2568.ยันต์ธนูมือ สำนักวัดสาลีโข

ยันต์ธนูมือสำนักวัดสาลีโข สักแล้วต้อง หมั่นปลุก หมั่นท่อง

ในอดีตการสักยันต์ธนูมือ ของทางสำนักวัดสาลีโขภิตาราม มีไว้เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่า เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน ให้สานุศิษย์ที่รับการสักยันต์ไว้ที่กระหม่อมซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ได้รู้ว่าเป็นพี่เป็นน้องเป็นศิษย์ครูเดียวกัน

ยันต์ธนูมือของทางสำนักวัดสาลีโขมีความแตกต่างจากสำนักอื่นอย่างชัดเจน ทั้งรูปแบบอักขระยันต์และอักขระยันต์ที่ลงล้อมไว้รวมถึงบทหัวใจพระคาถา ที่ใช้เรียกปลุกอักขระยันต์ กาลก่อนครั้งอดีตการสักยันต์ถูกมองเป็นเรื่องของพวกนักเลงหัวไม้ และยิ่งเป็นการสักที่มีความเด่นชัดออกมานอกร่มผ้า จะถูกมองว่าไม่สุภาพ ไม่น่าคบหาแต่ปัจจุบันแนวความคิดต่างๆ แบบนี้ยังคงมีอยู่แต่น้อยลงมาก ด้วยสังคมที่เปิดกว้างทางความคิด

ต่อมาภายหลังศิษย์หลวงพ่อสมภพ เตชะปุญโญ(หลวงพ่อสาลีโข) มีจำนวนมากขึ้นหลากหลายอาชีพทั้งตำรวจ ทหาร พ่อค้า ซึ่งไม่นิยมสักออกมานอกร่มผ้า จึงเป็นชนวนเหตุให้สานุศิษย์ของความเมตตาจาก(หลวงพ่อสาลีโข)จัดสร้างแหวนตราลัญกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาได้จัดสร้างแหวนนารายณ์ตรึงไตรภพ(ขอกล่าวถึงในภายหลัง) อักขระหัวใจสี่เกลอ “กะ ระ มะ ทะ กิ ริ มิ ทิ กุ รุ มุ ทุ เก เร เม เท” ที่ลงกำกับในยันต์ธนูมือจะตรงกับทางสำนักอื่นอยู่บ้างต่างกัน ก็แต่เรื่องของการนำไปลงไปใช้ตามความชำนาญของครูอาจารย์


หลวงพ่อสมภพ-เตชปุญโญ

อย่างเช่นของทางสายวัดบางพระ หัวใจสี่เกลอนี้จะถูกใช้อยู่ในยันต์ชุด ดำดื้อ แดงเกนะมหาวิเศษ นะปิด นะป้อง นะปืนแตก นะมหาอุต ที่ถูกสักซ้อนแทรกลงไว้ในรูปแบบของยันต์ธนูมือมีคุณมหาวิเศษมาก ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปทางอยู่คงมหาอุด มีคุณ ๑๐๘ ประการ(จะขอนำไปเขียนกล่าวถึง นะ ๑๐๘ ภายหลัง)

ปฎิรูปัง คำภาวนา เมื่อเข้ารณรงค์ ผู้ที่ได้รับการสักไปนั้นต้องหมั่นเรียก หมั่นเล่น หมั่นปลุก หมั่นท่องคาถาที่ได้รับการประสิทธิ์ไปให้ขึ้นใจ ทุกเวลาเช้าต้องนำน้ำมนต์มาลูบภาวนาเรียกคาถาอักขระที่ยันต์ธนูมือ ที่ได้รับการประสิทธิไว้ ข้อห้ามสำหรับผู้ที่ได้รับการสักยันต์ธนูมือไปแล้วนั้น ครูท่านสั่งห้ามใช้มือที่ได้รับการสักไปข้างนั้นตีลูกตีเมียเด็ดขาด(แต่สามารถถือไม้เรียวตีได้)

ขอบคุณเจ้าของบทความ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: