6289.ตำนานอาถรรพ์ดอยนางนอนจังหวัดเชียงราย

ดอยนางนอน เป็นที่ตั้งของพระธาตุดอยตุง อันเป็นปูชนียสถานสำคัญของภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นที่ประทับของสมเด็จย่า แม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย สำหรับเทือกเขาดอยนางนอนนี้ มี จุดสูงสุดคือ ผาช้างมูบ ซึ่งมีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 1,520 เมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปของดอยนางนอนเป็นภูเขาหินปูน ซึ่งมีถ้ำอยู่หลายแห่ง เช่น ถ้ำหลวงนางนอน ดังนั้นพื้นที่ทางตะวันตกจึงเป็นที่สูงและลาดลงไปทางตะวันออกเป็นพื้นที่การ เกษตร ไปจนจรดเขตอำเภอเชียงแสน ส่วนทางทิศใต้เป็นที่ราบติดกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่ฟ้าหลวง

ตำนานดอยนางนอน

ตำนานเรื่องแรก เรื่องตำนานดอยนางนอนนี้ เล่ากันว่า นานมาแล้ว ณ เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา มีเจ้าหญิงองค์หนึ่ง มีพระสิริโฉมงดงามเป็นอย่างยิ่ง ได้แอบรักกับชายเลี้ยงม้าในวัง อันเป็นการผิดกฏตามโบราณราชประเพณี จึงจำต้องหลบหนีตามกันมา จนกระทั่งถึงที่ราบแห่งหนึ่งใกล้แม่น้ำโขง ช่วงเวลาที่ทั้งคู่หลบหนีมาด้วยกันนั้น เจ้าหญิงก็ทรงพระครรภ์ได้หลายเดือนแล้ว จึงเสด็จต่อไปไม่ไหว นางจึงบอกพระสวามีว่าจะประทับรออยู่ที่นี่ ส่วนสวามีก็บอกนางว่าจะไปหาอาหารมาให้ อย่าไปไหนนะ ว่าแล้วชายหนุ่มก็เดินทางออกไปหาอาหารในป่านั้น แต่ทว่าชายหนุ่มนั้นจากไปนานแล้วไม่กลับมาเสียที พอเจ้าหญิงมาได้ทราบข่าวอีกที ปรากฏว่าชายหนุ่มผู้นั้นถูกฆ่าโดยทหารของพระราชบิดาของเจ้าหญิง ซึ่งได้สะกดรอยตามมาตลอดนั่นเอง ด้วยความเสียพระทัย นางจึงใช้ปิ่นปักผม แทงพระเศียรของพระองค์จนโลหิตไหลออกมาเป็นสายจนถึงแก่พระชนม์ชีพ และสายพระโลหิตที่ได้หลั่งไหล่ออกมานั้นได้กลายมาเป็นต้นแม่น้ำแม่สายในทุกวันนี้ ส่วนพระวรกายของพระองค์ที่นอนเหยียดยาวจาก ทิศใต้จรดทิศเหนือ ก็กลายเป็นดอยนางนอนจวบจนทุกวันนี้ และส่วนของพระอุทร(ท้อง)ก็เป็นดอยตุง

ส่วนอีกตำนาน เล่าว่า เจ้าหญิงเมืองพุกาม ออกตามหาเจ้าชายที่นางรัก นางออกรบ มีผู้คนล้มตายมากมาย และขยายอาณาเขตมาเรื่อยๆ จนมาถึงเวียงสี่ทวงจึงพบกับเจ้าชาย แต่ปรากฏว่าเจ้าชายหนีหายไปกับสาวสวยชาวเวียงนี้อีกครั้ง นางรู้สึกเศร้าสลดจนตรอมใจตาย

ก่อนตายได้ตั้งจิตอธิษฐานให้ร่างของนางกลายเป็นเทือกเขา ที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ดอยนางนอน” น้ำตาที่ไหลรินกลายเป็น “ขุนน้ำนางนอน” ส่วนไพร่พลของนางก็กลายมาเป็นชนเผ่าหลากชาติพันธุ์บนภูเขาแห่งนี้

ถ้ำนี้มีความกว้างใหญ่และลึกมาก ข้อมูลจากกองอุทยานว่า….มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร…..

โดยปกติถ้ำนี้ จะไม่ค่อยมีคนเข้าไปข้างใน เพราะดูลึกลับและน่ากลัวมาก ชาวบ้านแถวนี้รู้ดีถึงอาถรรพ์ และความลี้ลับที่อยู่ภายในถ้ำ จึงไม่มีใครย่างกรายเข้ามา แม้จะเป็นในเวลากลางวัน

ถ้ำนี้มีตำนานเล่าขานถึงความลี้ลับมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตำนานของ เจ้าแม่ดอยนางนอน หรือ ตำนานเจ้าปู่พญานาค ผู้ดูแลรักษาถ้ำแห่งนี้…
ารที่จะเข้าไปในถ้ำแห่งนี้ (ตามความเชื่อ) ต้องขออนุญาต จากผู้ที่ดูแลถ้ำ และเข้าไปชมด้วยความสงบ ห้ามส่งเสียงดัง และพูดจาในสิ่งที่ไม่ควร….

ถ้ำนี้จะแตกต่างจากทุกถ้ำที่ไปมา….เพราะทุกอณูของถ้ำ เหมือนมีชีวิต และเหมือนกำลังจับตามองผู้ที่เข้ามาทุกฝีก้าว….

ถ้ำนี้ไม่มีใครที่กล้าเข้ามาพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งๆที่อยู่ในเขตอุทยาน ขุนน้ำนางนอน ซึ่งต่างจากถ้ำที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง กลับได้รับการดูแลอย่างดี
สำหรับถ้ำหลวง อยู่ในท้องที่ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2529 มีพื้นที่ครอบคลุมหัวดอยนางนอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยนางนอน มีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องท่องอยู่ 2 แห่ง คือ

1.บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง มีเนื้อที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ต.โป่งผา อ.แม่สาย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน และ 2.บริเวณขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ 8 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย โดยวนอุทยานถ้ำหลวงมีอาณาเขตติดต่อ คือ ทิศเหนือ จดดอยจ้องและห้วยน้ำจอง, ทิศใต้ จดดอยผู้เฒ่าและลำห้วยน้ำค้าง, ทิศตะวันออก จดบริเวณพื้นที่ราบที่อยู่ข้างๆภูเขาทั้งหมด, ทิศตะวันตก จดภูเขลูกใหญ่ซึ่งทอดมาจากชายแดนเมียนมา

ส่วนลักษณะเด่นของพื้นที่และเอกลักษณ์นั้น ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้างมาก ภายในถ้ำจะพบกับความงามของ เกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด อีกทั้ง ถ้ำหลวงยังรอคอยการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอด เพราะสำรวจไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมา เนื่องจากพบอุปสรรคความยากลำบากภายในถ้ำ และยังมีถ้ำเล็กๆอีก 3 แห่งในบริเวณเดียวกัน

สำหรับประวัติศาสตร์ และโบราณคดี พบว่าปากถ้ำที่สูง โถงถ้ำแรกที่เปิดกว้างระดับพื้นดินต่ำกว่าปากถ้ำมาก เนื่องจากเป็นร่องทางน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ โดยมีร่องน้ำผ่านระหว่างโถงที่ 1 และทางขวามือของร่องน้ำจะเป็นโนนดินที่สูงขึ้น มีร่องรอยหลุมยุบ และเป็นโถงที่ 2 ต่อจากโถงที่ 1 มีร่องรอยหินถล่มด้านซ้ายมือ เมื่อสิ้นสุดบันไดจากบริเวณปากถ้ำ เป็นทางเดินดินสั้น ๆ ต่อจากนั้น เป็นขั้นบันไดที่เทด้วยปูนซิเมนต์ 5-6 ขั้น ยกระดับขึ้นทอดเข้าสู่ความยาวของตัวถ้ำ โดยที่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมภายในถ้ำ และบริเวณร่องน้ำโถงที่ 1 ดังนั้น จึงไม่พบหลักฐานทางโบราณคดี ภายในถ้ำ

ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ถ้ำหลวงจะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมพื้นที่ถ้ำ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะไหลเข้ามาท่วมภายในถ้ำ ซึ่งจะทำให้ไม่ปลอดภัย และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ พบว่านักท่องเที่ยวจะมาเที่ยวชมถ้ำส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

เส้นทางที่จะไปยังอำเภอแม่จันนั้น มีขุนเขาทอดตัวคล้ายผู้หญิงนอนเหยียดยาว จึงเรียกว่า ดอยนางนอน เดิมชื่อ ดอยตายสะหรือดอยสามเส้า ซึ่งสอดคล้องกันกับตำนานลาวจก เทวบุตรอย่างแนบแน่น ดอยส่วนที่ศีรษะเรียกว่า ดอยจ้อง หรือดอยจิกจ้อง (เดิมเรียกดอยนี้ว่า ดอยท่าหรือดอยต้า) เป็นดอยของลูกชายปู่เจ้าลาวจกที่รอคอยพ่อ ดอยลูกถัดมาเรียกว่า ดอยย่าเฒ่า ซึ่งเป็นภรรยาของปู่เจ้าลาวจก ส่วนดอยอีกลูกหนึ่งคือ ดอยดินแดง หรือดอยปู่เจ้าลาวจก หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ดอยตุง

เชื่อกันว่า ดอยทั้ง ๓ นี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของลาวจักราช ผู้เป็นต้นราชวงศ์ของพญามังราย ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายมาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง เหนือดอยดินแดงเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยตุง อันถือเป็นปฐมธาตุแห่งแรกของภาคเหนือ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://board.postjung.com/702248.html /

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: