2561.ผีลองดี หลวงปู่ดู่ วัดสะแก

ผีลองดี

ครั้งหนึ่งหลวงปู่ดู่เดินทางไปเรียนวิชาทำธง ที่วัดตะเขง จังหวัดสระบุรี เพราะหลวงปู่แด่เป็นผู้สั่งให้ไปเรียน เมื่อไปถึงหลวงปู่ที่วัดท่านบอกว่าหลวงปู่ “ผมแก่แล้วตาไม่ค่อยดี นิมนต์กลับไปเรียนกับอาจารย์แด่ท่านเถิด เออ คุณผ่านมาตรงช่องเขามีใครเขาหยอกคุณหรือเปล่า”

หลวงปู่ดู่ “มีครับแต่ไม่เป็นไร”

หลวงปู่ “ขากลับไปเถอะ ไม่มีอะไร”

หลวงปู่ดู่เล่าให้ฟังว่า “เดินไประหว่างช่องเขา มีคนปาก้อนหินลงมาก้อนเบ้อเร่อ ถูกข้าคงตาย แต่ข้าไม่กลัว มีคนเขาเดินผ่านมาทางนี้ ผีพวกนี้มักปาแกล้งลงมา ขากลับก็ไม่มีอะไรจริงๆ ตกลงไม่ได้เรียนต้องกลับมาหาอาจารย์แด่”

Cr.พี่สิทธิ์

การเสกพระของหลวงปู่นั้น ยากที่จะมีใครรู้จริงว่าท่านใช้คาถาใด เพราะเวลาท่านเสกก็เห็นท่านนั่งเข้าที่ สงบนิ่ง ดูว่ามุ่งใช้จิตที่ทรงฌาน อธิษฐานจิตมากกว่าเรื่องของการบริกรรมคาถาใด ๆ เพราะจิตที่ “ได้” แล้ว ก็คงไม่ต้องอาศัยการบริกรรมช่วย


หลวงปู่สี-วัดสะแก

เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวรับรอง หลวงปู่เกษม เขมโก ว่า แค่ยกถาดบรรจุพระเครื่อง ผ่านหน้าหลวงปู่เกษม พระในถาดก็ศักดิ์สิทธิ์แล้ว เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมานั่งปรกนาน ๆ พูดถึงการใช้คาถากำกับการอธิษฐานพระนั้น หลวงปู่สี วัดสะแก นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการตรวจเช็คว่าพระเครื่องนั้น ๆ ครูบาอาจารย์ผู้อธิษฐาน ใช้คาถาใดกำกับการอธิษฐาน

หลวงน้าสายหยุด เล่าให้ฟังว่า เวลาลูกศิษย์หลวงปู่สีนำพระเครื่องครูบาอาจารย์ท่านอื่นมาให้หลวงปู่สีพิจารณา ท่านนำมากำดูแล้ว ไม่นานท่านก็จะสามารถบอกได้ว่า ครูบาอาจารย์ท่านนั้น ใช้คาถาใดกำกับ


หลวงพ่อเกษม-เขมโก

แต่และแล้ว หลวงปู่สีก็มาสะดุดกับวัตถุมงคลของ พ่อท่านคล้าย ที่อยู่ทางใต้ หลวงปู่สีเอาพระของท่านพ่อคล้ายมากำอยู่หลายวัน ก็ยังไม่อาจทราบได้ ท่านรู้สึกแปลกใจมากและยังไม่สามารถพบคำตอบได้

จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านก็ได้คำตอบที่คลายความสงสัย นั่นก็คือ พระของพ่อท่านคล้ายนั้น มิได้ศักดิ์สิทธิ์เพราะคาถาใด ๆ เลย หากแต่ศักดิ์สิทธิ์เพราะท่านพูดว่าขอให้ศักดิ์สิทธิ์ เพียงเท่านั้นเอง โดยมิต้องใช้คาถาใด ๆ เลย สมแล้วที่ผู้คนพากันยกย่องท่านว่า “พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์”

สำหรับหลวงปู่ดู่ ดูเหมือนท่านจะมุ่งที่พลังสมาธิจิตเป็นสำคัญ เรียกว่ายังจิตของผู้เสกให้เข้าถึงฌานอันละเอียดก่อน แล้วจึงค่อยอธิษฐาน อย่างไรก็ดี หลวงปู่ท่านก็กล่าวยกย่องว่า”ทุก ๆ คาถา ไม่ว่า ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน ล้วนแต่ดี ๆ ทั้งนั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุก ๆ บททีเดียว”*********


พ่อท่านคล้าย

ก่อนที่ท่านผู้มีศรัทธาทั้งหลายจะถวายของแก่พระภิกษุสงฆ์ มักจะมีการอธิษฐานหรือที่เรียกว่า จบของ บางคนจบนาน บางคนจบช้า หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดว่า”ก่อนที่เราจะถวายให้จบมาเสียก่อนจากบ้าน

เนื่องจากพอมาถึงวัดมักจะจบไม่ได้เรื่อง คนมากมายเดินไปเดินมา จะหาสมาธิมาจากไหน เราจะทำอะไรก็ตามอธิษฐานไว้เลย เวลาถวายจะได้ไม่ช้าเสียเวลาคนอื่นเขาอีกด้วย บางคนก็ขอไม่รู้จบ ให้ตัวเองไม่พอ ให้ลูกให้หลาน จิตเลยส่ายหาบุญไม่ได้ “การที่หลวงปู่ให้จบก่อนนั้น มีความประสงค์ให้ตั้งเจตนาให้ดี บุญที่ได้รับจะมีผลมาก ญาติโยมจึงกราบเรียนหลวงปู่ว่า “ควรอธิษฐานอย่างไร”

หลวงปู่ตอบว่า”อธิษฐานให้พ้นทุกข์หรือขอให้พบแต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ ถ้าเป็นบาลีก็ว่า สุทินนังวะตะเม ทานัง อาสวะขะยาวะหัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ คนเราจะพ้นทุกข์ได้ต้องพบกับความดีมีความสุขใช่ไหม ไม่ต้องอธิษฐานให้ยืดยาวหรอก “เมื่อทำบุญแล้วมักจะมีการรับพรจากพระ มีการกรวดน้ำ บางทีไม่ได้เตรียมไว้ต้องวิ่งหากันให้วุ่นวาย หลวงปู่บอกว่า “ใช้น้ำจิตน้ำใจของเรากรวดก็ได้ เขาเรียกกรวดแห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก


หลวงปู่ดู่ วัดสะแก

เรื่องการกรวดเปียกเขาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านกรวดน้ำให้เปรตญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนแรกท่านไม่รู้เลยทูลถามพระพุทธเจ้า ที่เขาเรียกว่า ทุสะนะโส คือหัวใจเปรตนั่นแหละ”

หลวงปู่ท่านตอบเพื่อให้คลายกังวลสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลากรวดน้ำเช่น คนที่รีบใส่บาตรก่อนจะไปทำงาน เป็นต้น ส่วนการอธิษฐานรับพรนั้นท่านแนะนำว่า”ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ ขอให้ติดตัวข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้และชาติหน้า แล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัวเวลามีพิธีอะไร อย่างเช่น เวลาเขาปลุกเสกพระ เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหนๆ ก็ได้ทั้งนั้น”การสำรวมกาย วาจา ใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อมีพิธีกรรมทางสงฆ์

เพราะบ่อยครั้งที่ขณะพระให้ศีลหรือให้พร ญาติโยมบางคนก็เริ่มคุยแข่งกับพระ เสียงโยมเมื่อรวมกันดังกว่าเสียงพระเสียอีก ตนเองไม่ได้บุญยังไม่พอ แต่กลับไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น เรียกว่าการขัดบุญที่ผู้อื่นพึงได้รับ หลวงปู่เคยพูดว่า”ระวังให้ดี เดี๋ยวจะเกิดเป็นตะเข้ขวางคลอง”


หลวงปู่ดู่-วัดสะแก

ที่มา​ ศิษย์​มีครู

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: