6249. วีรสตรีผู้กอบกู้เมืองโคราช “ย่าโม ท้าวสุรนารี” มักแก้บนด้วย “เพลงโคราช”

พุทธศักราช ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปถึงทุ่งสำฤทธิ์ ท่านผู้หญิงโมรวบรวมกำลังหญิงชายเข้าต่อสู้อย่างตะลุมบอน กองทหารเวียงจันทน์แตกพินาศเจ้าอนุวงศ์ถอยทัพกลับในที่สุด กองทัพไทยยกตามไปปราบ จับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ท่านผู้หญิงผู้กล้าหาญได้นามว่า เป็นวีรสตรี กอบกู้อิสรภาพนครราชสีมาเอาไว้ได้ ด้วยความสามารถมีคุณต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านผู้หญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมา(ทองคำ) ผู้เป็นสามีท้าวสุรนารี “เจ้าพระยามหิศราธิบดี” ปรากฏในพงศาวดารมาจนทุกวันนี้

ท้าวสุรนารีถึงอสัญกรรมเมื่อเดือน๕ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๓๙๕) อายุ ๘๑ ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสามีได้ฌาปนกิจศพและสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอย ซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างขึ้น ต่อมาเจดีย์นั้นได้ชำรุดลง พลตรีพระยาสิงหเสนี(สอาด สิงหเสนี) เมื่อเป็นพระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา องคมนตรีและรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ที่วัด กลาง(วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๗มิถุนายน ร.ศ.๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๔๒)

ต่อมากู่นั้นทรุดโทรมลงอีก ทั้งที่อยู่ในที่คับแคบไม่สง่างามสมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ(ดิส อินทโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร(ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๕ พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมาได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์รูป ท้าวสุรนารีด้วยทองแดง นำอัฐิท่านมาบรรจุไว้ในฐานรองรับสร้างเสร็จประดิษฐานไว้ ณ ประตูชุมพลนี้ เมื่อวันที่ ๑๕มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗

ครั้ง พ.ศ. ๒๕๑๐ ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมามีนายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานได้ร่วมใจกันสร้างฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิ ท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๐
จุดธูป ๑๖ ดอก หรือ ๓๖ ดอก
ตั้ง นะโม ๓ จบ

โอมพรัมมะ พรัมมะ นะโมมะ
นะโม ธัมโม ธัมโมนะ นะมะ
มะอาท้าวสุรนารี โมโมนะ
๓ จบ
ระลึกถึงท่านและขอให้ท่านเจริญบารมียิ่งๆขึ้นไปจะเป็นสิริมงคลกับชีวิต

ชาวโคราชมักจะมาบนบานศาลกล่าวขอสิ่งต่างๆจากย่าโม เช่นขอให้มีงานทำ ขอให้มีลูก เมื่อสมประสงค์แล้วก็จะแก้บน ด้วยสิ่งของ ที่กล่าวไว้ โดยเฉพาะการบนด้วยสิ่งที่ย่าโมโปรดปรานคือ เพลงโคราช ซึ่งเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ย่าโมโปรดปรานเพลงโคราช มากที่สุดเพลงโคราชถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณของผู้เล่น เพลงโคราช มีท่วงทำนองการขับร้อง สัมผัสเป็นภาษาพื้นบ้าน (ไทยโคราช) และลีลาท่ารำประกอบทั้งรำช้าและรำเร็ว ที่สำคัญคือ เพลงโคราช ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบในการเล่น เนื้อหาของเพลงโคราชขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเล่น และบางครั้งก็แล้วแต่เจ้าภาพที่หา เพลงโคราช ไปเล่นเป็นผู้กำหนดว่าจะให้เล่นเรื่องอะไร ถือว่าเพลงโคราชเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ที่สะท้อนให้ เห็นถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของผู้คนให้อนุชนรุ่นหลังได้อนุรักษ์และสืบสานกันต่อไป เวลาประชาชนมาบนบานศาลกล่าวจึงมักบน ด้วยเพลงโคราช จากฝีปากพ่อเพลงแม่เพลงโคราช บริเวณศาลาไม้หลังย่อมใกล้ ๆ อนุสาวรีย์

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

niecc.cddkorat.com

forum.uamulet.com

http://www.creditonhand.com

http://www.paiduaykan.com

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: