2225.หลวงปู่ทองสุข อินทสาโร ผู้สืบทอดวิชาสายวัดสะพานสูง รุ่นที่ 3

หลวงปู่ทองสุข อินทสาโร
ก่อนหลวงปู่กลิ่น จันทรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดสพานสูง รูปที่ ๖ มรณภาพ ท่านได้สั่งเสียไว้กับทายกสาย ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม เหมือนกันว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้วให้เสนอแต่งตั้งหลวงปู่ทองสุข อินทสาโร ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อไป

ด้วยหลวงปู่กลิ่น ฯ พิจารณาถึงความรู้ความสามารถของหลวงปู่ทองสุข ฯ ซึ่งเคยมอบงานเป็นอาจารย์สอนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณรในวัดแทนท่าน ซึ่งเริ่มชราภาพแล้ว อีกทั้งได้สั่งสอนสรรพวิชาสายวัดสพานสูงให้

เมื่อหลวงปู่กลิ่น ฯ มรณภาพแล้ว สมัยก่อนการคัดเลือกพระสงฆ์ในวัดจะขึ้นเป็นเจ้าอาวาส จะใช้คะแนนเสียงโดยความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ในวัด รวมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ยกมือให้ พระรูปใดมีคะแนนจำนวนผู้ยกมือให้มากสุด ก็จะได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนไปพลางก่อน และแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา

เป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงปู่ทองสุข ฯ ท่านมิใช่คนพื้นที่ แต่ท่านเคยรับราชการมาก่อน มีความรู้ความสามารถ เอาใจใส่งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาแทนหลวงปู่กลิ่น ฯ ได้

แต่มีอุปสรรค์ถูกตั้งแง่รังเกลียดจากบางกลุ่มที่ต้องการเสนอแต่งตั้งพระในพื้นที่ขึ้นปกครอง ทายกสาย ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือได้เสนอหลวงปู่ทองสุข ฯ ตามที่หลวงปู่กลิ่น ฯ สั่งเสียไว้ โดยมีปู่ฉาย ปู่สงวน ยายครัว ยายจ้อย แม่ชีเล็ก ฯลฯ ชาวบ้านคลองข่อยที่เข้าวัดประจำได้รวบรวมผู้ที่ให้ความเคารพนับถือช่วยกันสนับสนุนยกมือให้หลวงปู่ทองสุข ฯ ตามคำสั่งเสียของหลวงปู่กลิ่น ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่กลิ่น ฯ

เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แล้ว ท่านก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรค์อีกมากมาย เช่นเวลาท่านไปกิจนิมนต์ เมื่อกลับมาถึงวัด ที่บันไดบ้าง ราวบันไดบ้าง ประตูกุฎิบ้าง จะมีอุจจาระทาไว้ บางครั้งจะมีน้ำปัสสาวะเทราดอยู่หน้ากุฎิก็มี แต่ท่านนิ่งเฉย วางอุเบกขา ไม่ตอบโต้อะไร ในบั้นปลายแต่ละคนก็รับกรรมที่ทำกันไป

จนนานวันเวลาผ่านไปบารมีท่านแผ่ขยายออกไปถึง พระนคร พ่อค้าชาวจีนเยาวราชเป็นชุดแรกที่เข้ามาช่วยพัฒนาวัด หลวงปู่ทองสุข ฯ จึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ ก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นโดยมีชาวบ้านระแวกวัด ชาวจีนและผู้เลื่อมใสศรัทธาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาวัดเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

ในสมัยหลวงปู่ทองสุข ฯ เป็นเจ้าอาวาสนั้น จะมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นลูกหลานชาวไร่ชาวนาทั้งในคลองพระอุดมและคลองข่อยนำมาฝากถวายตัวเป็นศิษย์ให้ช่วยอบรมสั่งสอนและส่งเสียในการเรียนต่อให้สูงยิ่งขึ้น

เพราะยุคนั้นการเดิยทางแสนจะลำบาก การมาอยู่วัดทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น อาหารการกินก็สมบูรณ์เงินค่าอาหารหวงพ่อทองสุข ผฯ ท่านก็มอบให้ทุกคน เรื่องระเบียบวินัย ก็คล้ายทหารเพราะท่านเคยรับราชการตำรวจมาก่อน

จึงฝึกให้รุ่นพี่ปกครองรุ่นน้อง รู้จักหน้าที่ตนเอง ลูกศิษย์รุ่นนั้นจึงรู้คุณค่าของ “แกงสำรวม” กันดีว่าเมื่อกลับจากโรงเรียนมาก็ตั้งวงกินข้าวกัน ข้าวบูดแกงบูดก็ป่านกันมา ลูกศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่ทองสุข ฯ ไม่ว่ารุ่นไหนจะมีความรักสมัครสมานสามัคคีเคารพกันช่วยเหลือกัน

เมื่อแยกย้ายไปมีคนอบครับแล้ว ซึ่งแต่ละคนก็ได้ดิบได้ดีเป็นนายทหาร นายตำรวจข้าราชการ มีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โต ปัจจัยที่ส่งให้ลูกศิษย์เรียนก็ได้จากผู้เลื่อมใสศรัทธาถวายไว้เป็นการส่วนตัว

เพราะแต่ละคนรู้ว่าหลวงปู่ทองสุข ฯ มีใจเมตตาส่งเสริมสนับสนุนคนที่สนใจก้าวหน้าในการศึกษาเล่าเรียน พระสมุห์ไพบูรณ์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดสพานสูง ก็เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิอีกรูปหนึ่ง ที่หลวงปู่ทองสุข ฯ ชุบเลี้ยง นอนอยู่ในกุฎิและคอยปรนิบัติดูแลรับใช้อย่างใกล้ชิด และเจริญรอยตามครูบาอาจารย์เช่นกัน

ปัจจุบันการแต่งตั้งพระสงฆ์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ได้ยึดถือ พรบ.การปกครองคณะสงฆ๋ พ.ศ.๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕ โดยมอบอำนาจให้เฉพาะพระสังฆาธิการผู้ปกครองตามลำดับชั้น พิจารณาเสนอแต่งตั้ง

วัดสพานต้องพัฒนาก้าวหน้าต่อไป โดยบารมีหลวงปู่เอี่ยม ฯ หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อทองสุข

Cr.สุวิทย์​ พุฒธรรม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: