1530.คัมภีร์ผงพุทธคุณ ผงอิติปิโส รัตนะมาลา ฉบับมหาโกเมส มณีโชติ

คัมภีร์ผงพุทธคุณ
ผงอิติปิโส รัตนะมาลา
ฉบับมหาโกเมส มณีโชติ

การไหว้ครู สำหรับทำผง พุทธคุณ อิธเจ ฉบับมหาโกเมส มณีโชติ
เครื่องสังเวยในการไหว้ครู และครอบ มีดังนี้
๑.หัวหมูต้ม ๑ หัว
๒.ไก่ต้ม ๑ ตัว
๓.เป็ดต้ม ๑ ตัว
๔.ผลไม้ ๙ สิ่ง
๕.ถั่วงา ข้าวตอก นมเนย พอควร
๖.ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว สิ่งละ ๑ ถ้วย
๗.กล้วยน้ำไทย ๑ หวี
๘.มะพร้าวอ่อน ๒ ลูก
๙.บายศรีปากชาม ๒ ที่
๑๐.ขันครู ๑ ที่
๑๑.ดอกไม้ ๙ สี ตามสมควร
๑๒.น้ำเย็น ๑ แก้ว
๑๓.เครื่องเจิมและน้ำมันหอม (ใช้เจิมหน้าศิษย์ และตำรา กระดาน)
๑๔.ทองคำเปลว ๙ แผ่น (ปิดสมุดตำรา กระดาน)
๑๕.เทียนเงิน เทียนทอง อย่างละ ๑ เล่ม
ผ้าขาว ๑ วา ผ้าแดง ๑ วา ของผู้เรียน
๑๗.ขันธ์๕ ขันธ์๘ อย่างละที่ เงิน๖บาท ให้จัดทำการยกครูหรือครอบในวันพฤหัสบดี
ขันธ์๕ (กรวยทั้ง ๕ นั้น บันจุด้วยสิ่งของเหล่านี้ กรวยละสิ่ง ดอกบัว ๑ ดอก(ไม่พับกลีบ) ธูป ๑ ดอก เทียน ๑ ดอก หมากพลูพร้อมและข้าวตอก บันจุใส่ในกรวยนั้นแต่ละกรวยไปทั้ง ๕ กรวย ใช้ขันลงหินหรือขันอลูมิเนียมใหม่ๆ๑ใบ ทำเป็นขันครู เอาผ้าขาวผืนหนึ่งผ้าแดงผืนหนึ่งขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าวางรองลงไปก้นขันเอากรวยทั้ง๕นั้นวางทับลงไปบนผ้า ใส่ลงในขันครูนั้นพร้อมเงินค่ากำนัลครู ๖บาท)

ขันธ์๘ (กรวยทั้ง ๘ นั้น บันจุด้วยสิ่งของเหล่านี้ กรวยละสิ่ง ดอกบัว ๑ ดอก(ไม่พับกลีบ) ธูป ๑ ดอก เทียน ๑ ดอก หมากพลูพร้อมและข้าวตอก บันจุใส่ในกรวยนั้นแต่ละกรวยไปทั้ง ๘ กรวย ใช้ขันลงหินหรือขันอลูมิเนียมใหม่ๆ๑ใบ ทำเป็นขันครู เอาผ้าขาวผืนหนึ่งผ้าแดงผืนหนึ่งขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าวางรองลงไปก้นขันเอากรวยทั้ง๘นั้นวางทับลงไปบนผ้า ใส่ลงในขันครูนั้นพร้อมเงินค่ากำนัลครู ๖บาท)

คำไหว้ครู
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ ว่า ๓ หน
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ สาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏะปันโน ภะคะวะโต ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะถิทังจัตตาริ ปุริสายุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเณยโย ปาหุเณยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พุทธะปูชามหาเตชะวันโต ธัมมะปูชามหาปัญญะวันโต สังฆะปูชามหาโภคะวะโห ติโลกะนาถัง อะภิปูชะยามิฯ
วันทิตวาอาจาริยัง ครูปาทัง อันตะรายัง วินาสสันติ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ปะสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเมฯ
ทุติยัมปิ วันทิตวาอาจาริยัง ครูปาทัง อันตะรายัง วินาสสันติ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ปะสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเมฯ
ตะติยัมปิ วันทิตวาอาจาริยัง ครูปาทัง อันตะรายัง วินาสสันติ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ปะสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเมฯ
สาธุ สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนากาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตาฯ
แล้วอธิษฐานจิตเอาตามปรารถนา เสร็จแล้วลงผงในกระดานชนวนต่อไป

ลงผงอิติปิโสรัตนะมาลา ดังต่อไปนี้
ให้เขียนพุทธคุณลงเป็น๕แถว แถวละ๑๑ตัวอักษร (เขียนอักษรขอม)
อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา อะ ระ หัง สัม
มา สัม พท โธ วิช ชา จะ ระ ณะ สัม ปัน
โน สุ คะ โต โล กะ วิ ทู อะ นุต ตะ
โร ปุ ริ สะ ทัม มะ สา ระ ถิ สัต ถา
เท วะ มะ นุส สา นัง พุท โธ ภะ คะ วา ติ
เวลาลงให้เรียกสูตรอักขระ(อักษรขอม) ทั้ง ๕๖ อักขระดังนี้
อิ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อิ
ติ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ติ
ปิ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ปิ
โส กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โส
ภะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ภะ
คะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น คะ
วา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น วา
อะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อะ
ระ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ระ
หัง กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น หัง
สัม กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สัม
มา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น มา
สัม กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สัม
พุท กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น พุท
โธ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โธ
วิช กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น วิช
ชา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ชา
จะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น จะ
ระ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ระ
ณะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ณะ
สัม กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สัม
ปัน กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ปัน
โน กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โน
สุ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สุ
คะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น คะ
โต กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โต
โล กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โล
กะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น กะ
วิ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น วิ
ทู กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ทู
อะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อะ
นุต กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น นุต
ตะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ตะ
โร กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โร
ปุ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ปุ
ริ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ริ
สะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สะ
ทัม กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ทัม
มะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น มะ
สา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สา
ระ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ระ
ถิ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ถิ
สัต กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สัต
ถา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ถา
เท กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น เท
วะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น วะ
มะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น มะ
นุส กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น นุส
สา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สา
นัง กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น นัง
พุท กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น พุท
โธ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โธ
ภะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ภะ
คะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น คะ
วา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น วา
ติ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ติ

เมื่อเขียนบทพุทธคุณสำเร็จแล้ว ให้เสกด้วยรัตนะมาลา อักษรละสามจบ จะเสกอักษรไหนให้เอาดินสอไปแตะที่อักษรนั้น ดังนี้
๑.เสก อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง
อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหังฯ (๓จบ)
๒.เสก ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓.เสก ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม
ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔.เสก โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก
โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหังฯ (๓จบ)
๕.เสก ภะ. ภัชชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา
ภะเยสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหังฯ(๓สามจบ)
๖.เสก คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง
คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๗.เสก วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง
วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๘.เสก อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๙.เสก ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โส สัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจาคัง นะมามิหัง(๓จบ)
๑๐.เสก หัง. หัญญะเต ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง
หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๑.เสก สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง
สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๒.เสก มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโน
มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๓.เสก สัม. สัญจะยัง ปาระมิง สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน
สังขารานัง ขะยัง กัตวา สันตะคามิง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๔.เสก พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง
พุชฌาเปตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๕.เสก โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง
โธติสะวัง มะหาวีรัง โธตกะเลสัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๖.เสก วิช. วิวิจเจวะ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง
วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๗.เสก ชา. ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต
ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติโมกขัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๘.เสก จะ. จะยะเต ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง
จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๑๙.เสก ระ. ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตัง โลกะสัมปะทัง
ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตังตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๐.เสก ณะ. นะมิโตเทวะ พรหเมหิ นะระเทวาหิ สัพพะทา
นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๑.เสก สัม. สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต
สัมมานิพพานะสัมปัตโต สัมปัตสันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๒.เสก ปัน. ปักกะเตโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โส สะเทวะเก
ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๓.เสก โน โนเทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๔.เสก สุ. สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสสะโร ธัมมะภาสะเน
สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๕. เสก คะ. คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง
คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๖.เสก โต. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๗.เสก โล. โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร
โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๘.เสก กะ. กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน
กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๒๙.เสก วิ. วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว
วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๐.เสก ทู. ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐานัง ปะกาสะติ
ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหานัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๑.เสก อะ. อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทีปะทุตตะโม
อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๒.เสก นุต. นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง
นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๓.เสก ตะ. ตะโนติ กุสะลัง ธัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง
ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๔.เสก โร. โรเสนเต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ
โรคานัง ราคะโทเสหิ โรคะสันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๕.เสก ปุ. ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมิง
ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๖.เสก ริ. ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ
ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๗.เสก สะ. สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน
สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๘.เสก ทัม. ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง
ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๓๙.เสก มะ. มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ
มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๐.เสก สา. สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง
สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๑.เสก ระ รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง
รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๒.เสก ถิ. ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก
ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตะ ธัมมัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๓.เสก สัต. สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตังนิพพานะปาปะกัง
สะมาหิตัง สะวาะกัง สันตะจิตตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๔.เสก ถา. ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ
ถาเน สัคคะสิเว รัมเม ถาเปนตัง ตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๕.เสก เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง
เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๖.เสก วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง
วันทิตัง เทวะพรหเมหิ วะรังพุทธัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๗.เสก มะ. มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา
มะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตังตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๘.เสก นุส. นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง
นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๔๙.เสก สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง
สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตังตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๐.เสก นัง. นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ
นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๑.เสก พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง
พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๒.เสก โธ. โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน
โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะกะเลสัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๓.เสก ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก
ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะสันตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๔.เสก คะ. คะธิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง
คัณหะณียัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๕.เสก วา. วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง
วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหานัง นะมามิหังฯ(๓จบ)
๕๖.เสก ติ. ติณโณ โส สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต
ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหังฯ(๓จบ)

ลบ อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ สาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ เป็น นะ, โม, พุท, ธา, ยะ, ดังต่อไปนี้
ลบแถวที่หนึ่ง ด้วยสูตรว่า ปะฐะมัง อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัม โลโปจะฯ”ลบ อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัม” นะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น นะ (เขียน นะ อักษรขอม)
ลบแถวที่สอง ด้วยสูตรว่า ทุติยัง มาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปัน โลโป จะฯ”ลบ มาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปัน” โม กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น โม (เขียน โม อักษรขอม)
ลบแถวที่สาม ด้วยสูตรว่า ตะติยัง โน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะ โลโป จะฯ “ลบ โน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะ” พุท กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น พุท (เขียน พุท อักษณขอม)
ลบแถวที่สี่ ด้วยสูตร จะตุตถัง โร ปุริสะทัมมะ สาระถิ สัตถา โลโป จะฯ “ลบ โร ปุริสะทัมมะ สาระถิ สัตถา” ธา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ธา (เขียน ธา อักษรขอม)
ลบแถวที่ห้า ด้วยวูตรว่า ปัญจะมัง เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ โลโปฯ “ลบ เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ” ยะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น ยะ (เขียน ยะ อักษรขอม)
สำหเร็จเป็น นะ,โม,พุท,ธา,ยะ
เสกนะโมพุทธายะ ต่อไป (เสกอักษรใด พึงเอาดินสอแตะที่อักษรนั้น)
เสก นะ นะวะภาปะรายิโนเยนะ นะเยโนนะชิตาชินะ
นะชิตามานิโนเยนะ นะเยโน พุทธะภาวะนะฯ (๓จบ)

เสก โม โมวะภาปะรายิโนเยโม โมเยโน โมชิตาชิโม
โมชิตามานิโนเยโม โมเยโน พุทธะภาวะโมฯ (๓จบ)

เสก พุท พุทวะภาปะรายิโนเยพุท พุทเยโน พุทชิตาชิพุท
พุทชิตามานิโนเยพุท พุทเยโน พุทธะภาวะพุทฯ (๓จบ)

เสก ธา ธาวะภาปะรายิโนเยนะ ธาเยโน ธาชิตาชิธา
ธาชิตามานิโนเยธา ธาเยโน พุทธะภาวะธาฯ (๓จบ)

เสก ยะ ยะวะภาปะรายิโนเยยะ ยะเยโน ยะชิตาชิยะ
ยะชิตามานิโนเยยะ ยะเยโน พุทธะภาวะยะฯ (๓จบ)

ลบนะโมพุทธายะ เป็น อิ สวา สุ ต่อไปดังนี้
ปะฐะมัง นะโม โลโป จะฯ “ลบ นะโม” อิ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นเป็น อิ (เขียน อิ อักษรขอม)
ทุติยัง พุทธา โลโป จะฯ “ลบ พุทธา” สวา กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สวา (เขียน สวา อักษรขอม)
ตะติยัง ยะ โลโป จะฯ “ลบ ยะ” สุ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น สุ (เขียน สุ อักษรขอม)
สำเร็จเป็น อิ สวา สุ
เสก อิ สวา สุ ต่อไป (เสกอักษรใดพึงนำดินสอแตะที่อักษรนั้น)
เสก อิ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ (๓จบ)
เสก สวา สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ (๓จบ)
เสก สุ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ (๓จบ)

ลบ อิ สวา สุ เป็น มะ อะ อุ ต่อไปดังนี้
ปะฐะมัง อิ โลโป จะฯ “ลบอิ” มะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น มะ (เขียน มะ ภาษาขอม)
ทุติยัง สวา โลโป จะฯ “ลบ สวา” อะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อะ (เขียน อะ ภาษาขอม)
ตะติยัง สุ โลโป จะฯ “ลบ สุ” อุ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อุ (เขียน อุ อักษรขอม)

เสก มะ อะ อุ ต่อไป (เสกอักษรใด ให้นำดินสอไปแตะอักษรนั้น)
มะ อะ อุ เพ็ชคงคง มะ อะ อุ เพ็ชคงคง มะ อะ อุ เพ็ชคงคง
เสก มะ มะเมตตา จะ มะหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิตา
สัพพะสุขา จะ มะหาลาภา สัพพะโกรธา วินาสสันติฯ (๓จบ)
เสก อะ อะเมตตา จะ มะหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิตา
สัพพะสุขา จะ มะหาลาภา สัพพะโกรธา วินาสสันติฯ (๓จบ)
เสก อุ อุเมตตา จะ มะหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิตา
สัพพะสุขา จะ มะหาลาภา สัพพะโกรธา วินาสสันติฯ (๓จบ)

ลบ มะ อะ อุ เป็นองค์พระต่อไปดังนี้
ปะฐะมัง มะอัฒฑะโลโป จะฯ”ลบมะเสียครึ่งตัว” สีสะพุทธา ปะนะชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็นเศียรพระ (เขียนวงกลมวงแรกข้างบน)
ทุติยัง อะอัฒฑะโลโป จะฯ”ลบอะเสียครึ่งตัว” อังคะพุทธา ปะนะชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็นองค์ (เขียนวงกลมที่สองใหญ่กว่าวงพระเศียรวงแรก)
ตะติยัง อุอัฒฑะโลโป จะฯ”ลบอุเสียครึ่งตัว “ทะเวหัตถาพุทธา ปะนะชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็น พระหัตถ์”แขน”ทั้งสองข้าง (วาดรูปแขนทั้งสองข้างที่วงกลมวงที่สอง)
จะตุตถัง มะเสสะโลโป จะฯ”ลบเสียซึ่งเสสมะครึ่งตัว” ทะเวเนสสะ พุทธา ปะนะชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็นพระเนตรทั้งสองข้าง (เขียนพระเนตรทั้งสองข้างที่วงกลมวงแรก คือจุดสองจุด)
ปัญจะมัง อะเสสะโลโป จะฯ”ลบเสียซึ่งเสสอะครึ่งตัว”ทะเวถันนา พุทธา วิชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็นพระถันทั้งสองข้าง (เขียนพระถันคือจุดสองจุดที่วงกลมวงที่สอง)
ฉัฏฐะมัง อุเสสะโลโป จะฯ”ลบเสียซึ่งเสสอุครึ่งตัว”ทะเวปาทา พุทธา ปะนะชายะเตฯ จงมาบังเกิดเป็นพระบาททั้งสองข้าง(เขียนลงกลมต่อจากวงกลมที่สองพร้อมวาดเป็นพระบาท)
มะ เอกะวะจะนะฯ จงมาบังเกิดเป็นพระโสตเบื้องขวา (วาดขีดเป็นหูขวาที่วงกลมที่หนึ่ง)
(เพิ่มเติม)ให้เขียน มะ เป็นพระกรรณ์เบื้องขวาของพระพุทธเจ้า
(มะ กาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมายังเกิดเป็น มะ)

อะ พะหุวะจะนะฯจงมาบังเกิดเป็นเป็นพระโสตเบื้องซ้าย (วาดขีดเป็นหูซ้ายที่วงกลมที่หนึ่ง)
(เพิ่มเติม)ให้เขียนรูป อะ อักษรขอมเป็นพระกรรณ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า
(อะ กาโรโหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็น อะ)

นาสิกกาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นพระนาสิก “จมูก”(วาดรูปขีดหนึ่งขีดที่วงกลมวงแรก)

มุขะวัณโณกาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นพระโอฐ”ปาก” (วาดรูปขีดขวางหนึ่งขีดที่วงกลมวงแรก)

นะนาภีกาภะคะวาติฯ จงมาบังเกิดเป็นพระนาภี”สะดือ”(วาดเป็นวงกลมในวงกลมวงที่สอง)

อุณาโลมาปะนะชายะเต อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ สัตถุโนพุทโธฯ(เขียนรูปอุณาโลม๙ชั้นบนพระเศียร)

เสก เศียร องค์ ปาท ต่อไปดังนี้ (เสกส่วนใดให้นำดินสอไปแตะที่ส่วนนั้น)
เสกเศียร สีสกาโรพุทธะลักขะณัง สีสะทุกขัง กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ มะ อะ อุฯ(๓จบ)
เสกองค์ องคะกาโรธัมมะลักขะณัง องคะนิจจัง อะกุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ มะ อะ อุฯ(๓จบ)
เสกปาท ปาทะกาโร สังฆะลักขะณัง ปาทะอะนัตตา นะอัพพะยากะตาธัมมา นะโมพุทธายะ มะ อะ อุฯ(๓จบ)

ลบองค์พระ เป็น ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ต่อไปดังนี้
ปะฐะมัง สีสะพุทธา โลโป จะฯ”ลบวงกลมวงแรก”พระทุกขัง กาโร โหติ สัมภะโวฯจงมาบังเกิดเป็นพระทุกขัง (เขียน ทุกขัง อักษรขอม)
ทุติยัง อังคะพุทธา โลโป จะฯ”ลบวงกลมวงที่สอง”พระอะนิจจัง กาโร โหติ สัมภะโวฯจงมาบังเกิดเป็นพระอะนิจจัง (เขียน อะนิจจัง อักษรขอม)
ตะติยัง ปาทะพุทธา โลดป จะฯ”ลบวงกลมที่สาม” พระอะนัตตา กาโร โหติ สัมภะโวฯจงมาบังเกิดเป็นพระอะนัตตา (เขียน อะนัตตา อักษรขอม)
สำเร็จเป็น ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
เสก ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ต่อไปดังนี้ (เสกอักษรใดให้เอาดินสอแตะที่อักษรนั้น)

เสกทุกขัง
ทุกขัง, ทุกขัปปัตตา จะนิททุกขา ภะยัปปัตตาจะนิพภะยา
โสกัปปัตตาจะนิสโสกา โหนตุ สัพเพปิปาณิโณฯ(๓จบ)
เสก อะนิจจัง
อะนิจจัง, อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปาทะวะยะธัมมิโน
อุปัชฌิตะวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโขฯ (๓จบ)

เสก อะนัตตา
อะนัตตา, สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยาฯ (๓จบ)

ลบ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาเป็นสูญสืบต่อไปดังนี้
ปะฐะมัง ทุกขัง โลโป จะฯ “ลบทุกขัง” สูญญะกาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นสูญ (เขียนรูปวงกลม วงแรก)
ทุติยัง อะนิจจัง โลโป จะฯ”ลบอะนิจจัง”มะหาสูญญะกาโร โหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นมะหาสูญ (เขียนรูปวงกลมที่สอง ซ้อนวงกลมวงแรก เป็นมะหาสูญ)
ตะติยัง อะนัตตา โลโป จะฯ”ลบอะนัตตา”มะหาสูญญัง นิพพานัง ปะระมังสูญญัง กาโรโหติ สัมภะโวฯ จงมาบังเกิดเป็นนิพพานสูญ (เขียนรูปวงกลม ซ้อนวงกลม ทั้งสองวง เป็นวงกลมที่สาม คือนิพพานสูญ)
สำเร็จเป็นนิพานสูญ

คาถาเสกสูญลบสูญพร้อมกัน ดังนี้
จิ เจ รุ นิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง นิพพานัง ตังนิพพุตติง นะ มะ พะ ทะ ปะฐะวีธาตุ ทีฆัง วา จะ ภะ กะ สะ วาโต เสนโต อัสสาโส นิพพานัง สูญญังฯ
จิ เจ รุ นิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง นิพพานัง ตังนิพพุตติง มะ พะ ทะ นะ อาโปวีธาตุ ทีฆัง วา ภะ กะ สะ จะ วาโต เสนโต ปัสสาโส หัททะยัง สิวังฯ
จิ เจ รุ นิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง นิพพานัง ตังนิพพุตติง พะ ทะ นะ มะ เตโชธาตุ ทีฆัง วา กะ สะ ภะ จะ วาโต เสนโต เอกะญานัง ปะรัง ญัตวาฯ
จิ เจ รุ นิ จิตตัง เจตะสิกัง รูปัง นิพพานัง ตังนิพพุตติง ทะ นะ มะ พะ วาโยธาตุ ทีฆัง วา สะ จะ ภะ กะ วาโต เสนโต พุทธาพันธะนายะกังฯ

จากหนังสือ แจกพระสมเด็จรัตนมาลา ๕พิมพ์ทรง พระสมเด็จอิธเจ ๕พิมพ์ทรง
พิธีพุทธาภิเษก พระสมเด็จห้าพิมพ์ทรง วันที่ ๓ ธันวามคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา๑๗.๐๐น.
โดยพระมหาโกเมส มณีโชติ
เจ้าคณะ คณะ๖ วัดราชนัดดาราม พระนคร

หมายเหตุ การเขียนผง(ทำผง)ที่คัดลอกจากหนังสือแจกพระสมเด็จนี้ผู้เขียนได้แก้ข้อไข ข้อความหลายข้อความโดยยึดคัมภีร์พระเวท ตะติยบรรพของท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นบรรทัดฐาน

ขอบคุณที่มาดีๆจาก พุทธาคม สายสุภาจาโร

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: