พระนอน) มากกว่าเพราะในวิหารหลังพระพุทธรูปยืน ซึ่งปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้วและกำลังบูรณะก่อสร้างใหม่ ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนอนเป็นหลักฐาน แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ก่อสร้างไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาสร้างพระยืนแทนเพราะมีรอยแนวการเรียงอิฐอยู่ประกอบสมัยนั้น วัดเป็นป่ารกชัฏ ไม่มีคนช่วยถากถาง ท่านจึงได้เอาเงินโปรยว่านไปทั่วบริเวณป่า พอชาวบ้านรู้ว่ามีพระเอาเงินมาหว่านในป่าก็เลยพากันมาถากถางป่าเพื่อหาเงิน

จึงทำให้บริเวณนั้นเป็นที่โล่งเตียนจนได้ สร้างพระพุทธรูปยืนสำเร็จ ว่ากันว่าเป็นเงินตราเก่าๆด้วยและในตอนที่สร้างพระนี้ ท่านต้องการไม้ไผ่ เผอิญมีผู้ล่องแพไม่ไผ่มาทางนั้นท่านไม่มีเงิน จึงไปที่บริเวณต้นโพธิ์นั้น ก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ตามประสงค์ ส่วนต้นโพธิ์นั้นในปัจจุบันนี้ยีงมีปรากฏอยู่ กล่าวถึงพระพุทธรูปยืนที่สมเด็จพระพุฒจารย์โตได้สร้างไว้ แกนกลางขององค์พระมีเสาไม้ตะเคียนทั้งต้น จำนวน 4 ต้น เป็นแกนกลางอยู่ภายในแล้วก็ทำการก่ออิฐถือปูนแต่สมเด็จพระพุฒจารย์โตท่านได้สร้างไม่เสร็จสร้างได้เพียงแค่คอท่านนั้น

และให้ชาวบ้านได้สร้างต่อกันเอง กาลเวลาผ่านไป พระโตนี้ชำรุดหักพัง (พระเศียรแตกร้าว พระกรทั้งสองข้างหัก) พระจารย์อวน พรฺหมฺสโร วัดมหาธาตุกรุงเทพ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นนั้น ย้ายมาอยู่วัดกลาง ได้เป็นประธานจัดการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ.2474 จนกระทั่งการบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2516

ขอบคุณที่มา ศิษย์สายวัดสะพานสูง
แอพเกจิ แอพรวมเรื่องราวประสบการณ์จริง เกี่ยวกับ พุทธคุณ ไสยศาสตร์ วิชาอาคม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: