6234. ซากดึกดำบรรพ์ยุคน้ำแข็ง!! ช้างแมมมอธที่ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งนานกว่า 42,000 ปี

ช้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (อังกฤษ: Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็ง จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด โดยคำว่า “แมมมอธ” นั้นมาจากคำว่า “Mammal” หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน

เมื่อวานนี้ (15 พฤศจิกายน 2560) ผู้ใช้เฟสบุ๊ค ตันหยง เพชรน้ำหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพซากช้างแมมมอธ อายุกว่า 42,000 ปี และมีสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบเมื่อปี 2007 ความว่าซากช้างแมมมอธที่ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งนานกว่า 42,000 ปีและยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดในโลก

ซากลูกช้างแมมมอธเพศเมีย “ลิวบา” (Lyuba) ถูกค้นพบเมื่อปี 2007 โดยคนเลี้ยงกวางเรนเดียร์ บริเวณคาบสมุทรยามาลของรัสเซีย ซึ่งอวัยวะต่างๆ ของมันยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์แม้กระทั่งขนตา มีเพียงเล็บเท้า, บางส่วนของหาง, หูขวา และขนเท่านั้นที่หายไป และยังพบร่องรอยน้ำนมแม่ช้างยังปรากฏอยู่ในกระเพาะอาหารของลิวบา

ลิวบา นั้นมีความหมายว่า “รัก” ในภาษารัสเซีย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ช้างน้อยตัวนี้มีอายุเพียงไม่กี่เดือน และอาจตายเพราะถูกโคลนถล่มทับ ทำให้สภาพร่างกายของมันไม่เน่าเปื่อย

สำหรับแมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย

แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : Facebook ตันหยง เพชรน้ำหนึ่ง จากกลุ่ม #โบราณสถาน โบราณคดี วิถีวัฒนธรรม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: