2120.เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พาปฏิบัติ

#เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พาปฏิบัติ
#พวกหมูป่าอีเก้งที่ยิงตายในกลางป่ายังเอาเข้าบ้านเรือนได้นี่มันคนตายแท้ๆทำไมจะเอาเข้าบ้านไม่ได้

ครั้งหนึ่ง มีเหตุเด็กผู้ชายป่วยไข้ตายลง ชื่อ
เด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุ
ประมาณ ๖ ขวบ เป็นไข้ตายอยู่ที่กระท่อม
เถียงนา เพราะเป็นหน้ากำลังดำนากัน ตาม
ปกติพ่อแม่ในชนบทบ้านนอกทางภาคอีสาน
สมัยนั้น เมื่อถึงหน้าฤดูทำนาก็ต้องหอบลูก
จูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลานจะป่วยไข้
แต่พอเอาไปได้ก็ต้องเอาไป เพื่อจะได้เยียว
ยารักษากันไป พร้อมกับทำนาไปด้วยเพื่อ
จะเร่งงานนาให้เสร็จทันกับฤดูกาล แต่วันนั้น
บังเอิญเด็กมีไข้ขึ้นสูง เยียวยาไม่ทัน ในที่สุด
ก็ตาย ทำให้พ่อแม่พี่น้องมีความเศร้าโศก
เสียใจมาก

เมื่อตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้
นำศพเด็กเข้าไปทำบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้อง
เรื่องของความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า
คนที่ตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้าน
โบราณท่านถือ และอีกอย่าง คนตายโหงหรือ
ตายอย่างกะทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ
ผูกคอตาย ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เหล่านี้เป็นต้น
โบราณท่านห้าม ไม่ให้หามผ่านเข้าบ้าน และ
ห้ามเผา ให้ฝังครบสามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทำให้ชาวบ้านหนองผือสมัย
นั้นถกเถียงกันไปถกเถียงกันมา ในที่สุด
ญาติโยมจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษาสอบถามกับ
ท่านพระอาจารย์มั่น

ท่านได้แก้ความสงสัยนี้ให้แก่ญาติโยมบ้าน
หนองผือ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า

“พวกหมูป่า อีเก้งกวาง ที่ยิงตายในกลางป่า
ยังเอามาเข้าบ้านเรือนได้ นี่มันคนตายแท้ๆ
ทำไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรือนไม่ได้”

ดังนั้น ญาติโยมชาวบ้านจึงนิ่งเงียบไป ทำให้
หูตาสว่างขึ้นมา สุดท้ายก็นำเอาศพเด็กชาย
คนนำเข้าไปทำบุญที่บ้าน และเผาเหมือนกัน
กับศพของคนตายตามปกติธรรมดาทุกอย่าง
ภายหลังต่อมาชาวบ้านหนองผือจึงไม่ค่อยถือ
ในเรื่องนี้เป็นสำคัญ คนตายทุกประเภทจึงทำ
เหมือนกันหมด

สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่สำนักวัด
ป่าบ้านหนองผือช่วงระยะ ๕ พรรษานั้น มี
เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือมีพระที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านมรณภาพลง ๒ รูป คือ พระอาจารย์สอ
กับ พระอาจารย์เนียม แต่มรณภาพลงคนละ
เดือน โดยเฉพาะพระอาจารย์เนียมมรณภาพ
เมื่อตอนเช้าด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์
มั่นก็ทราบเรื่องทุกอย่าง พอตอนเช้า ท่านพระ
อาจารย์มั่นก็พาพระเณรไปบิณฑบาตภายใน
หมู่บ้านตามปกติ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาต
อยู่นั้น ท่านพูดขึ้นเป็นสำเนียงอีสานว่า

“ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ พ่อออกแม่ออก ท่านเนียม
ฮู้แล้วน้อ”

ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ กับกลุ่มญาติโยม
ที่รอใส่บาตรทุกกลุ่ม จนสุดสายบิณฑบาต
คำพูดของท่านนั้นหมายความว่า พระอาจารย์
เนียมอยู่กับที่แล้ว ไม่กระดุกกระดิกแล้ว หรือ
ตายแล้ว ซึ่งญาติโยมตอนนั้นบางคนก็เข้าใจ
บางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึง
เข้าใจชัดว่าพระอาจารย์เนียมมรณภาพแล้ว
เมื่อเช้านี้

เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทราบอย่างนั้นแล้วจึง
บอกต่อ ๆ กันไป แล้วพากันเตรียมตัวไปที่วัด
ในเช้าวันนั้น

สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณร
บิณฑบาตเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าขึ้นบน
ศาลาหอฉัน วางบาตรบนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม
คลี่ผ้าสังฆาฏิที่ซ้อนออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียง
บ่าเรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้า
ประจำที่ฉัน เตรียมจัดแจกอาหารลงบาตร
เพราะมีโยมตามส่งอาหารที่วัดด้วย เสร็จแล้ว
อนุโมทนายถาสัพพีตามปกติ จึงพร้อมกันลง
มือฉัน

ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้านที่
จะมาวัดในเช้าวันนั้น ก็กำลังบอกกล่าวป่าวร้อง
ให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพื่อจะได้จัดเตรียม
เอาเครื่องใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จำเป็นในการ
ที่จะทำงานฌาปนกิจศพตามประเพณี ทั้งคน
เฒ่าคนแก่ หนุ่ม ๆ แข็งแรงก็ให้ไปด้วย ผู้มี
มีดพร้า ขวานจอบ เสียม ก็ให้เอาไปด้วยเช่นกัน
เพื่อจะได้ไปปราบพื้นที่ที่จะทำเป็นที่เผาศพ
ชั่วคราว สำหรับพวกที่มีพร้ามีขวานให้ไปตัดไม้
ที่มีขนาดให้หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากว่า ๆ มา
ทำเป็นไม้ข่มเหง (ไม้ข่มเหง สำหรับพาดข้าง
หีบศพบนเชิงตะกอนเพื่อกันไม่ให้ศพตกจาก
เชิงตะกอนว่าไม้ข่มเหง) หรือไม้ข่มหีบศพที่อยู่
บนกองฟอนไม่ให้ตกลงมาจากกองฟอนขณะ
ไฟกำลังลุกไหม้อยู่

ส่วนคนเฒ่าคนแก่รู้หลักในการที่จะทำเกี่ยว
กับศพ ก็เตรียมฝ้ายพื้นบ้านพร้อมด้ายสาย
สิญจน์เพื่อนำไปมัดตราสัง ภูไท (ชื่อชนกลุ่ม
หนึ่งของจังหวัดสกลนครที่อพยพมาจากฝั่ง
ซ้ายของแม่น้ำโขง มีนิสัยรักสงบ อยู่กันเป็น
กลุ่มตามเชิงเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผิวขาว
เหลือง มีภาษาพูดเฉพาะ เข่น ชาวบ้านหนอง
ผือ เป็นต้น) เรียกว่า มัดสามย่าน (คือห่อศพ
ด้วยเสื่อแล้วมัดเป็นสามเปลาะ โดยมัดตรงคอ ตรงกลางและตรงข้อเท้า) นอกจากนั้นก็มีธูป
เทียน ดอกไม้ กะบองขี้ไต้ น้ำมันก๊าด พร้อมทั้ง
หม้อดินสำหรับใส่กระดูกหลังจากเผาเสร็จ
เป็นต้น

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เมื่อฉันจังหันเสร็จ
และทำสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ได้ลุกจาก
อาสนะที่นั่ง เดินลงจากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพ
พระอาจารย์เนียม พระเณรทั้งหลายก็ติดตาม
ท่านไปด้วย ไปถึงท่านก็สั่งการต่างๆ ตามที่
ท่านคิดไว้แล้ว คือคล้าย ๆ กับว่าท่านจะเอาศพ
ของพระอาจารย์เนียมเป็นเครื่องสอนคนรุ่น
หลัง หรือทอดสะพานให้คนรุ่นหลัง ๆ ทั้ง
พระเณร พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านหนองผือ
เอาเป็นคติตัวอย่าง

ท่านจึงไปยืนทางด้านบนศีรษะของศพแล้ว
ก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อทั้งสองข้างของ
ศพ ทำท่าทางจะยกศพขึ้นอย่างขึงขังจริงจัง
พระเณรทั้งหลายเห็นกิริยาอาการของท่าน
อย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจความหมายว่าท่าน
ต้องการจะให้ยกศพหามไปที่กองฟอนเดี๋ยวนั้น
โดยไม่ต้องตกแต่งศพหรือทำโลงใส่เลย

ดังนั้น พระเณรทั้งหลายจึงพากันกรูเข้าไปช่วย
ยกศพนั้นจากมือท่าน หามไปที่กองฟอนซึ่งอยู่
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด เมื่อท่านพระ
อาจารย์มั่นเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้าช่วย
หามมากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้พระจัดการหาม
กันเอง ท่านเพียงแต่คอยสั่งการตามหลัง
เท่านั้น แล้วท่านก็เดินตามหลังขบวนหามศพ
นั้นไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกำลัง
ทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด

ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเดินไปอยู่นั้น
ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินถือฝ้ายพื้นบ้านเข้า
มาหาท่าน ท่านเห็นจึงหยุดเดินและถามขึ้นว่า

“พ่อออก ฝ้ายนั่นเอามาเฮ็ดอีหยัง..? ”
(หมายความว่าโยมจะเอาฝ้ายนั้นมาทำอะไร)

โยมนั้นก็ตอบท่านว่า “เอามามัดสามย่านแหล่ว
ข้าน้อย” (มัดตราสัง)

ท่านพูดขึ้นทันทีว่า “ผูกมัดมันเฮ็ดอีหยัง มันสิ
ดิ้นรนไปไส มันฮู้พอแฮงแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้น
ไว้ใช้อย่างอื่นสิยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟ
ทิ่มซะซือ”

(หมายความว่า ผูกมัดทำไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ้งเสียเปล่าๆ)

โยมคนนั้นก็เลยหมดท่า พูดจาอะไรไม่ออก
เก็บฝ้ายนั้นแล้วเดินตามหลังท่านพระอาจารย์
มั่นเข้าไปยังที่ที่เผาศพพระอาจารย์เนียม

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปถึงที่เผาศพแล้ว
มีโยมหนุ่ม ๆ แข็งแรงกำลังแบกหามท่อนไม้
ใหญ่พอประมาณ ยาว ๒ วากว่าๆ (ทางนี้เรียก
ว่าไม้ข่มเหง) มาที่กองฟอน ท่านพระอาจารย์
มั่นเหลือบไปเห็นจึงพูดขึ้นทันทีว่า

“แบกมาเฮ็ดหยังไม้นั่น… ? ”
(หมายความว่า แบกมาทำไมไม้ท่อนนั้น)

พวกโยมก็ตอบท่านว่า “มาข่มเหงแหล่วข้า
น้อย” (หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบน
กองฟอนเพื่อไมให้ศพตกออกจากกองไฟ)

ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า “สิข่มเหงมันเฮ็ดหยังอีก
ตายพอแฮงแล้ว ย่านมันดิ้นหนีไปไส”
(หมายความว่า จะไปข่มเหงทำไมอีกเพราะ
ตายแล้ว กลัวศพจะดิ้นหนีไปไหน)

พวกโยมได้ฟังเช่นนั้นก็เลยวางท่อนไม้เหล่า
นั้นทิ้งไว้ที่พุ่มไม้ข้าง ๆ นั้นเอง แล้วมานั่งลง
คอยสังเกตการณ์ต่อไป

ก่อนเผานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งให้พลิกศพ
ตะแคงขวา แล้วตรวจตราดูบริขารในศพโดย
ที่ไม่ได้ตบแต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมี
จีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบ
ไปเห็นสายรัดประคดเอวของศพ จึงดึงออกมา
โยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับพูดว่า

“นี่ประคดไหม ใครไม่มีก็เอาไปใช้เสีย”

แล้วท่านก็พาพระเณรสวดมาติกาบังสุกุล จน
จบลง แล้วจึงให้ตาปะขาวจุดไฟใส่กระบองแล้ว
ยื่นให้ท่าน เมื่อท่านรับแล้วพิจารณาครู่หนึ่งจึง
ไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นานไฟก็ติด
ลุกไหม้ขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้น สูง
ขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วในที่สุดไฟเริ่มใหม่ทั้ง
ฟืนทั้งศพ ทำให้ศพที่ถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน้ำมัน
หยดหยาดย้อยถูกเปลวไฟเป็นประกายวูบวาบ
พร้อมกับเสียงดังพรึบ ๆ พรั่บ ๆ ไปทั่ว จนที่สุด
คงเหลือแต่เถ้าถ่านกับกองกระดูกเท่านั้น เอง

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุก
อย่างเรียบร้อยแล้วจังหันหน้าเดินออกมาข้าง
นอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่าน
กำลังเดินออกมา ท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชาย
คนหนึ่งถือหม้อดินใหญ่ขนาดกลางกำลังเดิน
เข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้นทันทีว่า

“พ่อออก เอาหม้อนั้นมาเฮ็ดหยัง”
(หมายความว่า โยมเอาหม้อดินนั้นมาทำอะไร)

โยมคนนั้นตอบท่านว่า “เอามาใส่กระดูกแหล่ว
ข้าน้อย” (หมายความว่า เอามาใส่กระดูก
ขอรับ)

ท่านจึงชี้นิ้วลงบนพื้นดินพร้อมกับถามโยม
คนนั้นว่า “อันนี้แม่นหยัง” (หมายความว่า
อันนี้คืออะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดินขอรับ”

ท่านจึงชี้นิ้วไปที่หม้อดินที่โยมถืออยู่พร้อม
กับถามอีกว่า “นั่นเด้!เขาเอาอีหยังเฮ็ด”
(หมายความว่า นั้นเขาทำด้วยอะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดิน ข้าน้อย”

ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้นิ้วทำท่าทางให้ดูว่า
“นั่นก็ดิน นี่ก็ดิน ขุดลงนี้แล้วจึงกวาด ลงนี่ มันสิ
บ่ดีกว่าหรือ” (หมายความว่าหม้อใบนั้นก็ทำ
ด้วยดิน ตรงพื้นนี้ก็ดิน ขุดเป็นหลุมแล้วให้กวาด
กระดูกและเถ้าถ่านต่าง ๆ ลงด้วยกันจะไม่ดีกว่า
หรือ) ท่านจึงบอกให้โยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้
ใช้ โดยบอกว่า

“ให้เอาหม้อใบนั้นไปใช้ต้มแกงอย่างอื่นยังจะ
มีประโยชน์กว่าที่จะเอามาใส่กระดูก”

เมื่อโยมได้ฟังเช่นนั้น จึงนำหม้อดินไปเก็บไว้
ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป

#คัดลอกปกิณกธรรมจากหนังสือ
“บูรพาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร”
โดยท่านพระอาจารย์พยุง ชวนปัญโญ

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: