2547.ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ผู้สืบทอดพุทธาคมหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

พระราชพรหมยาน (วีราวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)พระราชพรหมยาน(วีระ ถาวโร)


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 มรณภาพ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 อายุ 76 ปี พรรษา 55 ณ วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี สังกัดมหานิกาย

วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม 4 ประโยคนักธรรมชั้นเอก ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนาหลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ แก้ไขปฐมวัย แก้ไขพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันเสาร์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในครอบครัวของชาวนาซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี บิดาชื่อ นายควง สังข์สุวรรณ มารดาชื่อนางสมบุญ สังข์สุวรรณ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน ดังนี้


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

นายวงษ์ สังข์สุวรรณ เกิดปี 2453 ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ถึงแก่กรรมที่วัดท่าซุง เมื่อคราวมาช่วยหลวงพ่อที่วัดท่าซุง อายุ 60 ปี

นางสำเภา ยาหอมทอง (สังข์สุวรรณ) เกิดปี 2457 ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2545 อายุ 88 ปี อยู่บ้านสาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)

นายเวก (หวั่น) สังข์สุวรรณ ต่อมาได้อุปสมบทเป็น พระครูพิศาลวุฒิธรรม (พระมหาเวก อักกวังโส) อยู่วัดดาวดึงษาราม กทม.เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม 2463 อุปสมบทที่วัดบางนมโค เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2492 เมื่ออายุได้ 26 ปี 59 พรรษา มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 รวมอายุ 85 ปี 3 เดือน 26 วัน

ด.ญ. อุบล สังข์สุวรรณ ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ 4 ขวบ


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ก่อนที่พระราชพรหมยานจะเกิดนั้น มารดาของท่านฝันว่า เห็นพระพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มารดาก็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ หลวงพ่อเล็ก เกสโร ซึ่งมีฐานะเป็นลุง ได้กล่าวว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า “พรหม”

และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น “สังเวียน” ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า “เล็ก” ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้องๆ เรียกว่า “พ่อกลาง”

พ.ศ. 2466 อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 3

พ.ศ. 2474 อายุ 15 ปี อาศัยกับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2476 อายุ 17 ปี ช่วยราชการปราบกบฏบวรเดช

พ.ศ. 2478 อายุ 19 ปี เข้าทำงานเป็นเภสัชกรทหาร สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า)


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ -ในหลวง ร.๙

อุปสมบท พ.ศ. 2479 อายุ 20 ปี อุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เวลา 13.00 น. ที่พัทธสีมาวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ (อยู่ ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบางนมโคเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค เป็นพระอนุสาวนาจารย์

คำสั่งพระอุปัชฌาย์ ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านบอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อ (ปาน) หลวงพ่อเล็กก็เหมือนกัน ท่านอุปัชฌาย์ท่านยิ้มแล้วท่านพูดว่า

“3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้พอครบ 10 พรรษาต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จงไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิชาเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จงเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ในป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวารมาก ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษาจงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ”

การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

พ.ศ. 2480 อายุ 21 ปี สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ. 2481 อายุ 22 ปี สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ. 2482 อายุ 23 ปี สอบได้นักธรรมชั้นเอก

ระหว่างพรรษาที่ 1 – 4

– เรียนอภิญญา

– ธุดงค์ป่าช้า, ป่าศรีประจันต์, พระพุทธบาท, พระพุทธฉาย, เขาวงพระจันทร์ , เขาชอนเดื่อ, ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, ดงพญาเย็น, ภูกระดึง, พระแท่นดงรัง ฯลฯ

– ศึกษาวิปัสสนาระหว่างปี พ.ศ. 2480-2483 ได้ศึกษาพระกัมมัฏฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน เช่น พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบางนมโค หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค พระครูรัตนาภิรมย์ (อยู่ ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ


แหนบหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

พ.ศ. 2483 อายุ 24 ปี เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี จากนั้นย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคารามในช่วงออกพรรษาในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) อยู่วัดช่างเหล็กในช่วงเข้าพรรษา ระหว่างนี้ได้ศึกษาเพิ่มเติมกรรมฐานกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และพบพระสุปฏิปันโนอีกมาก เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) เป็นต้น

พ.ศ. 2486 อายุ 27 ปี สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เปลี่ยนชื่อจาก “พระมหาสังเวียน” [1] เป็น “พระมหาวีระ” เพื่อไม่ให้คล้ายกับ พระมหาสำเนียง ที่อยู่วัดช่างเหล็ก ที่เดียวกัน

พ.ศ. 2488 อายุ 29 ปี สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ย้ายมาอยู่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้เป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยูรวงศาวาส และฝึกหัดการเป็นนักเทศน์

พ.ศ. 2492 อายุ 33 ปี จำพรรษาที่วัดลาวทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ. 2494 อายุ 35 ปี จึงกลับไปอยู่วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค

พ.ศ. 2500 อายุ 41 ปี อาพาธหนักเข้าโรงพยาบาลกรมแพทย์ทหารเรือ

พ.ศ. 2502 อายุ 43 ปี พักฟื้นที่วัดชิโนรสาราม กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงได้ย้ายไปอยู่วัดโพธิ์ภาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ ได้ลูกศิษย์รุ่นแรก 6 คน


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สอนมโนมยิทธิ

พ.ศ. 2505 อายุ 46 ปี ไปจำพรรษาที่วัดพรวน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทเป็นเวลา 1 พรรษาพ.ศ. 2506 อายุ 47 ปี กลับมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์ภาวนาราม พอกลางเดือนมิถุนายน ก็ได้ลาพุทธภูมิ

พ.ศ. 2508 อายุ 49 ปี จำพรรษาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเริ่มไป – กลับวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เพื่อสอนพระกรรมฐาน

พ.ศ. 2510 อายุ 51 ปี ได้สอนวิชามโนมยิทธิ แล้วจึงจำพรรษาที่วัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ-ในหลวง-ร.9

เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุง

พ.ศ. 2511 อายุ 52 ปี ในวันที่ 25 มีนาคม จึงมาอยู่วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำบูรณะ สร้างและขยายวัด จากเดิมมีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 07 2/10 ตารางวา จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา มีอาคารและถาวรวัตถุต่าง ๆ จำนวน 144 รายการในวัด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 611,949,193 บาท สิ่งก่อสร้างทั้งในวัดและนอกวัด อาทิเช่น หอสวดมนต์, พระพุทธรูป, อาคารปฏิบัติกรรมฐาน, ศาลาการเปรียญ, วิหาร 100 เมตร, โบสถ์ใหม่, บูรณะโบสถ์เก่า, ศาลา 2 ไร่, 3 ไร่, 4 ไร่ และ 12 ไร่, หอไตร, โรงพยาบาลศูนย์แม่และเด็ก ชนบทที่ 61, พระจุฬามณี, มณฑปท้าวมหาราชทั้ง 4, พระบรมราชานุสาวรีย์ 6 พระองค์, พระชำระหนี้สงฆ์, โรงไฟฟ้า, โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา, ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ เป็นต้น ทั้งยังได้ช่วยการก่อสร้างที่วัดอื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมากมาย

พ.ศ. 2520 อายุ 61 ปี ตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม

พ.ศ. 2526 อายุ 67 ปี สร้างโรงพยาบาลแม่และเด็กชนบทที่ 61 และมอบให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ-ในหลวง-ร.9

พ.ศ. 2528 อายุ 69 ปี สร้างโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา

พ.ศ. 2535 อายุ 76 ปี ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เวลา 16.10 น.

ปัจจุบันศพของหลวงพ่อได้บรรจุไว้ในโลงแก้วบนบุษบกทองคำที่ประดับด้วยอัญมณีอันวิจิตรงดงาม ณ วัดจันทาราม ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี


บุษบกทองคำบรรจุศพหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

แอพเกจิ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: