6248.ตำนาน “ลานประหาร วัดโคกพระยา” สถานที่สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์

ในพงศาวดารหลายฉบับ กล่าวว่ากษัตริย์ที่ถูกปราบดาภิเษกเกือบทุกพระองค์จะโดนสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา เริ่มตั้งแต่การปราบดาภิเษกของพระราเมศวร ซึ่งสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน เป็นเหตุการณ์แย่งชิงบัลลังค์ของสองราชวงศ์ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณภูมิในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น (การแย่งชิงครั้งแรกของขุนหลวงพ่องั่วแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ แต่พระราเมศวรที่ถูกแย่งบัลลังค์ไม่ถูกสำเร็จโทษแต่โดนเนรเทศแทนและกลับมาชิงบัลลังค์ในภายหลังสมัยพระเจ้าทองลันโอรสของขุนหลวงพ่องั่วนั่นเอง) ซึ่งหลังจากสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน ก็ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกครั้งที่มีการปราบดาภิเษกจะมีการสำเร็จโทษกษัตริย์กันที่วัดโคกพระยาแห่งนี้

วัดโคกพระยา เป็นวัดโบราณวัดหนึ่งที่มีหลักฐานกล่าวถึงในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่สมัยเริ่มสถาปนาพระนครศรีอยุธยาเพราะเป็นสถานที่ใช้ในการสำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวรเป็นต้นมา

บัญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุงซึ่งสำรวจเมื่อครั้ง ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุชื่อวัดโคกพระยาอยู่ในตำบลบ้านลุมภาลี มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๙๔ ตารางวา เป็นวัดที่อยู่ในกลุ่มตำบลเดียวกัน ๙ วัด คือ ๑.วัดสนามกราย ๒.วัดพระยาร่อง ๓.วัดสี่เหลี่ยม ๔.วัดโคกพระยา ๕.วัดโคก ๖.วัดรั้งพระยาแมน ๗. วดดอนกระต่าย ๘.วัดตูมน้อย ๙.วัดจงกลม

ต่อมาในแผนที่กรุงศรีอยุธยา ฉบับพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล เสร็จราชการมณฑลอยุธยา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดี ตรวจสอบเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ห่างกัน ๒๒ ปี ปรากฏว่า ชื่อวัดในกลุ่มนี้ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงหรือหายไปรวมทั้งชื่อวัดโคกพระยา

เมื่อราว พ.ศ.๒๕๑๑ ดร. สุเมธ ชุมสายได้ตรวจสอบและชำระแผนที่โดยอาศัยเค้าโครงของแผนที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เพื่อประกอบแผนการพัฒนาเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา วัดต่างๆ ที่หายไปหลายวัดในช่วง พ.ศ.๒๔๔๗ ได้กลับมามีชื่อปรากฏในแผนที่อีกครั้ง เช่น วัดโคกพระยา วัดสี่เหลี่ยม วัดพระยาแมน และวัดจงกลม นอกจากนั้น ในกลุ่มของทุ่งภูเขาทองซึ่งแต่เดิมไม่มีวัดโคกพระยา ได้ปรากฏชื่อวัด “โคกพระยา” ขึ้นมาอีกวัดหนื่ง ณ ตำแหน่งที่เคยเป็นวัดร้างใกล้กับภูเขาทอง ตามแผนที่ของกรมแผนที่ทหารบก สำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโคกพระยาหลายตอน ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาว่า วัดโคกพระยา ที่แท้จริงนั้นควรจะอยู่ ณ ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา

ครั้งที่ ๑ ในแผ่นดินสมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒) ในพงศาวดารระบุว่า “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแด่เมืองลพบุรีเข้าในพระราชวัง กุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา”

ครั้งที่ ๒ ในแผ่นดินขุนวรวงศาธิราช พ.ศ.๒๐๗๒ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดินคิดกับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา

ครั้งที่ ๓ กล่าวถึง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญ ออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทองเสด็จยืนพระคชาธารประมวลพลบเลคชพยุห โดยกระบวนตั้งอยู่ ณ โคกพระยา

ครั้งที่ ๔ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระศรีเสาวภาค พ.ศ.๒๑๔๕ พระศรีศิลป์บวชอยู่วัดระฆัง ไดัสมณฐานันดรเป็นพระพิมลธรรม สึกออกเข้าพระราชวังได้คุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันธนาการไว้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุล ๑๐๐ ให้ธูปเทียนสมาธิแล้วก็ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระศพไปฝัง ณ วัดโคกพระยา แล้วเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรม

ครั้งที่ ๕ บรรดาเหล่าเสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นประธาน อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราช พระราชโอรส องค์ปฐมของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขื้นราชาภิเษก พระพันปีศรีศิลป์ผู้เปนพระอนุชาลอบหนีไปซ่องสุมผู้คนที่เมืองเพชรบุรี จะยกเข้ามา สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตรัสทราบเหตุให้แต่งกองทัพออกไปจับกุมพระพันปีศรีศิลป์ได้ เอาตัวมาประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา

ครั้งที่ ๖ เจ้าฟ้าชัยได้ครองราชสมบัดิ ครั้นอยู่มาสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า คบคิดด้วยพระศรีสุธรรมราชา ซ่องสุมผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาในพระราชวัง กุมเอาเจ้าฟ้าชัยไปสำเร็จโทษเสีย ณ โคกพระยา

ครั้งที่ ๗ เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเข้าไปในพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระราชมณเฑียรพระวิหารสมเด็จในวันเดียวกันนัน เสนาบดีก็ไปตามสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ ณ วังหลัง ก็ให้ไปสำเร็จโทษ ณ โคกพระยาตามประเพณี

ครั้งที่ ๘ คักราช ๑๐๖๔ ปีวอก จัตวาศก (พ.ศ.๒๒๔๕) สมเด็จพระเจ้าเสือให้ชาวที่เชิญเจ้าพระขวัญเข้ามาถึงดำหนักหนองหวาย แล้วก็ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ เสร็จแล้วก็ให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขันให้ข้าหลวงเอาออกไปฝังเสีย ณ วัดโคกพระยา

เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารมีตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราเมศวรเรื่อยลงมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือเพียง ๘ ครั้ง ๗ ครั้ง เป็นเรื่องการสำเร็จโทษ อีก ๑ ครั้งเป็นเรื่องการดั้งทัพ แต่จากการสำรวจทำแผนที่วัดร้างในพระนครศรีอยุธยาในสมัยหลังตอมา เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตังกล่าวนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ได้ปรากฏชื่อวัดโคกพระยาขึ้นถึง ๒ แห่ง จึงได้สร้างความสับสนขึ้นเเก่ นักประวัติศาสตร์และนัดโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งว่าวัดใดคือวันโคกพระยาที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่แท้จริง เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองมาเป็นเครื่องประกอบในการพิจารณา เช่น เหตุผลที่ว่าวัดโคกพระยาที่ตามแผนที่กำหนดว่าอยู่เหนือวัดหัสดาวาสและวัดหน้าพระเมรุนั้น เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองไม่มากนัก

หากจะมีการนำพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์ไปสำเร็จโทษ ณ ที่นั้น ก็จะเป็นที่ปลอดภัยจากการแย่งชิงตัวนักโทษ แต่ถ้านำไปประหารที่โคกพระยาซื่งอยู่ถึงกลางทุ่งภูเขาทองห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะเสี่ยงกับการเเย่งชิงดัวนักโทษ จึงน่าจะไม่สมเหตุสมผลที่กล่าวว่าวัดโคกพระยาอยู่ที่ทุ่งภูเขาทอง ส่วนอีกเหดุผลหนึ่งก็อ้างถึงเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกกองทัพออกมาจากพระนครศรีอยธยา มาตั้งทัพรอฤกษ์อยู่ที่วัดโคกพระยา ถ้าวัดโคกพระยา ดั้งอยู่เหนือวัดหัสดาวาส ก็น่าจะไม่สมเหตุสมผลเพราะขบวนกองทัพจำนวนมากจะมาตั้งทัพกระจุกกันอยู่ ณ ที่ๆ ไม่ห่างไกลเมืองไปได้อย่างไร โคกพระยาที่กล่าวถึงในเหดุการณ์นี้จึงควรจะมีตำแหน่งอยู่ ณ กลางทุ่งภูเขาทองจึงจะเหมาะสมแก่เหตุผลที่จะรบกันได้ เป็นต้น

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงวัดโคกพระยาไว้หลายช่วง โดยส่วนมากจะกล่าวถึงในฐานะที่ใช้เป็นสถานที่ที่ใช้ในการสำเร็จโทษพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น

– สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– พระรัษฎาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– พระยอดฟ้า พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– พระศรีเสาวภาคย์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– พระพันปีศรีศิลป์ พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ถูกสำเร็จโทษโดยออกญากลาโหมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าปราสาททอง
– สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๖ แห่งกรุงศรีอยุธยา
– เจ้าพระขวัญ พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชาที่ประสูติแต่กรมหลวงโยธาทิพ
– เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
– พระองค์เจ้าชื่นและพระองค์เจ้าเกิด พระราชบุตรในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์
– กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี (เจ้าสามกรม) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.qrcode.finearts.go.th (อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร)

https://th.wikipedia.org/wiki/วัดโคกพระยา

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: