6226. เปิดประวัติ “นางนพมาศ” หรือ “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” สนมเอกของพระร่วงเจ้า

ประเพณีลอยกระทง ในปี ๒๕๖๐ ตรงกับวันทีี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ซึ่งในวันลอยกระทงนั้น ที่ขาดไม่ได้เลยคือกระทงและหากกล่าวถึงกระทงสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ “นางนพมาศ” สำหรับในงานลอยกระทงนั้นบาท้องถิ่นจะมีการประกวดนางนพมาศ สตรีผู้งดงาม สำหรับเทศกาลลอยกระทงนี้ หลายคนยังไม่เคยรู้ว่า “นางนพมาศ” ที่เรารู้จักกันนั้น มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

นางนพมาศ หรือ เรวดีนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีที่ปรากฏอยู่ใน “เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ที่อ้างอิงว่าถูกรจนาขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีเนื้อความว่านางนพมาศบอกเล่าถึงความเป็นไปภายในรัฐสุโขทัยว่ามีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูนสุขนานัปการ ในรัฐมีคนต่างชาติต่างภาษาและศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน และเรื่องที่เด่นที่สุดคือการที่นางประดิษฐ์กระทงขึ้นมา จนนางนพมาศได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีลอยกระทง กล่าวกันว่านางนพมาศมีรูปโฉมงดงาม ในยุคหลังเมื่อคราเทศกาลลอยกระทงก็มีการประกวดนางนพมาศสืบมา อย่างไรก็ตามได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีตัวตนจริงของนางนพมาศ มีนักประวัติศาสตร์หลายท่าน อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสุจิตต์ วงษ์เทศ เห็นว่าเรื่องนางนพมาศนั้นเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้นเอง

นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เกิดในรัชกาลของพระยาเลอไทย กษัตริย์องค์ที่๔ แห่งราชวงศ์พระร่วงเจ้า บิดาของนางเป็นพราหมณ์ ชื่อ ชตรัตน์ มีราชทินนามว่า พระมโหสถ รับราชการอยู่ในตำแหน่งปุโรหิต มารดาของนางชื่อ นางเรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการ ในพระราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า จนในที่สุดได้รับตำแหน่งท้าวจุฬาลักษณ์สนมเอก เนื่องด้วยคิดค้นประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวในพระราชพิธีจองเปรียงเป็นที่ถูกพระราชหทัยพระร่วงเจ้า นางเป็นสตรีที่มีรูปโฉมโนมพรรณงดงามมีความรอบรู้ เชิงฉลาด ปฎิภาณเฉียบแหลม กิริยามารยาทเรียบร้อย ทั้งสามารถขับกล่อมคำกลอนถวายและบำเรอพระร่วงเจ้าได้ทันทีทันใด ที่ทรงรับสั่งโดยพักต้องเตรียมเนื้อเตรียมตัวล่วงหน้า จึงเป็นที่ชื่นชอบสนิทเสน่หาแก่พระร่วงเจ้าและเหล่าข้าราชการบริพารที่โดยเสด็จยิ่งนัก

อนึ่ง นางนั้นเล่าเป็นผู้มีฝีไม้ลายมือ ในทางต้นติดดัดแปลงการลอยกระทงหรือพิธีจองเปรียง โดยทำเป็นรูปดอกบัวโคมลอยน้ำ จึงเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ายิ่งนัก และได้ถือเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอย่างของนางนพมาศสืบต่อมา นอกจากนั้นนางเองยังเป็นนักกวีหญิงคนแรกสมัยสุโขทัยอีกด้วย เพราะนางเป็นผู้แต่ง คำสอนของนางนพมาศ ขึ้น จึงควรสรรเสริญยกย่องนางนพมาศเป็น เบญจกัลยาณี กุลสตรี ศรีเมืองสุโขทัย

โดยพิธีจองเปรียง “วันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม” ผู้คนพากันแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทั่วพระนคร ทำโคมตกแต่งลวดลาย มาชักมาแขวนเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาระหงหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพด้วย นางนพมาศทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) จุดประทีปเปรียง (คือ ใส่น้ำมันไขข้อโค) มีจุดดอกไม้ไฟ จุดพะเนียงพลุสว่างไสวไปหมด ในหนังสือเล่าต่อว่า “อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่าทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป”

สำหรับใน พิธีจองเปรียงนี้ ได้กล่าวถึงโคมลอยโคมชัก โคมปักโคมห้อย (เช่นเดียวกับพระราชพิธีจองเปรียง ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน) เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสักการะพระมหาเกตุธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิงตามพระอารามหลวงริม ฝั่งแม่น้ำทั่วพระนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/นางนพมาศฃ

https://th.wikipedia.org/wiki/เรื่องนางนพมาศ_หรือ_ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

http://www.มหัศจรรย์เมืองสยาม.com

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: