2357.อัศจรรย์ถ้ำเชียงดาว ธรรมสถานพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์

#ถ้ำเชียงดาว ธรรมสถานพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
• เทือกเขาภูหลวงเป็นเทือกเขาแห่งพระอริยเจ้าของทางภาคเหนือ ถือว่าเป็นขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ หรือเรียกว่า “ดอยหลวงเชียงดาว”

ซึ่งประกอบด้วยถ้ำเชียงดาว ถ้ำฤๅษี ถ้ำพระปัจเจก ถ้ำปากเปียง ถ้ำผาปล่อง ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินธุดงค์และพักบำเพ็ญเจริญสมณธรรมมาแล้วทั้งสิ้น ในสมัยก่อน ถ้ำเชียงดาวเป็นถ้ำที่เคยมีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาพักและมีพระอรหันต์มานิพพาน

ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า “ป่าเทือกเขาเชียงดาวนั้น ถือเป็นรมณียสถานถ้ำเชียงดาว ถือเป็นมงคลสำหรับนักปฏิบัติธรรม” ที่ถ้ำเชียงดาวนี้มีพระอรหันต์มานิพพาน ๓ องค์ สององค์นอนนิพพาน อีกองค์หนึ่งเดินจงกรมนิพพาน ครั้นท่านพระอาจารย์มั่นมาพักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่นั้น ท่านได้กล่าวว่า “..ครั้งแรก ๆ เราก็พักอยู่ตีนเขาและบำเพ็ญความเพียร ต่อไปก็ขยับมาอยู่ที่ปากถ้ำ..” ตรงปากถ้ำนั้นมีก้อนหินใหญ่

ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านใช้ก้อนหินนั้นเป็นที่นั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่าอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่งมิใช่โลกนี้ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ให้หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ผู้เป็นลูกศิษย์ ปีนขึ้นไปสำรวจถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า และบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ตามที่เห็นในนิมิต จนหลวงปู่ตื้อ ได้เข้าไปเจออีกมิติที่ซ้อนทับอยู่ได้พบกับอารักษ์ใหญ่และชีปะขาวน้อยผู้ปกปักษ์รักษาถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า

ปัจเจก ถ้ำปากเปียง ถ้ำผาปล่อง ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินธุดงค์และพักบำเพ็ญเจริญสมณธรรมมาแล้วทั้งสิ้น ในสมัยก่อน ถ้ำเชียงดาวเป็นถ้ำที่เคยมีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาพักและมีพระอรหันต์มานิพพาน ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า “ป่าเทือกเขาเชียงดาวนั้น ถือเป็นรมณียสถานถ้ำเชียงดาว ถือเป็นมงคลสำหรับนักปฏิบัติธรรม”

ที่ถ้ำเชียงดาวนี้มีพระอรหันต์มานิพพาน ๓ องค์ สององค์นอนนิพพาน อีกองค์หนึ่งเดินจงกรมนิพพาน ครั้นท่านพระอาจารย์มั่นมาพักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่นั้น ท่านได้กล่าวว่า “..ครั้งแรก ๆ เราก็พักอยู่ตีนเขาและบำเพ็ญความเพียร ต่อไปก็ขยับมาอยู่ที่ปากถ้ำ..” ตรงปากถ้ำนั้นมีก้อนหินใหญ่ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านใช้ก้อนหินนั้นเป็นที่นั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่าอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่งมิใช่โลกนี้ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ให้หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ผู้เป็นลูกศิษย์ ปีนขึ้นไปสำรวจถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า และบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ตามที่เห็นในนิมิต จนหลวงปู่ตื้อ ได้เข้าไปเจออีกมิติที่ซ้อนทับอยู่ได้พบกับอารักษ์ใหญ่และชีปะขาวน้อยผู้ปกปักษ์รักษาถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า

อีกทั้งที่ดอยเชียงดาวแห่งนี้มีตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก “..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาบนยอดเขาที่ดอยหลวงเชียงดาว พระพุทธองค์ทรงสรงน้ำ ณ อ่างสรงดอยเชียงดาว ต่อมาภาษาได้เพี้ยนเป็น “อ่างสลุง” (สลุง คำภาษาพื้นเมืองแปลว่าขันใบใหญ่)

จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า “ดอยนี้สูงนัก สูงเพียงเดือนเพียงดาว ภายหน้าจักเกิดเมืองชื่อ “เมืองเพียงดาว” ต่อมาภาษาได้เพี้ยนเป็น “เชียงดาว” ในส่วนความเชื่อความศรัทธาของคนล้านนา และคนท้องถิ่นเชียงดาว ขุนเขาแห่งนี้เป็นที่ลี้ลับ และศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าปฐมอารักษ์ของชาวล้านนา “เจ้าหลวงคำแดง” หัวหน้าเทวดายักษ์ ผู้มีบริวาร ๑๐,๐๐๐ ตน ผู้ดูแลของวิเศษในถ้ำหลวงเชียงดาว และดอยเชียงดาว

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เล่าถึงพญานาคในถ้ำเชียงดาวว่า….พื้นถ้ำมีก้อนหินเป็นรูปกงจักรกับดอกบัว มีพญานาคเฝ้าอยู่ภายใต้แผ่นหินนี้ ไม่มีพระองค์ใดเข้าไปอยู่ในถ้ำนั้นได้นาน ยกเว้นหลวงปู่มั่นรูปเดียวเท่านั้น ที่เข้าไปอยู่ในถ้ำนั้นได้นานเป็นวัน ๆ หลวงปู่มั่นเทศน์สอนพญานาค แต่พญานาคไม่ยอมรับคำแนะนำ เพราะยังอาลัยอัตภาพปัจจุบันของตนอยู่

ในที่สุดท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่า เข้าไปทำความรำคาญให้แก่เธอ จึงไม่เข้าไปในถ้ำนั้นอีกเลย ที่ถ้ำพญานาคนี้หลวงปู่แหวนเข้าไปอยู่ ๑ วัน หลวงปู่ตื้อเข้าไปอยู่ ๓ วัน แต่ละองค์ที่เข้าไปอยู่ต่างถูกพญานาคตำหนิกล่าวโทษเอาทั้งสิ้น พระท่านอยู่ไม่ได้เพราะส่งจิตออกไปดูทีไรเห็นพญานาคคอยจ้องหาเรื่องตำหนิอยู่ตลอดเวลา

เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็เข้าไปอยู่ภายในถ้ำนั้น ๙ วัน ๙ คืน โดยไม่ออกมาเลย ในวันที่ ๑๐ ท่านจึงออกมา หลังจากฉันจังหันเสร็จแล้วท่านได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังว่า ท่านเข้าไปช่วยเจ้าของผู้สร้างเจดีย์ เขาห่วงเจดีย์ของเขา เขาไปไหนไม่ได้ท่านจึงไปช่วยแนะนำเขา เวลานี้เขาไปแล้ว

ในเรื่องนี้มีความว่า… ที่นั้นมีวิญญาณหญิงสาวกับสามเณรที่เป็นน้องชายมาวนเวียนอยู่ ท่านจึงถามว่ามาเดินอยู่ทำไม วิญญาณก็เล่าให้ฟังว่าพวกเขาสร้างเจดีย์ไว้ยังไม่เสร็จ ก็ต้องมาตายเสียก่อน เขาจึงกังวลกับเรื่องนี้ ยังไปไหนไม่ได้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเทศน์ให้สติแก่วิญญาณสองพี่น้อง มีใจความว่า:-

…สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะไม่สามารถเอากลับมาให้เป็นปัจจุบันได้ มีแต่จะทำให้กังวลและเป็นทุกข์ ส่วนอนาคตก็ไม่ควรไปห่วงไปเกี่ยวข้อง อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นจึงจะทำให้สำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่สามารถทำได้

การสร้างพระเจดีย์เราสร้างด้วยหวังบุญหวังกุศล ไม่ได้สร้างเพื่อหวังเอาก้อนอิฐก้อนหินปูนทรายในองค์พระเจดีย์ติดตัวไปด้วย สิ่งที่เป็นสมบัติของเราในการสร้างพระเจดีย์ ก็คือ บุญ ที่เราจะเอาติดตัวไปได้ เราไม่ได้เอาสิ่งก่อสร้าง วัตถุทานต่าง ๆ ที่สละแล้วนั้นเอาติดตัวไปด้วย เราเอาไปได้เฉพาะส่วนนามธรรมที่เกิดจากการสละวัตถุทานเหล่านั้น นั่นคือตัวบุญกุศล

เจ้าของผู้คิดเป็นกุศลเจตนาขึ้นมา ให้สำเร็จเป็นวัตถุไทยทานต่าง ๆ นั้น คือ ใจ ใจที่แหละเป็นผู้ทรงบุญ ทรงกุศล ทรงมรรค ทรงผล ทรงสวรรค์ นิพพาน และใจนี่แหละเป็นผู้ไปสู่สวรรค์นิพพาน นอกจากใจไม่มีอะไรไป

“ถ้าคุณทั้งสอง ยินดีเฉพาะกุศลผลบุญ ที่ทำได้จากการสร้างพระเจดีย์ไปเท่านั้น ไม่มุ่งจะแบกหามพระเจดีย์ไปสวรรค์นิพพานด้วย คุณทั้งสองก็ไปอย่างสุคโต หายห่วงไปนานแล้ว เพราะบุญเป็นเครื่องสนับสนุน บุญจึงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นบาปตลอดกาล

คุณทั้งสองสร้างบุญญาภิสมภารมา เพื่อยังตนไปสู่สุคติแต่กลับมาติดกังวลในอิฐในปูนเพียงเท่านี้ จนเป็นอุปสรรคต่อทางเดินของตนซึ่งทำให้เสียเวลาไปนาน ถ้าคุณทั้งสองพยายามตัดความขัดข้องห่วงใยที่กำลังเป็นอยู่ออกจากใจ ชั่วเวลาไม่นานเลย จะเป็นผู้หมดภาระผูกพัน คุณมีจิตมุ่งมั่นในภพใด จะสมหวังในภพนั้น เพราะแรงกุศลที่ได้พากันสร้างมาพร้อมอยู่แล้ว”

หลังจากนั้น หลวงปู่มั่น ก็สอนดวงวิญญาณให้รักษาศีลห้า สอนอานิสงส์ของทาน ศีล ภาวนา และหลักธรรมอื่น ๆ จนดวงวิญญาณคลายการติดยึด แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพในลำดับต่อมา

ที่มา​ ท้องถิ่น​ธรรม พระกัมมัฎฐาน

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: