6275. ประวัติความเป็นมาของมวยไท ตอนที่๒

ประวัติความเป็นมาของมวยไท ตอนที่๒

สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(พ.ศ. 2133 – พ.ศ. 2147)

พระองค์จะทรงคัดเลือกชายหนุ่มเข้ารับการอบรมการต่อสู้ด้วยพระองค์เอง หากผู้ใดมีความสามารถเชิงการต่อสู้ พระองค์ท่านจะทรงส่งเสริมชุบเลี้ยงให้มีความก้าวหน้า ทั้งนี้พระองค์ยังทรงคัดเลือกผู้มีความสามารถดีเยี่ยม เข้าอยู่ในสังกัด “กองเสือป่าแมวมอง” ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษที่พระองค์จัดตั้งขึ้น กองกำลังนี้มีบทบาทมากในการต่อสู้กอบกู้เอกราชการพม่าในปี พ.ศ. 2127

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ. 2147 – พ.ศ. 2233)

ยุคนี้บ้านเมืองค่อนข้างสงบสุขมีความเจริญมาก พระองค์ท่านสนับสนุนให้ประชาชนเสริมสร้างศักยภาพร่างกาย โดยเฉพาะกีฬามวยไทที่ได้รับความนิยมมากในยุคนี้ ด้วยมีค่ายมวยเกิดขึ้นในยุคนี้มากมาย การชกมวยในยุคนี้เป็นการต่อสู้บนลานดิน โดยใช้เชือกเส้นเดียวกั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส นักมวยจะใช้ด้ายดิบชุบแป้งหรือน้ำมันดินจนแข็งนำมาพันมือ เรียกว่า “คาดเชือก” หรือ “มวยคาดเชือก” เมื่อขึ้นชกนิยมใส่มงคลไว้ที่ศีรษะ และผูกผ้าประเจียดไว้ที่ต้นแขน โดยมากจะจัดให้มีการชกมวยในเทศกาลหรือวันสำคัญต่าง ๆ ทั้งยังมีการชกแข่งขันกันระหว่างหมู่บเนอีกด้วย

สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ
(พ.ศ. 2240 – พ.ศ. 2252)

พระเจ้าเสือเป็นกษัตริย์ที่ชอบกีฬามวยไทมาก ในสมัยยังดำรงตำแหน่งเป็น ขุนหลวงสรศักดิ์ คราวหนึ่งพระองค์แต่งกายเป็นสามัญชนพร้อมมหาดเล็ก 4 คน ไปเที่ยวงานที่ ตำบลหาดกรวด แล้วขอร่วมเข้าชกมวยในงานดังกล่าว โดยนายสนามทราบเพียงว่า พระองค์เป็นนักมวยจากกรุงศรี นามว่า “นายเดื่อ” จึงจัดให้ขึ้นชกกับนักมวยฝีมือดีเมืองวิเศษไชยชาญ ชื่อ นายกลาง หมัดตาย, นายใหญ่ หมัดเล็ก, นายเล็ก หมัดหนัก โดยพระองค์ทรงมีชัยเหนือนักมวยทั้งสาม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงฝึกฝนวิชามวยให้ เจ้าฟ้าเพชร กับ เจ้าฟ้าพร และพระราชโอรสของพระองค์ ให้มีความสามารถในด้านมวยไทและกระบี่กระบองด้วย

มวยไทในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
หลังการพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ยุคนี้ปรากฏนักมวยมีชื่ออยู่ 2 คนคือ

นายขนมต้น
ตามประวัติทราบเพียงว่าเป็นเชลยศึกชาวไท ที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 ต่อมาในปี พ.ศ. 2317 พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าทรงโปรดให้จัดงานพิธีสมโภชน์มหาเจดีย์ใหญ่เมืองย่างกุ้ง โดยรับสั่งให้หานักมวยไทฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ขึ้นชกที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317

การชกคราวนั้นเป็นการชกแบบต่อเนื่องไม่มีการหยุดพัก นักมวยพม่าผลัดเปลี่ยนกันขึ้นชกกับนายขนมต้ม ถึง 10 คน ในการนั้น นายขนมต้ม ได้แสดงฝีมือให้ชาวพม่าได้ประจักษ์ ด้วยการเอาชนะนักมวยพม่าฝีมือดีได้ทั้ง 10 คน นับเป็นการเผยแพร่มวยไทให้เป็นที่ประจักษ์ในต่างแดนเป็นครั้งแรก จึงมีการยกย่องให้นายขนมต้มผู้นี้เป็น “บิดาของมวยไท”

#พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี ฟันขาว / พ.ศ. 2284 – พ.ศ. 2325)
เดิมมีนามว่า จ้อย เป็นชาวเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความสามารถในเชิงมวยไท ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นทองดี โดยเริ่มศึกษามวยการสำนักครูเที่ยง แล้วใช้วิชามวยที่มีอยู่หาเลี้ยงตัวโดยขึ้นชกมวยมาจนอายุได้ 16 ปี ได้ฝึกวิชาดาบและวิชากายกรรม พร้อมทั้งวิชามวยจีน จากชาวจีนผู้มากับคณะงิ้ว และด้วยเชิงมวยที่ว่องไวเอาชนะคู้ต่อสู้มามากจนยากจะหาคู่เปรียบ

ต่อมาด้วยความสามารถนี้จึงเป็นที่พอใจของพระยาตาก จึงนำตัวเข้ารับราชการได้บรรดาศักดิ์เป็น “หลวงพิชัยอาสา” ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น “พระยาพิชัย” ครองเมืองพิชัยในปี พ.ศ. 2314 พม่าเข้าตีเมืองพิชัย ท่านพระยาพิชัยนำทหารต่อสู้สุดกำลังจนดาบหัก จึงเป็นที่มาของนามว่า “พระยาพิชัย ดาบหัก” มวยไทสายของพระยาพิชัยมีการสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เรียกว่า “มวยไทสายท่าเสา” สำหรับมวยสายท่าเสานี้ปัจจุบันที่ผู้สืบทอด และเป็นผู้เจนจบได้รับการนับถือในสายวิชานี้ คือ รศ. ดร.สมพร แสงชัย
#รอติดตามตอนต่อไป

เขียน / เรียบเรียง โดย : ฅนขลัง คลังวิชา
ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : Fight Vision
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ฅนขลัง คลังวิชา

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: