1384.ผ้ายันต์หลวงปู่เอี่ยมสยบภัยน้ำวน

มีเรื่องเล่ากันสืบมาว่าเมื่อครั้งที่พระยาโกษาปานเป็นราชทูตแห่งสมเด็จพระนารายณ์ไปยังฝรั่งเศสนั้นระหว่างทางได้เผชิญกับน้ำวนขนาดใหญ่และภายหลังจากนั้นร่วม200กว่าปี ล้นเกล้าฯรัชกาลที่๕เรือพระที่นั่งของพระองค์ก็ได้เผชิญกับวังน้ำวนขนาดใหญ่ด้วยเช่นกันเมื่อคราวที่ทรงเสด็จฯประพาสยุโรปครั้งที่1
ซึ่งตรงกับคำพยากรณ์ที่หลวงปู่เอี่ยม(ขณะนั้นท่านเป็นพระปลัดเอี่ยมอยู่ที่วัดโคนอน)ได้ทูลถวายแด่ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ว่า
“มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้จะต้องประสบภัย2ครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้นจะเกิดลมมหาาวาตะ พัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้
ภัยครั้งที่2เกิดจากสัตว์จตุบาท(สี่เท้า)คืออัสดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดสอบพระบารมีของพระองค์ อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัสดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง”
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต

คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้นคือ
“คาถา อิติปิโสเรือนเตี้ย”หรือ”มงกุฏพระพุทธเจ้า”
มีตัวคาถาว่า
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ”
และที่มาแห่งการที่หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ถวายคำแนะนำแด่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่๕นั้นเนื่องมาจาก
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ เจ้ากรมพระนครบาลได้ถวายคำแนะนำและทูลเชิญล้นเกล้าฯรัชกาลที่๕ให้เสด็จมาขอรับการพยากรณ์จากหลวงปู่เอี่ยมก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่1
การเสด็จประพาสยุโรปในคร้งแรกเมื่อปี2440(ร.ศ.๑๑๖)ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่งในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้ง”สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี”เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อหน้ามหาสมาคม
และในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั้นเอง คำพยากรณ์ข้อที่หนึ่งของหลวงปู่เอี่ยม ก็เป็นจริง
เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับสะดือทะเลหรือ”ซากัสโซ ซี” อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำและเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้นก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้”กัปตันคัมมิง(Capt.R.S.D Cumming R.N.)นายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ ซึ่งไทยได้ยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราวได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถบังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้วการรอดออกมานั้นหมดหนทาง ในขณะที่วิกฤต นั้นได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อทรงรำลึกถึงคำพยากรณ์ของหลวงปู่เอี่ยมขึ้นมาได้ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของหลวงปู่เอี่ยมติดมาด้วยเมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย

พระสยามเทวาธิราชและบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่พระองค์ทรงวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็นทาส จบลงด้วยหลวงปู่เอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฏิหารย์ก็ปรากฏ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน จู่ๆก็เกิดลมมหาวาตะ พัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับน้ำวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนแห่งวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูด สามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า”ฮูเรย์”ของกัปตันและลูกเรือ ส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูกจนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละจึงค่อยๆร้องว่า
สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่๕ว่า”แม่นยำยิ่งนัก”คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น

เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้นมีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง15วัน15คืนคือเส้นทางระหว่างเมืองกอล(Galle)ประเทศศรีลังกาไปยังเมืองเอเดน(Aden)เมืองท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่เป็นช่วงที่น่าจะอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่หนึ่งข้างต้นคงเกิดในช่วงเส้นทางนี้ คือระหว่างวันที่ 23เม.ย ถึง6พ.ค ปี2440(ขอย้ำอีกครั้ง เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้มีบันทึกไว้ในพระราชหัตถเรขา-เล็ก พลูโต จากเว็บไซด์ lekpluto.com ผู้เขียน)
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากwww.dhammajak.netมากครับ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: