2373. รอยพระพุทธบาท สำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร

รอยพระพุทธบาท สำนักสงฆ์เกาะแก้วพิสดาร หมู่ ๒ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
รอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ ณ เกาะแก้วพิสดารนั้น มีด้วยกัน ๒ รอย ซึ่งยิ่งถ้าช่วงที่น้ำลงนั้นจะมองเห็นชัดเจน

จากหนังสือ “ ธัมมวิโมกข์ ” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ ( ปี ๒๕๓๗ ) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “ นัมทานที ” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ” อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี ( อ่ำ ธมฺมทตฺโต ) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า
“…บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒…”

ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้
“…พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล…”

ท่านเจ้าคุณพระราชกวีได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้อีกว่า
“…เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่าได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ” ดินแดนสุวัณณภูมิ ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบแสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้สัจจพันธ์คีรี ( จังหวัดสระบุรี ) และที่เกาะแก้ว หรือ ” นิมมทานที ” ( เกาะแก้วพิสดาร? ) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำในอรรถกถายืนยันอยู่…”

เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๒ พระยาตรังคภูมาภิบาลกวีเอกคนหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนที่ยกทัพมาทำสงครามกับพม่าคราวศึกถลาง เมื่อท่านมาถึงเกาะแก้วพิสดารและสักการะรอย

พระพุทธบาทแล้ว ได้พรรณนากลอนไว้ตอนหนึ่งว่า
“…มาประมาณ โมงหนึ่ง ถึงพระบาท ที่กลางหาด เนินทราย ชายสิงขร
พี่ยินดี ปรีดา คลายอาวรณ์ ประณมกร อภิวาท บาทบงส์
จุดธูปเทียน บุปผา บูชาพร้อม รินน้ำหอม ปรายประ ชำระสรง
แล้วกราบกราน คลานหมอบ ยอบตัวลง เหมือนพบองค์ โลกนาถ พระศาสดา
ที่พบต้อง มองและ พระลายลักษณ์ เหมือนประจักษ์ จริงจัง ไม่กังขา
มีทั้งร้อย แปดอย่าง กระจ่างตา เป็นดินฟ้า พรหมอินทร์ สิ้นทั้งปวง…”

แอพเกจิ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: