2326.ฝึกจิต เร่งสมาธิ เร่งนิมิต หลวงปู่ดู่ วัดสะแก

ฝึกจิต เร่งสมาธิ เร่งนิมิต

เป็นวิชาบทแรกที่กล่าวเนื่องจากเป็นบาทฐานของบทต่าง ๆที่ตามมา หากได้บทต้นแล้ว บทต่อ ๆไปจะเข้าใจได้ง่ายเอง ทั้งยังเป็นการเช็คการเดินวิชาของเรา เมื่อเราทำวิชาต่าง ๆด้วย

เริ่ม
๑. ตั้งจิตอันสบาย ในที่อันสบาย แต่จิตอันสบายนั้นสำคัญที่สุด
๒. กำพระและกำหนดนึกรู้เห็นพระที่เราชอบเบาๆ (หลวงปู่ดู่) หรือ ตามจริตชอบ (พระทรงเครื่องจักรพรรดิ)
๓. วางลมหายใจสบาย ๆ ในกายที่เบาสบาย
๔. ภาวนาคาถาอย่างสบาย ๆ คลอไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดอะไร ทำไปสบาย ๆเท่านั้น
๕. ไม่ช้าไม่นานนิมิตสบาย ๆจะเกิดแก่ท่านเอง สาธุ…..

ใช้งาน

๑. ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ยามหลับ ยามตื่น ยามรู้ตัว ยามมิรู้ตัว ให้ภาวนาและตั้งองค์พระตลอด เผลอก็ช่างมัน เป็นเรื่องปกติ ตั้งต้นใหม่ ทุกครั้งเมื่อมีสติ อย่าบังคับ อย่าเกร็ง ให้ทำ สบาย ๆ …….

๒. ยามจะหลับให้ภาวนาจนหลับ ยามตื่นให้รีบภาวนาจนมีสติดีแล้ว นึกถึงพระที่เราชอบ พร้อมทั้งอธิษฐานว่า
ข้าพเจ้า ……(นามของท่าน)…ผู้เป็นข้ารับใช้แห่งพระพุทธองค์ ขอนอบน้อมและน้อมนำบารมีแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ และพระมหาจักรพรรดิ ตั่งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรมปัญโญเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ พระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นโดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด (ให้กำหนดอฐิษฐานให้ได้ทุกวัน จะกันเฝือได้ดีมาก)

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส

(ในระหว่างนี้ให้วางจิตเบา ๆ โน้มนำพระบารมีเข้าตัว หรือผู้ที่ได้แล้ว จะเห็นเองว่าจะมีพระบารมีเข้าตัวเป็นแสงสว่างวาบไปหมด)

พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

๓. ต่อไปก็อาศัยภาวนาเบา ๆ สบาย ๆ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ยามหลับ ยามตื่น ยามรู้ตัว ยามมิรู้ตัว เฉกเช่นเดิมตลอดทั้งวัน เมื่อจะใช้งานหรือจะดูอะไรก็ ภาวนา คาถาอาราธนาพระเข้าตัว จากนั้นก็นึกถึงหลวงปู่ดู่ ขอบารมีท่านดูเอา

๔. เมื่อชินดี ได้นานพอ คล่องพอแล้ว คำอธิษฐาน ” ….สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นโดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด….. ” จะให้ผล ถือว่าได้วิชาแล้ว ต่อไปการใช้วิชาอื่น ๆ ก็จะตรวจสอบได้เอง ไม่ต้องงม ๆมืด ๆอีก ความคล่องตัวก็จะมีมากขึ้น เรื่องราวทางโลกทิพย์ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ

๕. ข้อเตือนใจ
+ เมื่อห่างครูบาอาจารย์ท่านจะเฝือ
+ เมื่อเกิดอหังกา ท่านจะรู้เห็นผิด
+ ขอจงอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างนอบน้อม แม้มิร่ำรวยเงินทอง มิร่ำรวยชื่อเสียง เราก็มีความสุขได้ เราก็เป็นคนดีได้ เราก็สร้างประโยชน์ให้สังคมได้ การอยู่อย่างดิ้นรนอยากได้อยากมีไม่รู้พอ จะทำจิตใจให้ขุ่นมัวเศร้าหมอง ความเป็นทิพย์ทางจิต ความใสกระจ่างทางจิตจะเกิดขึ้นได้ยากนั่นเอง ขอโมทนาในความดี ….สาธุ……

สร้างประโยชน์

วิชานี้อาศัยบารมีพระท่าน พระท่านไม่ต้องการสิ่งใดมากไปกว่าให้ท่านเป็นคนดี รู้จักคิดถึงตัวเองและคนอื่นบ้าง สร้างประโยชน์ให้สาธารณะชน ซึ่ง การสร้างประโยชน์นั้นคือวิชาลำดับขั้นต่อไปนั่นเอง

Cr.อมตะธรรมหลวงปู่ดู่​ พรหมปัญโญ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: