1375. ตำนานผู้เรืองอาคมแห่งราชบุรี

ตำนานผู้เรืองอาคมแห่งราชบุรี

ณ เมืองราชบุรี ยังมีขุนโจรกระเดื่องชื่อ คือ เสือเเป้น จอมโจรเเห่งลุ่มน้ำเเม่กลอง เรียกว่าทุกคนต้องได้ยินกิตติศัพท์ ตั้งเเต่ราชบุรี สมุทสงคราม แม้แต่เด็กกำลังร้องไห้ หากพูดว่าไอ้เสือเเป้นมา เด็กหยุดร้องทันที !

ในขณะที่เสือเเป้น ยังไม่ มาเป็นเสือปล้น ตอนนั้นเสือเเป้น เป็นลูกศิษย์ ของ หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม เเละได้รับการสักยันต์

เสือเเป้นถูกความกดดันหลายสิ่งหลายอย่าง จึงต้องหันเห มายึดอาชีพเป็นโจรเที่ยวปล้นระดมชาวบ้านชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ถึงเเม้เจ้าหน้าที่จะออกปราบปรามเคยปะทะ กับเสือเเป้นเเบบประจันบาน เจ้าหน้ายังไม่สามารถทำอะไรเสือเเป้นได้ เพราะว่า”หนัง” ดีคือ

“หนังคงกระพัน” อาวุธทุกชนิดของเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถทำอันตราย เเม้เเต่ผิวหนังของเขาได้ เสือเเป้นจึงหนีรอดมาทุกครั้ง ในที่สุดทางการจึงวางเเผน โดยให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกับสมุนเสือเเป้น ใช้วิธีจ้างให้ลูกสมุนทำร้ายให้สลบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปจับกุมโดยง่ายดาย ลูกสมุนของโจรพอเห็นเงินก้อนใหญ่เลยเกิดความโลภ จึงวางเเผนทรยศต่อลูกพี่ เมื่อเสือเเป้นนอนหลับ ลูกน้องได้ใช้ไม้พองตีจนสลบ เจ้าหน้าที่จึงกรูเข้าจับตัวได้ หลังจากเสือเเป้นถูกส่งตัวฟ้องศาล ได้ตัดสินประหารชีวิต ในยุคนั้นการประหาร นักโทษ ทางราชการใช้วิธีนำผู้ต้องหามัดติดกับเสา เเล้ว เพชฌฆาต จึงลงมือฟันคอด้วยดาบ

เมื่อข่าวเเพร่สะพัดออกไปว่า เสือเเป้นถูกจับได้ เเละถูกนำตัวไปตัดศรีษะ ประชาชนนับหมื่น ต่างมุงดูกัน ล้นหลาม ณ ลานประหาร โดยมีพระยาไกรเพรช รัตนสงคราม สมุหเทศบาล เป็นประธาน ส่วนเพชฌฆาต

นั้นได้เตรียมมาจาก กรุงเทพฯ คือหมื่นสาหัส เป็นดาบ 1 คนฟันคอ ส่วนนายอ้น เพชฌฆาต เป็นดาบ 2

คนรำล่อเเละเชือด พอได้กำหนดเวลาเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเสือเเป้น.ผูกคอมัดติดกับเสาประหาร ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจ ของมารดาเเละบรรดาญาติ พี่น้องที่เคยห้ามปรามเเต่ไม่เชื่อฟัง พอได้เวลา เสียงปี่กลองก็เริ่มขึ้น เพชฌฆาต ก็ร่ายรำหลอกล่อไปตามจังหวะเสียงปี่เสียงกลอง พอรัวๆ เพชฌฆาต ดาบ 1 ก็เงื้อดาบขึ้นสุดเเขนฟันลงไปตรงบั้นคอของเสือเเป้นทันที

เเต่ทว่าคมมีดไม่สามารถชำเเหละผิวหนังของ เสือเเป้นได้ เเม้เเต่ริ้วรอยก็เหมือนรอยหนามเกี่ยวเท่านั้น สร้างความตื่นตะลึงเเก่ผู้ที่มาดูในวันนั้น ดาบ 1 ฟันไม่เจ้า ดาบ 2 เลยใช้มีดดาบเชือดเฉือนทันที เเต่ทว่าก็หาระคายผิวไม่ ทั้งๆที่ดาบของ เพชฌฆาต เป็นดาบศักศิทธิ์ เคยฟันคอนักโทษที่มีอาคมขลัง ขาดกระจุยมานักต่อนักเเล้ว เลยต้องเข้าไปกราบเรียนเจ้าคุณทศ เห็นจะต้องใช้วิธีอื่น พระยาไกรเพรช รัตนสงคราม จึงตัดสินใจให้นำกระทะมาต้ม

เมื่อมารดาเห็นเช่นนั้น จึงได้ขันอาสากับท่านเจ้าคุณ ว่าจะช่วยเกลี้ยกล่อมลูกชายให้เอง ให้ถอนอาถรรพณ์ เพราะไม่อยากเห็นลูกชายต้องทนทุกข์เวทนา เช่นนั้นเมื่อมารดาเสือเเป้น เข้าไปเกลี้ยกล่อมบุตรชายให้ถอน อาถรรพณ์ ในที่สุดเสือเเป้น บอกให้มารดา ตักน้ำมา เเละตัวเองทำน้ำมนต์ให้มารดาไปรดที่ตัว พร้อมกับเอาน้ำมนต์ลูบไปที่ อักขระยันต์ด้านหลัง 3 ครั้ง เเล้วก้มลงกราบมารดา เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้น เพชฌฆาต ก็ทำพิธีประหารต่อไป พอดาบ 1 ฟันลงก้านคอเท่านั้น คอขาดกระเด็นเลือดพุงกระฉูดกระจายไปทั่ว สิ้นสุดชีวิตความชั่วของเสือเเป้นฉาย.

ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันไปทั่ว ว่าเสือเเป้น หนังเหนียว เพราะหลวงพ่อห้องท่านสักยันต์ให้ ตั้งเเต่นั้นมานักเลงถิ่นไหนก็เดินทางมาให้หลวงพ่อห้องท่าน สักยันต์ให้ และถวายตัวเป็นลูกศิษย์ พุทธคุณพระท่านช่วยทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนดีหรือคนเลวก็ตาม พุทธคุณพระไม่มีแบ่งชั้นวรรณะ มันอยู่ที่กรรมของแต่ละคน

เสือเเป้น เป็นลูกศิษย์ ของ หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ได้รับการสักยันต์…พระโมคคัลลานะ…จากท่าน

◎ประวัติพระครูอินทเขมา◎ (ห้อง พุทธสโร)และพระปลัดคลื้น พุทธขิตะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี

ในบรรดาเหรียญหล่อโบราณในอดีต เหรียญหล่อโบราณของหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม นับได้ว่าเป็นเหรียญหล่อโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเหรียญหนึ่งของจังหวัดราชบุรี และเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์สูงมาก โดยเฉพาะคุณวิเศษทางด้านคงกระพันชาตรี รับประกันได้เลยว่ามีดปืนไม่ได้กินเลือด ด้วยรูปพิมพ์ลักษณะของเหรียญและประสบการณ์นี้เอง ในอดีตจึงเข้าใจผิดว่าเหรียญหล่อโบราณของหลวงพ่อห้องคือเหรียญหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เหรียญหล่อโบราณของพระครูอินทเขมา (ห้อง) นับได้ว่าเป็นเหรียญหล่อโบราณที่เก่าและมีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดราชบุรี

วัดช่องลมตั้งอยู่บนถนนไทรเพชร ตำบลบ้านเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แต่เดิมวัดชื่อ”ช้างล้ม” ในอดีตบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ มีโขลงช้างมาอาศัยหากินอยู่บริเวณนั้น เมื่อช้างเกิดป่วย เจ็บ และล้มตาย ก็จะตายบริเวณนั้น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในบริเวณนั้นขนานนามว่า “วัดช้างล้ม”

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี ได้ประทับ ณ วัดนี้ ด้วยเหตุวัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองเป็นเหตุให้บริเวณในวัดมีอากาศร่มรื่นเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่นมาก บริเวณวัดสะอาด และมีลมพัดเย็นตลอดเวลา สมเด็จ ฯท่านได้ตรัสขึ้นด้วยความสะบายใจว่า”วัดนี้อากาศเย็นสบายเหมือนวัดช่องลม มีลมพัดผ่านตลอดเวลาทุกฤดูกาล”

เมื่อสมเด็จพระมหาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จกลับแล้ว พระครูอินทเขมา(ห้อง) ได้จดจำคำว่า “วัดช่องลม” จากสมเด็จฯที่ท่านทรงตรัสไว้ พระครูอินทเขมา(ห้อง) จึงได้ปรึกษากับพระ เณร ไวยาวัจกรวัดและชาวบ้านรอบวัด เพื่อความเป็นศิริมงคล เห็นสมควรเปลียนชื่อวัดจากเดิมว่า”วัดช้างล้ม”เป็น”วัดช่องลม” ตามพระดำรัสของสมเด็จในครั้งนํ้น

วัดช่องลมสร้างเมื่อครั้งใด ไม่มีหลักฐานแน่นอน ส่วนเจ้าอาวาสที่ปรากฏหลักฐานมีดังต่อไปนี้

๑. พระครูอินทเขมา(ห้อง)

๒. พระปลัดคลื้น พุทธรักขิตะ

๓.พระราชเขมาจารย์(เปาะ อินฺทสโร)นามสกุล กิมพิทักษ์

๔. พระราชวรเวที่(กวีธะโร)นามเดิมว่า”ประเทศ กวียาหตร์

๕.พระครูโสภณปัญญาวัฒน์(ปัญญาทีโป)

หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ท่านเป็นชาวบ้านโพธิ์ (คำบอกเล่าของหลวงพ่อเปาะได้เล่าให้พระราชวรเวทีฟัง และพระราชวรเวทีได้เล่าให้คุณบุญเสริม ศรีภิรมณ์ฟัง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙) ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาเยี่ยมเยียน และทรงฟังพิณพาทย์ของหลวงพ่อห้อง และท่านเล่นพิณพาทเก่งมากได้ไพเราะ ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ ถวายเงินเป็นรางวัลให้หลวงพ่อห้องถึงหนึ่งชั่ง

หลวงพ่อห้องท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๓๘๘ ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ นาค (แต่บทความของอาจารย์เภา ศกุนตะสุตที่ท่านได้บันทึกในหนังสืออาณาจักรพระเครื่องว่าโยมบิดาท่านเป็นคนจีนชื่อ แป๊ะ โยมมารดาชื่อ ขำ อยู่ที่บ้านท่าเสา อำเภอเมือง)

เมื่อท่านอายุครบบวช(ปีพ.ศ.๒๔๐๙) หลวงพ่อห้องได้อุปสมบทที่วัดช่องลม โดยมีท่านเจ้าอาวาส วัดช่องลมในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจันทร์ วัดพญาไม้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเรือง วัดท้ายเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร”

เมื่อท่านบวชแล้ว หลวงพ่อท่านประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และบำเพ็ญ ศาสนกิจของสงฆ์ถูกต้องตามพุทธบัญญัติทุกประการ จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ มีอายุได้ ๘๑ปี เนื่องจากท่านปฏิบัติเคร่งในพระธรรมวินัย ทรงศีลาจริยาวัตร ปฏิบัติิศาสนกิจโดยมิขาดตกบกพร่อง เมื่อท่านได้เป็นสมภารปกครองวัด ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิและอื่น ๆอีกมากมาย คณะสงฆ์เห็นคุณงามความดีของท่าน จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้

พ.ศ.๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอินทเขมา ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด

พ.ศ.๒๔๕๕ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัด

พ.ศ.๒๔๖๑ ด้วยเหตุท่านชรามาก จึงโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์

หลวงพ่อห้อง ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านมีพระน้องชายรูปหนึ่ง และบวชอยู่ที่วัดช่องลม ชื่อ พระปลัดคลื้น (พุทธรักขิตะ) พระปลัดคลื้น ท่านอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อห้องเพียง ๓ ปี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ มรณภาพ พ.ศ.๒๔๗๓ ต่อมาท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมต่อจากหลวงพ่อห้อง พระปลัดคลื้นท่านเป็นหัวเลี้ยวหัวแรงสำคัญในการพัฒนาวัดช่องลม ช่วยแบ่งเบาภาระของหลวงพ่อห้องเป็นอันมาก พระปลัดคลื้นท่านเป็นช่างไม้ ช่างก่อสร้าง และรอบรู้ในศิลป และดนตรี ทั้งพระ เณรและชาวบ้านต่างเคารพนับถือทั้งหลวงพ่อห้องและพระปลัดคลื้น จึงขนานนามหลวงพ่อห้องว่า”หลวงพ่อใหญ่” ส่วนพระปลัดคลื้นได้รับฉายาว่า”หลวงพ่อเล็ก”

หลวงพ่อเล็ก นอกจากท่านจะมีความสามารถในการก่อสร้าง ศิลป และดนตรีแล้ว ท่านยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและคันธถุระ ตลอดจนวิชาอาคม เรียกได้ว่าวิชาอาคมของหลวงพ่อเล็ก ไม่ด้อยไปกว่าของหลวงพ่อใหญ่ ดังนั้นการสร้างพระของหลวงพ่อห้อง พระปลัดคลื้นจะต้องร่วมปลุกเสกเสมอ

หลวงพ่อห้องเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรที่น่าเลื่อมใส ท่านได้ช่วยระงับอธิกรณ์น้อยใหญ่ และบริหารคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ท่านยังได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดช่องลมให้เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

สำหรับวัดอื่นๆ ภายในจังหวัดราชบุรีท่านก็อนุเคราะห์ช่วยเหลือตามกำลังและสติปัญญา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี ในปีหนึ่งๆ จะมีผู้มาขออุปสมบท กับท่านเป็นจำนวนมาก ท่านปฏิบัติหน้าที่โดยมิขาดตกบกพร่อง แม้ในปีหลังๆ ที่ท่านได้อาพาธใกล้มรณภาพ ก็ยังมีผู้ปรารถนาจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์มานิมนต์ ท่านก็รับหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้

ในปี พ.ศ.2469 ราวต้นเดือนพฤษภาคม หลวงพ่อห้องก็เริ่มอาพาธหนักขึ้น นายแพทย์มาเยียวยารักษาท่าน ก็แนะนำให้ท่านฉันอาหารในเวลาเย็นเพื่อจะได้ช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ด้วยท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่ยอมฉันอาหารเย็นเลย ท่านบอกกับลูกศิษย์ที่เฝ้าดูแลท่านว่า “ถึงแม้จะถึงชีวิตก็จะไม่ขอล่วงพระธรรมวินัยแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็จะไม่ยอม” ในที่สุดการอาพาธในครั้งนั้นก็เป็นวาระสุดท้าย ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2469 ท่านก็ทำสมาธิมรณภาพในเวลาตี 4 กับ 55 นาที สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 61

ในสมัยที่หลวงพ่อห้องยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างพระเครื่องในรูปแบบเหรียญปั้มและเหรียญหล่อโบราณ เมือประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๖๕ และบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเหรียญหล่อโบราณที่สร้าง ปี พ.ศ.๒๔๖๕ เท่านั้น

เหรียญหล่อโบราณของหลวงพ่อห้องมี ๒ พิมพ์ คือพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก มี ๓เนื้อ ๑.เงินบ้องยาสูบ ๒. ขันลงหิน ๓. ชินตะกั่ว ลักษณะของเหรียญเป็นรูปไข่ หวงในตัว เป็นรูปหลวงพ่อนั่งขัดสมาธิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมียันต์ ๔ ตัว ด้านหลังเหรียญมียันต์ ๔ แถว พิมพ์หน้าใหญ่พระพักตร์ของหลวงพ่อจะเป็นรูปไข่เรียวยาวคล้ายหน้าหลวงพ่อห้อง ส่วนพิมพ์หน้าเล็กพระพักตร์ของหลวงพ่อเป็นรูปเหลี่ยมคางแหลมคล้ายหน้าพระปลัดคลื้น สันนิฐานว่า พิมพ์หน้าใหญ่ น่าจะเป็นรูปจำลองหลวงพ่อห้อง ส่วนพิมพ์หน้าเล็ก น่าจะเป็นรูปจำลองพระปลัดคลื้น ประกอบกับเหรียญปั้มหลวงพ่อห้องก็มีสองพิมพ์คือพิมพ์หน้าใหญ่และพิมพ์หน้าเล็ก

เหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อห้องเป็นเหรียญหล่อที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยเฉพาะทางด้านคงกระพันชาตรี เป็นที่ประจักษ์ของชาวจังหวัดราชบุรี ในอดีต เสือฮุยซึ่งเป็นจอมโจรที่ชื่อเสียงว่าหนังเหนียว ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อห้อง เมื่อเสือฮุยถูกจับและถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต ในวันเข้าสู่แดนประหาร คมมีดของเพชรฆาตไม่สามารถทำอันตรายเสือฮุยได้ จนกระทั่งเสือฮุยยอมเอาเหรียญหล่อโบราณของหลวงพ่อห้องออกจากร่างกาย ศรีษะของเสือฮุยก็หลุดกระเด็นออกจากร่างกายของเสือร้ายทันที ชดใช้เวรกรรมที่ก่อไว้เหมือนกับเสือแป้นฉาย อย่างว่าละครับ ทำอย่างไหนได้อย่างนั้น ศีล5เข้าใจง่ายแต่รักษายากเหลือเกินครับ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: นักเลง โบราณ ตำนานหนังเหนียว

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: