2622.ลูกสะกดนวหรคุณ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

ลูกสะกดนวหรคุณ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

ในวงการพระเครื่องน้อยคนนักที่จะไม่เคยรู้จัก หรือได้ยินชื่อหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้าา จ.สุพรรณบุรี เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ฯลฯ และยังเป็นอาจารย์ของพระเกจิชื่อดังอีกหลายองค์ เช่น หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ฯลฯ


ลูกสะกดนวหรคุณ-หลวงพ่อเนียม-วัดน้อย

ท่านเป็นพระสงฆ์ ๓ แผ่นดิน เกิด พ.ศ. ๒๓๗๐ (รัชกาลที่ ๓) และมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (รัชกาลที่ ๕) เชื่อกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์ที่เรียนวิชาอาคมจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เพราะเมื่อท่านบวชแล้วได้เข้ามาศึกษาต่อที่เมืองหลวง ในช่วงที่สมเด็จฯ โต ยังไม่ละสังขาร และครองวัดระฆังจนถึงปี ๒๔๑๕ อันเป็นปีที่ท่านมรณภาพ

ลูกสะกด หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี นับเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง ที่มีการสร้างกันมาแต่โบราณ และเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก มีอานุภาพเชื่อกันว่าสะกดทัพได้ทีเดียว ถ้าใช้ไปในทางบู๊ สะกดให้หลับใหลไม่ได้สติ แต่ถ้าใช้ในทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม ก็จะทำให้ผู้คนหลงใหลได้ปลื้ม เป็นที่ชื่นชอบรักใคร่ของคนทั่วไป หรือแล้วแต่ประสงค์จะให้บังเกิดผล เช่น สะกดสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล สะกดเคราะห์กรรมต่างๆ ที่มาเบียน, สะกดโรคร้าย โรคระบาดให้หมดไป สะกดวิญญาณ ขับไล่ภูติผีปีศาจ ฯลฯ


หลวงพ่อเนียม-วัดน้อย

ลูกสะกดมีขนาดที่ใกล้เคียงกับลูกอม ส่วนมากทำลักษณะคล้ายกับลูกรักบี้ แต่ตัดหัวท้ายออก มีรูสำหรับร้อย บางท่านเรียงเป็นประคำลูกสะกด หรือนำมาร้อยเป็นพวง ๙ ลูก เรียกว่า ลูกสะกดนวหรคุณ แต่ที่นิยมมากๆ ต้องเป็นลูกสะกดโทน คนสมัยก่อนนิยมอมไว้ในปากเวลา คราวคับขัน

ลูกสะกดของหลวงพ่อเนียม สร้างด้วยเนื้อตะกั่วผสมปรอท เนื้อเดียวกับพระเครื่องของท่านที่มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์เศียรโล้น พิมพ์เศียรแหลม พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์พระประธานเล็ก-ใหญ่ พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ เป็นที่โดงดังทั้วสารทิศ เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกวงการพระเครื่อง ว่ามีคุณวิเศษมากมายในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม


ลูกสะกดนวหรคุณ-หลวงพ่อเนียม-วัดน้อย

โดยการสร้างพระในสมัยก่อน การทำปรอทให้แข็งไม่ใช่ของง่ายนัก ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคม ทั้งต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุก หลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกัน เพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด

การโขลกจะต้องโขลก และกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จ แล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วนๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถัน และจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน

โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืน จึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง ๗ วัน บางครั้งอุณหภูมิสูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟ เทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการ

สำหรับลูกสะกดนั้น เมื่อท่านเทแผ่นตะกั่วผสมปรอทเป็นแผ่นแล้ว ท่านจะลงด้วยพระคาถาหัวใจนวหรคุณ คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ และพระยันต์ต่างๆ ๑๐๘ แล้วเสกกำกับ จากนั้นจึงนำไปสุมไฟ แล้วเทรีดเป็นแผ่นอีก ทำอย่างนี้ติดต่อกัน ๗ ครั้ง หรือ ๗ ราตรี จึงจะนำมาเทลงในแม่พิมพ์ เมื่อแข็งตัวดีแล้วก็จะลงเหล็กจารกำกับอีกทีหนึ่ง

คาถาอาราธนาลูกสะกด
อิติพันธะเกษามะอะอุ พันธะโลมาจะภะกะสะพันธะนักขามะนะนพะทะ พันธะทันตากระมะถะ พันธะตะ โจอิสวาสุ พันธะนังสังจิปีเสดิ พันธนะหะรูหะรูสุวิสังอะ พันธะอัฐิทุสะมะนิ พันธะอัตถิมินชังนะสังสิโม พันธะวักกังปะวะอะปะ ทิมะสังอังขุ นะมะอะอุ นะมามิหัง สิทธิเตชัง สิทธิวาจัง กายะพันธะนัง องคะพันนธะนัง สารพัดสิทธิ ภะวันตุเมฯ


ลูกสะกดนวหรคุณ-หลวงพ่อเนียม-วัดน้อย

คาถานี้ให้ตั้งนะโมฯ 3 จบก่อน แล้วยกลูกสะกดขึ้นจดเหนือหน้าผาก จึงค่อยภาวนาพระคาถาให้จบบท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอดแล้วผ่อนออก และเมื่อเวลาจะคาดเข้าเอวให้ภาวะนาพระคาถานี้จนกว่าจะผูกเงื่อนเสร็จให้ภาวนาดังนี้ “อิมังกะยะพันธะนังอธิษฐานมินะมะพะทะ”

ลูกสะกดนวหรคุณที่นำมาประกอบเรื่องนี้ เป็นของเก่าเก็บ ผ่านการใช้งานมาไม่มากนัก จะเห็นความเก่าได้จากเชือกถัก และเนื้อลูกสะกดที่ขึ้นสนิมแดงปกคลุม และมีไขขาวผุดขึ้นจากเนื้ออย่างเป็นธรรมชาติ มีด้วยกัน ๙ ลูก

cr. เฮงเจริญรุ่งเรืองพระเครื่อง

แอพเกจิ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: