2736.หลวงปู่ต่วน วัดลาย ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์

หลวงปู่ต่วน วัดลาย ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์

หลวงปู่ต่วน วัดลาย ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัยครับ

๑. ความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์
ในปี ๒๔๘๒ มีนกเหยี่วขาวตัวหนึ่งไปโฉบเอาลูกไก่ชาวบ้าน ไปเกาะอยู่บนต้นยางภายในวัด ชาวบ้านตามล่าเพื่อจะฆ่าเหยี่ยวตัวนั้นเสีย หลวงปู่ต่วนทราบเรื่อง จึงบอกชาวบ้านมิให้ฆ่าเหยี่ยวตัวนั้น โดยท่านบอกว่านกมันไม่ไปไหนหรอก แล้วหันหน้าไปทางเหยี่ยวตัวนั้น แล้วพูดว่า เออ มึงอยู่นี่แหละ! เท่านั้น นกเหยี่ยวตัวนั้นเกาะอยู่บนต้นยาง ตลอด ๓ วัน ไม่ได้ไปไหนเลย ต่อมาหลวงปู่สงสาร และกลัวจะเป็นบาป ท่านจึงบอกให้มันไป แล้วเหยี่ยวตัวนั้นก็บินไปจากต้นยาง

ความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ตอน ๒
ในปี ๒๔๘๕ หลวงปู่ต่วนได้สร้างพระพุทธรูป (พระพุทธสีมาชัยสิทธิ) เป็นพระประทานในอุโบสถ โดยจ้างช่างหล่อจากรุงเทพ เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ได้ส่งพระพุทธรูปมาทางเรือ มาทางลำน้ำยม ซึ่งสมัยนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวกเช่นสมัยนี้ ท่านจึงขอให้ชาวบ้านจอมสังข์ ผู้มีความชำนาญทางน้ำและทางเรือ ได้ช่วยเป็นธุระในการขนส่งพระประธานมาทางเรือ ในการช่วยขนส่งนี้ ก็มีชาวบ้านชื่อ นายแพ เสื้อผ้าที่นายแพ ส่วมใส่ก็เปียกน้ำ จึงนำกางเกงแพมาผลัดเปลี่ยน ให้เป็นการชั่วคราวก่อน พอดีที่ สิบตำรวจโทนายหนึ่ง(น้องเขย) ประจำสถานีตำรวจภูทร กิ่งอำเภอคีรีมาศ พบเข้าจึงเข้าจับกุม ข้อหาทำผิดวัฒนธรรม ขัดขืนคำสั่งรัฐบาล ซึ่งสมัยนั้น จอมพล ป เป็นนายก ประกาศ ห้ามกินหมาก ห้ามนุ่งโจงกระเบน ห้ามนุ่งกางเกงแพ

ก็เลยถูกปรับเป็นเงิน ๔ บาท มีผู้ทราบเรื่อง เอาเรื่องไปบอกหลวงปู่ต่วนเข้า หลวงปู่ได้ฟัง ท่านก็พูดว่า อ้ายนี่มันบ้า! หลังจากนั้นให้ ๓ วัน สิบตำรวจโท นายหนึ่ง ก็มีอาการผิดปกติ ไปเยี่ยวไปไหว้ต้นโพธิ์ ที่อยู่วัดดุสิตดาราม พี่สาว ผู้เป็นเมียนายแพ ทราบเรื่องเข้า จึงขอร้องให้นายแพ นำสิบตำรวจโทสำรวย ไปหาหลวงปู่ต่วน เพื่อขอให้หลวงปู่รดน้ำมนต์ ครั้นหลวงปู่รดให้ ๒ ครั้ง ท่านก็พูดว่า มันเป็นของมันเอง แต่พอรดน้ำมนต์ ครั้งที่ ๓ ก็เลยหายจากอาการเป็นบ้า และถูกย้ายไปที่อื่น ในที่สุดก็ออกจากราชการ หาความเจริญมิได้เลย อนึ่งว่า..เพราะความเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ของท่านนี้ ถ้าใครไปทำชั่วภายในวัด คนนั้นก็จะหาความเจริญมิได้เลย หลวงปู่ต่วนเคยพูดกับ พระครูวิบูณบูรณกิจ ว่า..ถ้าใครเป็นศัตรูกับวัด จะมีความจัญไรไปจนตาย

หลังจากวัดป่าเลไลย์ได้ร้างว่างเปล่าไป สักระยะหนึ่ง ก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา เหลือสภาพเป็นเพียงพื้นที่ รกร้างว่างป่าว ประมาณ ๔๐๐ กว่าปี เหลือแต่เพียงฐานอุโบสถ และฐานเจดีย์ เก่าที่พอเห็นเป็น โบราณวัตถุ

ผู้แต่ง :: สันนิษฐาน คาดว่ามีกลุ่มชาวบ้านมาตั้งรกราก อีกครั้ง เป็นหมู่บ้านทุ่งหลวง เมื่อประมาณปี ๒๓๐๐ กว่า อ้างอิงคาดการณ์ตามหลักฐานการตั้งวัดดุสิตดาราม (วัดกลาง) เมื่อปี ๒๓๖๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งที่ มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้รวมกำลัง กับชาวบ้านกลับมาริเริ่มสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง พระภิกษุรูปนั้น ก็คือ พระต่วน ธมฺมปญฺโญ (อยู่นา)

#ประวัติ
พระต่วน ธมฺมปญโญ ก่อน บรรพชา อุปสมบทชื่อเดิมว่า นายต่วน อยู่นา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๒๑ (ตรงกับวัน วันที่๕ ขึ้้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล ตามปฏิทินไทย) เป็นบุตรคนโตของ นายทองอยู่ กับ นางสายทอง อยู่นา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 ตน แบ่งเป็น ชาย 6 คน และ หญิง 2 คน

#อุปนิสัยในวัยเด็ก
เมื่ออยู่ในเยาว์วัย ท่านเป็นคนที่ชอบ ใฝ่หาความรู้ ศึกษาจากผู้ใหญ่ จนสามารถเขียนภาษาไทยและอักษรขอมได้อย่างสวยงามมาก มีจิตใจมั่นคง อารมณ์เยือกเย็นจึงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาเพื่อนชายและหญิงทั้งหลาย ขยันต่อการทำมาหากิน พ่อแม่ก็รักใคร่ และ มีจิตน้อมนำไปในทางบรรพชา อุปสมบท

ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดวาลุการาม(วัดโตนด) ตำบลโตนด กิ่งอำเภอคีรีมาศ (ปัจจุบันอำเภอคีรีมาศ) จังหวัดสุโขทัย โดยมีพระอุปัชฌาย์เผือก วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์นวล วัดดุสิตดาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์โต๊ะ วัดบึง เป็นพระอนุสาสนาจารย์

จบตอนที่ ๓ และนี่คือจุด เริ่มต้น ของ พระอุปัชฌาย์ต่วน หรือ หลวงปู่ต่วน เจ้าอาวาสวัดลาย รูปที่ ๑ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชุมชนทุ่งหลวง ในปัจจุบันนี้

หมายเหตุ : การบรรพชาอุปสมบทในสมัยก่อนเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะต้องมีพระสังฆาเถระ ผู้ทรงภูมิ ด้วย ปัญญา และภาวนากิจ จึงสามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ และในสมัยนั้น พระอุปัชฌาย์ได้อยู่ที่ วัดวาลุการาม (วัดโตนด)

จากหนังสือชีวะประวัติหลวงปู่ต่วนวัดลาย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : วัดลาย ทุ่งหลวง คีรีมาศ สุโขทัย

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: