2371.ทำไมในยุคนี้ต้องสวดคาถามหาจักรพรรดิ

ทำไมในยุคนี้ต้องสวดคาถามหาจักรพรรดิ

พระคาถามหาจักรพรรดิ ก่อให้เกิดพุทธนิมิตครอบสถิตผู้ทรงคาถา พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แต่งขึ้นมานั้น นอกจากท่านจะได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัยอย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้กิด “พุทธนิมิต” เป็นวิมานแก้วพระพุทธเจ้ามาครอบสถิตผู้สวดด้วย

โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข ปรากฎฉัพพรรณรังสีหกประการสว่างไสวพร้อมด้วยโพธิสัตตราวุธ ทั้ง ๔ ประการ ประจำอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่ พระมหามงกุฎ ตรีศูล จักรแก้ว และ พระขรรค์เพชร ทั้งหมดล้วนเป็นของคู่บุญบารมีของพระศรีอารย์โพธิสัตว์ โดยมี “พระมหามงกุฎ” เป็นศิราภรณ์ที่ปี่ยมไปด้วยบุญญฤทธิ์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์ระดับจตุปฎิสัมภิทาญานได้เคยนำมาถวายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นพุทธบูชาอีกองค์หนึงด้วย)

ส่วนอาวุธที่เหลือทั้ง ๓ ล้วนเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูงมีไว้เพื่อประดับบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์อย่างยิ่ง

หากสวดเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิได้ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์มีความศักสิทธิ์อย่างมาก ประดับด้วยเครื่องทรงแห่งพระมหาจักรพรรดิอย่างวิจิตรอลังการเปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนอัญมณีเรียกว่า “พระมหาวิษิตาภรณ์” มาครอบสถิตผู้ภาวนา

บารมีของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ที่ท่านน้อมนำอธิษฐานจิตจึงมีความศักสิทธิ์ป็นอย่างมาก เพราะท่านใช้บารมีทั้งหมดของท่านอัญชิญกระแสบารมีแห่งพระรัตนตรัย และตั้งองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิบรรจุลงไปในวัตถุมงคลที่บารมีท่านมาประจุอีกด้วย

คำแปล

นะโมพุทธายะ : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชา ต่อพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ

นะ – พระกกุสันธะ

โม – พระโกนาคม

พุท – พระกัสสป

ธา – พระสมณโคดม

ยะ – พระศรีอริยเมตไตรย

พระพุทธไตรรัตนญาณ : พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระญาณแก้วทั้งสาม อันหมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ, จุตูปปาตญาณ, อาสวักขยญาณ

มณีนพรัตน์ : มีสมบัติคือแก้ว ๙ ประการ มีเพชร, ทับทิม เป็นต้น ซึ่งหมายถึงพระนวโลกุตรธรรม

สีสะหัสสะ สุธรรมา : มีมือถึงพันมือ หมายถึงการที่พระพุทธองค์ ทรงแจกแจงหลักธรรม คือ พระไตรปิฎก ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พุทโธ : ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ธัมโม : พระธรรมของพระพุทธเจ้า

สังโฆ : พระสาวกผู้ปฏิบัติตาม

ยะธาพุทโมนะ : ขอพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีชัยแก่พญาชมพูผู้มีฤทธิ์มาก พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ จงบังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ด้วยเทอญ

พุทธบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า

ธัมมะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม

สังฆะบูชา : ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์

อัคคีทานัง วะรังคันธัง : ด้วยสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ธูป เทียน ไฟ หรือแสงสว่าง และของหอมทั้งมวล มีดอกไม้และน้ำอบ เป็นต้น

สีวลี จะมหาเถรัง : ขอนมัสการพระสีวลีเถระเจ้า ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ

อะหังวันทามิ ทูระโต : ขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป มีสังเวชนียสถาน เป็นต้น

อะหังวันทามิ ธาตุโย : ขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

และพระธาตุทั้งหลาย ทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล

อะหังวันทามิ…”

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: