2353.ประวัติพอสังเขป อ.ฟ้อน ดีสว่าง

อ.ฟ้อน ดีสว่าง ถือกำเนิดที่เมืองอยุธยา อำเภอนครหลวง แล้วบิดามารดาได้อพยพครอบครัวไปอยู่เมืองลพบุรี ที่หมู่บ้านโพธิเก้าต้น ตัวท่านนั้นเป็นเด็กที่เกิดมาหน้าตาผิดปกติบนใบหน้า 

เมื่อย่างเข้าวัยศึกษาบิดามารดาจึงได้พาไปฝากกะ ผู้ที่เป็นน้องชายที่เป็นเจ้าอาวาสวัด กลาง อำเภอนครหลวง ที่มีชื่อเสียง โด่งดังในพระเวทย์คุณไสย คาถาอาคมโดยเฉพาะเรื่องสักยันต์ที่ไม่เหมือนใคร คือใช้เลือดของอาจารย์สักยันต์ให้กับผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์

ต่อไปนี้ผมจะเรียกว่า หลวงน้านะครับ ท่านชื่อ พระอาจารย์ ปลอด ซึ่งวัยเด็กที่คบหาอาจารย์ ฟ้อน นั้นมีพึงพาได้ไม่กี่คน 1 ในนั้นคือคนที่ชื่อ ตาบ เพราะด้วยความผิดปกติที่ใบหน้านี่เองท่านจึงไม่ยอมเข้าเรียน กะเพื่อน ๆ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนก็ไม่ได้ หลวงน้าชายเห็นกลัวว่าหลานตัวเองจะเอาตัวไม่รอด จึงได้เฝ้าเพียรถ่ายทอดวิชาอาคมไว้ให้ทั้งหมด

ซึ่ง อ. ฟ้อนท่านผิดปกติแต่หน้าตาเท่านั้น    ส่วนความจดจำนั้นเป็นเลิศได้อย่าง อัศจรรย์ สอนเพียงครั้งเดียวจดจำไว้ได้ทั้งหมดเด็กวัดต่อมาได้อุปสมบทเป็น เณรตาบ ครับ หลวงน้าท่านได้สอนวิชาพวกสาขาเวชกรรม ถอดถอนพิษร้ายจากคาถาอาคม ส่วนในหมวดมนต์ดำ วิชาอาถรรพณ์นั้นหลวงน้าได้ซุกซ่อนไว้ จนกระทั่งมรณะภาพลง

อ.ฟ้อนจึงได้พบตำราสำคัญเล่มนั้นพอได้ตำรามา ก็ให้สามเณรตาบ อ่านให้ฟังและฝึกปรือจนชำนาญ พอร้อนวิชามากเข้าท่านได้หายเงียบไปจากอยุธยานานหลายปี ข่าวว่าได้กลับไปอยู่กะบิดามารดาที่หมู่บ้านโพธิเก้าต้น เปิดสำนักรักษาโรคด้วยสมุนไพร และวิชาพระเวทย์คุณไสยอาคมทางคงกะพัน เสน่ห์ มหานิยมจนเป็นที่โจษขานที่เมืองลพบุรีได้มีลูกศิษย์มาฝากตัวมากมาย

เมื่อท่านร้อนวิชาอีกก็ได้หายเงียบไปจากลพบุรีไปปรากฏตัวยัง วัดกลาง ที่อยุธยาที่เป็นวัดที่พระอาจารย์(หลวงน้าท่าน) ตัว อ.ฟ้อนได้บวชที่วัดกลางเป็น พระอาจารย์ฟ้อน ท่านได้ช่วยญาติโยมรักษาโรค สักยันต์จนในที่สุดได้หายเงียบไปอีก ไปปรากฏตัวที่ อ.บางปะหัน อยุธยา

            ที่วัดไก่ฟ้านี่เองที่ท่านได้ปล่อยวิชาทางคุณไสยมนต์อาถรรพณ์ออกมาอย่างไม่ ออมฝีมือนอกจากรักษาผู้คนที่เจ็บป่วยได้หายดุจหมอเทวดา ในทางอาคมก็ได้ครอบให้กับวัยรุ่นในละแวะนั้นที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ การสักยันต์(ปะสะเลือด)หรือการถ่ายเลือดนั่นเอง

คือถ่ายเลือดจากตัว อาจารย์ฟ้อน พิธีครอบครูมี มีดซึ่งต่อไปจะเป็น มีดหมอประจำตัวผู้เป็นศิษย์ไปตลอดชีวิต ดอกไม้สีขาว 9 ดอก ธูป 9 ดอก เทียนขาว 9 เล่ม ผ้าขาวม้าขาว 3 เมตร 1ผืน ผ้าเช็ดหน้าสีขาว 1 ผืน(ซึ่งต่อมาคนจะเรียกกันว่าผ้ายันต์นั่นเอง) หัวหมู 1 คู่พิธีเริ่มผู้เป็นศิษย์อาบน้ำชำระร่างกาย นุ่งขาวห่มขาว เช่นเดียวกัยตัว อาจารย์ฟ้อน ภายในที่กำหนดแท่นตั้งเครื่องบูชาครู สิ่งที่ใช้สักยันต์ อ.ฟ้อนมิได้ใช้เข็มดังเช่น อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือสำนักอื่น ๆ แต่ท่านใช้มีดที่ศิษย์เตรียมมานั่นแหละกรีดบนศีรษะ และตามตัวของศิษย์ท่านก็ใช้มีด เล่มเดียวกันเชือดลิ้นตัวเองให้เลือดไหลลงแก้วที่รองไว้

               ขั้นตอนต่อไปท่านจะมีมีดดาบปลายปืนขนาดยาวเฟื้อย อีก 2 เล่มตอกสุดแรงเข้าไปในเพดานปากของท่าน เพื่อให้เลือดไหลลงมาตามด้ามมีดลงไปในแก้ว        จำนวนเลือดทั้งหมดอยู่ในแก้วจะถูก อาจารย์ฟ้อน ท่านเทกรอกใส่กลับในปากอีกครั้ง แล้วอมนั่งบริกรรมคาถา พ่นเลือดลงในผ้าเช็ดหน้าสีขาวนั้น นำไปทาลงตามรอยปลายมีดที่กรีดยันต์ไว้ทั่วทุกจุดบนร่างกายของผู้ครอบพิธี บาดแผลทั้งหมดที่ท่านได้เชือดปลายลิ้นและใช้มีดดาบตอกเพดาน ท่านอมน้ำบริกรรมคาถาครู่ใหญ่ ในปากกลืนหายไปในลำคอ แผลทั้งหมดก็สนิทและต่อไปท่านทำพิธีครอบครูครู่ใหญ่ และจะได้สอนวิชาที่ไว้ใช้ฉุกเฉินให้แก่ศิษย์     เช่น คาดพิษงู ประสานบาดแผล เมตตามหานิยม

ท่านอาจารย์ฟ้อน ท่านจัดได้ว่าเป็นอาจารย์ที่มีชื่อระดับแถวหน้า ท่านมีความสามารถในการจดจำที่ว่องไวและแม่นยำ  ท่านสามารถที่ท่องจำบทคาถาอาคมต่างๆจากครูอาจารย์ที่ท่านได้ศึกษาวิชาอาคม

ด้วยการฟังและท่องขึ้นใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว และยังมีวิชาปะสะโลหิต โดยการใช้เลือดท่านที่ทำการเจาะใต้เพดานปาก นำมาใช้สำหรับการลงกระหม่อมให้ กับบรรดาศิษย์ในยุคปลายสงครามโลกครั้งที่สองถึงมหาเอเชียบูรพา ทำมีคุณวิเศษทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาดเป็นอย่างมาก    

ร่ำลือกันว่าท่านสามารถเสกเบี้ยเงินได้เป็นขัน ไม่ปรากฎแน่ชัดนักว่าท่านเสียชีวิตเมื่อใดเพราะบั้นปลายชีวิตท่านเคยบวชและ สึกออกมาเป็นอาจารย์บ้านอีก คาดว่าท่านน่าจะสิ้นช่วงปี 2489 อาจารย์ฟ้อน ดีสว่างนี้จัดได้ว่าไม่เป็นสองรองใครแน่นอนในยุคนั้น

                ที่สถานีรถไฟปากช่อง ยามใดที่ อาจารย์ฟ้อนจะเดินทางจากโคราชไปเมืองนครนายก บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจะพากันมายืนคอยรับส่งอยู่ที่สถานีเป็นจำนวนมาก บั้นปลายท่าได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดบึง(ต่อมาเรียกว่า วัดบึงพระอาจารย์ และต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดสุนทรพิชิตาราม) วาระสุดท้ายท่านก็เสียที่วัดบึงพระอาจารย์งานศพของท่านได้มีลูกศิษย์มากัน มากมาย มีทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า ประชาชนจากกรุงเทพ อยุธยา ลพบุรี โคราช เดินทางไปร่วมงานกันมากมาย ลิเกคณะ ส. สำราณศิลป์ได้ แสดงในงานศพ ซึ่งโต้โผ(หัวหน้าคณะ) เป็นศิษย์ อ.ฟ้อน

คุณพ่อ อ.ฟ้อน ดีสว่าง ท่านเกิด ปี 2426 ที่บ้านชุ้ง นครหลวง สิ้น 2489 ที่วัดบึงพระอาจารย์

แอพเกจิ แอพรวมเรื่องราวประสบการณ์จริง เกี่ยวกับ พุทธคุณ ไสยศาสตร์ วิชาอาคม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: