2488.”ความล่อแหลมของคำว่า พุทธภูมิ”

“ความล่อแหลมของคำว่า พุทธภูมิ”

พระโพธิสัตว์ที่ได้รับ “การพยากรณ์” จากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พูดแล้วเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง ต้องเป็นจริงตามนั้น ผู้ยังไม่เคยได้รับ “พุทธพยากรณ์” จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงอาจไม่แตกต่างจากสัตวโลกทั้งหลายทั่วๆไป ที่พากันปรารถนาความเป็น “พระพุทธเจ้า”

(ปกิณกธรรม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)

ในสมัยหลวงปู่ดู่ ยังมีชีวิตอยู่นั้น ศิษย์จะได้ยินคำว่า “พระโพธิสัตว์” หรือคำว่า “พุทธภูมิ” ไม่บ่อยนัก หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวถึง ก็เฉพาะกับ “หลวงปู่ทวด” คำว่า “พระโพธิสัตว์” หรือ “พุทธภูมิ” นั้น เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าใคร ๆ จะมาพยากรณ์กันเอง

คำว่า “พุทธภูมิ” หมายถึง พระโพธิสัตว์ที่ได้รับ “การพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้าแล้ว” จึงมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พูดแล้วเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง ต้องเป็นจริงตามนั้น

ดังนั้น หากใครบอกว่า “ลาพุทธภูมิ” นั่นย่อมหมายความว่า ยังไม่เคยได้รับ “พุทธพยากรณ์” จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงอาจไม่แตกต่างจากสัตวโลกทั้งหลาย ที่พากันปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พร้อมกับบันดาลให้สัตว์โลกทุกภพภูมิ ได้มองเห็นกันหมด ทำให้มนุษย์ รวมทั้งสัตว์ภพภูมิอื่น ๆ พากันตั้งความปรารถนาจะเป็น “พระพุทธเจ้า” กันมากมาย

คำว่า “พระโพธิสัตว์” หรือ “พุทธภูมิ” ที่พากันใช้เกล่อไปนั้น เป็นความล่อแหลมอยู่ไม่น้อย เพราะอาจเป็นช่องให้กิเลส ความหลงมาครอบงำได้ง่าย ทำให้นักปฏิบัติธรรมหลายๆคน “หยุดความเพียรในการเจริญกรรมฐาน” และเน้นโปรดสัตว์ ตั้งแต่คราวที่โปรดตัวเองยังไม่ได้เลย

ข้อเสียที่เห็นชัดเจนก็คือ ทำให้ไม่อุสาหะ พากเพียร ปฏิบัติขัดเกลากิเลส ในภพชาติปัจจุบัน ด้วยคิดหวัง จะสร้างนั่น สร้างนี่ไปเรื่อยๆ เพื่อปูทางไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทั้งที่ได้ “ลาภอันประเสริฐ” ที่เกิดมาพบ “พระพุทธศาสนา” ได้มีโอกาสพบ ธรรมคำสอน พบครูบาอาจารย์ดีๆ ก็มิได้ปฏิบัติให้เต็มที่

หากพ้นจากชาตินี้ไปแล้ว จะมีอะไรเป็นหลักประกัน อย่าว่าแต่จะมาพบพระธรรมคำสอนอีกเลย แม้เพียงการได้เกิดเป็น “มนุษย์” อีก ก็ยังยาก เเละไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่า ชาติหน้าเรายังจะมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย

ดังมีตัวอย่างคือ ท่านพาหิยะ ที่แม้ชาติก่อน จะตายในขณะบำเพ็ญเพียร แต่ชาติต่อมาก็ปรากฏว่า ไปเป็นนักบวชต่างศาสนา หรือกรณีของ “หัวหน้าผู้นำบุญ” ซึ่งเป็นผู้ชักชวนคนเข้าวัดจำนวนมาก แต่พอเกิดเหตุร้ายในชีวิต เขาก็ละทิ้งศาสนาพุทธ ไปหาศาสนาแห่งพระเจ้าไปก็มี นั่นเพราะ ยังมิได้มี “ศรัทธา และ ปัญญา” ในระดับที่มั่นคงเพียงพอนั่นเอง

Cr.Opas Westly

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: