2043.พระครูสุนทรมุนี (จัน) แห่งวัดโบสถ์ ศิษย์หลวงพ่อเฒ่า วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์

พระครูสุนทรมุนี (จัน) แห่งวัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี นั้นท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองอุทัย ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕
สมณศักดิ์เดิมคือ พระครูอุไททิศธรรม ก่อนที่จะได้รับการตั้งแต่งให้เป็น พระครูสุนทรมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองอุทัย ซึ่งเสด็จพ่อรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสต้นมากราบท่านถึง ๒ ครั้ง โดยได้ถวายบาตรฝาประดับมุก บาตรเนื้อลงหิน บาตรเคลือบ ย่ามเสด็จประพาสยุโรป หม้อน้ำกระโถนปากแตร แจกัน เป็นต้น(ปัจจุบันยังคงอยู่ที่วัด) ส่วนหลวงพ่อจันก็ได้สร้างแพโบสถ์น้ำขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ มีหน้าบันมีป้ายวงกลมจารึกภาษาบาลี “สุ อาคต เต มหาราชา” แปลว่า มหาราชาเสด็จฯ มาดี อีกทั้งยังหล่อพระเนื้อเงินไว้ ๒ องค์เพื่อถวายรัชกาลที่ ๕ ไว้ด้วย แต่พระองค์ท่านไม่รับโดยรับสั่งให้เก็บไว้เพื่อให้ราษฎรไว้บูชาต่อไป(อยู่ที่วัด ๑ องค์ อีกองค์ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน) ซึ่งท่านถือว่าเป็นพระสงฆ์ตามหัวเมืองที่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับรัชกาลที่ ๕ อีกองค์หนึ่ง โดยในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ นี้หลังจากที่พระองค์ท่านได้กราบหลวงพ่อจันแล้ว เสด็จพ่อรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปกราบหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ซึ่งหลวงพ่อเงินได้รดน้ำมนต์ถวายด้วย

ในส่วนของวิทยาคมนั้น หลวงพ่อจันท่านได้สืบสายวิชามาจากหลวงพ่อเฒ่า วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวคือ
หลวงพ่อเฒ่า วัดหนองโพธิ์ ท่านมีศิษย์ที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำนวนหลายท่าน แต่นับเฉพาะที่มีชื่อเสียงบารมีธรรม ก็มี
1.หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ซึ่งศิษย์ท่านที่มีชื่อ กล่าวคือ หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง หลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง
2.หลวงพ่อสุก วัดยางตาล ซึ่งศิษย์ท่านที่มีชื่อ กล่าวคือ หลวงพ่อสิน วัดบางปราบ
3.หลวงพ่อปาน วัดท่้าซุง ซึ่งศิษย์ท่านที่มีชื่อ กล่าวคือ หลวงพ่อจัน วัดโบสถ์
ซึ่งต่อมา ชาวบ้านหนองโพหลายคนได้พากันมาศึกษาสรรพวิชาจากหลวงพ่อจัน วัดโบสถ์ เช่น พระอาจารย์เรี่ยม นายคอน ขจรกล่ำ นายแป้น ชูจันทร์
นายยิ้ม ศรีเดช อดีตมรรคนายกวัดหนองโพ และหลวงพ่อเภา วัดหางน้ำสาคร ส่วนศิษย์สายอุทัยที่เด่นชัด คือ หลวงพ่อป็อก วัดโบสถ์ นั่นเอง

เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้เห็นว่าวิชาอาคมต่างๆ ที่เหล่าบรรดาพระเถราจารย์ต่างๆ ในสายจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท รวมถึงสิงห์บุรี จะมีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดจากรุ่น
สู่รุ่น ดังจะเห็นจากการลงอักขระเลขยันต์ของพระเถราจารย์ในละแวกนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน ดังเช่น การใช้ยันต์นะซ่อนหัว เป็นต้น
……………….
ที่มา​ “เล่า​ เรื่อง​ พระ”

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: