2001.ตามรอยตำนาน หลวงปู่ทิม วัดราชธานี อาจารย์หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย

ตามรอยตำนาน หลวงปู่ทิม วัดราชธานี อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย หนึ่งในบูรพาจารย์ผู้รวบรวมสมบัติชาติเพื่ออนุชนรุ่นหลัง หนึ่งในพระอาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของ หลวงพ่อปี้(พระครูสุวิชานวรวุฒิ) วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย

ท่านเจ้าคุณ พระราชประสิทธิคุณ(ทิม) หรือ พระโบราณวัตถาจารย์ เดิม ชื่อ “ขาว” ชื่อสกุล มุ่งผล เกิดวันที่ เท่าไรไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่า เกิดวันเสร์ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ที่บ้านไผ่ดำ ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง(ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ตำบลบางจัก ขึ้นกับ อำเภอวิเศษไชยชาญ) โยมบิดาของท่านชื่อ นายแป้น โยม มารดาของท่านชื่อ ทองอยู่ มีอาชีพทำนา พระราชประสิทธิคุณ มีพี่น้องรวมท้องกัน ๔ คน คือ

๑. นายปาน
๒. นางลับ
๓. นายขาว หรือ ทิม(พระราชประสิทธิคุณ)
๔. นางบุญรอด

ตาม ประวัติของท่านปรากฏว่า โยมมารดานั้นมีบุตรเป็นระยะ คือ ๓ ปี ต่อ ๒ คน ติดต่อกัน จนต่อมาเมื่อ คลอดบุตรคนสุดท้องแล้ว โยมมารดาได้ถึงแก่กรรม ขณะอยู่บนกระดานไฟ โดยเป็นโรคอหิวาตกโรค โยมบิดาจึง ได้ส่งน้องสุดท้องให้พวกญาติไปเลี้ยงไว้ที่บ้านบางแพ โดยยกให้เป็นลูกของญาติเลย ส่วนศพโยมมารดาได้นำ ไป เผาที่วัดมหาดไทย (ตำบลมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง) เด็กชายขาวยังเล็กนักไม่ทราบความ ก็วิ่งตาม ป้าจิ้ว ซึ่งอยู่ ทางท้ายบ้านไผ่ดำไป โดยเข้าใจว่าเป็นแม่ของตน จนพวกญาติต้องไปตามตัวคืนมา ต่อมาในไม่ช้า บิดาได้นำ เด็กชายขาว ไปฝากพระอาจารย์อ่ำไว้ที่วัดมหาดไทย เพราะก่อนเมื่อมารดาจะตายนั้น ได้สั่งให้โยมบิดา ให้นำ เด็กชายขาวไปฝากกับพระอาจารย์อ่ำ ที่วัดมหาดไทยให้ได้ เด็กชายขาวจึงอยู่วัดแต่นั้นมา

ในวัยเด็ก เหตุที่เด็กชายขาวจะเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชายทินนั้น ก็เพราะเมื่อมารดาถึงแก่กรรมใหม่ ๆ ปู่ทวด ได้อุปการะอยู่ วันหนึ่งเด็กชายขาวนั่งอยู่กับปู่ทวด เด็กชายขาวซึ่งพอรู้ความแล้ว เห็นไฝเม็ดหนึ่งอยู่ที่ใต้คางของปู่ เขาจึงเอามือจับดู แล้วถามว่านี่คืออะไร? ปู่ตอบว่า “เม็ดทับทิม” เด็กชายขาวบอกว่าอยากได้ ปู่จึงยกให้ แล้วปู่ทวด จึงบอกแก่คนทั่วไปว่า ต่อไปอย่าให้ใครเรียกว่าเด็กชายขาวอีก ให้เรียกว่า เด็กชาย “ทิม” นับแต่นั้นมาเด็กชายขาว จึงมีนามใหม่ตามที่ปู่ทวดตั้งให้

ส่วน นายปาน พี่ชายนั้น โยมบิดาเอาไปฝากไว้กับ หลวงพ่อพูล พระอุปัชฌาย์ วัดประสาทบ้านแพ ตำบล ตะพุ่น(ปัจจุบันคือ ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) และเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ไปจำ พรรษาที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ ได้เล่าเรียนหนังสือขอม สำหรับเด็กชายทิมนั้น เมื่อมาอยู่วัดมหาดไทย ก็ได้เล่าเรียนหนังสือไทย หนังสือขอม จนพออ่านออกเขียนได้ ต่อมาพระอาจารย์อ่ำได้ย้าย ไปอยู่ที่วัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษไชยชาญ เด็กชายทิมก็ได้ตามพระอาจารย์อ่ำไปอยู่ที่วัดนั้นด้วย พอออกพรรษา แล้วพระ อาจารย์อ่ำก็ล่องเรือลงมาที่กรุงเทพฯ เด็กชายทิมก็ได้ติดตามอาจารย์ลงมาเยี่ยมญาติที่คลองราชบูรณะ และ ไปอยู่ ที่วัดเสือรอด (เข้าใจว่าเป็น วัดสารอด ฝั่งธนบุรี) และเข้าเรียนหนังสือ ต่อมาสอบได้ชั้น ๒ ที่โรงเรียน วัดนวลนรดิศ คลองบางหลวงแล้ว พระพี่ชายก็มารับไปไว้ที่วัดสุทัศเทพวรารามด้วยกัน และได้บวชเณรเรียน หนังสือไทยชั้น ๓ มีพระครูเงิน เป็นครูใหญ่ เมื่อสอบไล่ชั้น ๓ แล้วก็จำต้องสึกจากเณรเพื่อกลับบ้านไผ่ ที่อ่างทอง ไปช่วยโยมบิดาทำ นาจนอายุได้ ๒๐ ปี จึงไปบวชที่วัดประสาท กับพระอุปัชฌาย์พูล, พระอาจารย์หร่ำ วัดประสาท กับพระอาจารย์แพ วัดมหาดไทย เป็นพระคู่สวด พอบวชเสร็จแล้วก็ล่องเรือลงมาที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กับ พระปานผู้เป็นพี่ชายอีก พอดีใกล้เข้าพรรษาที่วัดสุทัศน์ฯ ปิดบัญชีรับพระเสียแล้ว ไม่รับอีกต่อไป พระพี่ชายจึงพา ไปฝากไว้ที่วัดเทวราช-กุญชร เขตดุสิต กรุงเทพฯ กับพระประสิทธิคุณ(แดง) เจ้าอาวาสวัดสมอแคลง(คือ วัดราชาธิวาสวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพฯ) ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วบรรดาพวกญาติ ๆ ได้นิมนต์ให้มาจำพรรษา ที่วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ(เขตบางกอกใหญ่ ธนบุรี) ได้เรียนบาลีกับพระอาจารย์คง อยู่ ๒ ปี จากนั้นย้ายมาอยู่ ที่วัดอนง คาราม (เขต คลองสาน ธนบุรี) เรียนมูลกับ พระอาจารย์ดิสส์ ลูกศิษย์พระอาจารย์ช้าง แล้วเรียนบาลีธรรมบท กับพระอาจารย์ ชวด และพระอาจารย์หนู จบ ๒ บั้นต้น บั้นปลาย หลังจากนั้นช่วยบอกหนังสือขอมแก่นักเรียน และนักธรรมบ้าง เป็นครั้งคราว

ต่อมาท่านเจ้าคุณธรรมโกษาจารย์ เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก ได้ตั้งให้เป็นฐานาที่สมุห์ แล้วให้ไป คอยรับ เสด็จ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่คลองบางปะกอก บางปะแก้ว ธนบุรี เมื่อสมเด็จ พระ-มหาสมณเจ้าฯ เสด็จถึงวัดทุ่ง (ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน) ได้มีโอกาสในการเข้าเฝ้าสมเด็จฯ ท่านอย่างใกล้ชิด สมเด็จฯ ท่านโปรดในข้อวัตรปฏิบัติของพระทิมเป็นอันมาก จึงได้ส่งพระทิม ซึ่งเมื่อบวชแล้วมีฉายาว่า “ยสทินฺโน” ไปเป็น เจ้าคณะแขวง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำพรรษาอยู่ที่วัดราชธานี ในตัวเมืองสุโขทัย(เดิม ชื่อว่า “วัดป่าละเมาะ” เพราะเต็มไปด้วยป่าละเมาะ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดท่า” เพราะมีท่าเรือข้ามฟากไปมาค้าขาย ระหว่างคลอง แม่รำ-พัน กับแม่น้ำยม ต่อมาในสมัยพระราชธานีมาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดนี้แล้ว จึงเปลี่ยน ชื่อว่า “วัดราชธานี” สืบมาจนปัจจุบัน วัด ราชธานีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นวัดประจำเมืองสุโขทัย ใน สมัยพระ-บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น พิธีถือน้ำพิพัฒน์-สัตยา เป็นต้น) และเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เสด็จตรวจคณะสงฆ์ภาคเหนือ ครั้งใด พระทิมก็ได้ไปรับเสด็จ ทุกคราวไป ครั้นเมื่อสมเด็จฯ ท่านถึง สุโขทัย ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราชธานี ในพรรษานั้นได้จัดตั้งโรงเรียน นักธรรมชั้นตรีขึ้น มีพระเข้าเรียน ๑๘ องค์ ต่อมาเข้าสอบที่สนาม หลวงได้ ๑๐ องค์ ในปีต่อมาก็มีนักเรียนเพิ่มมาก ขึ้นทุกปี จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น ๑ หลัง มี ๒ ชั้น ชื่อว่า “โรงเรียนวินัยสารวิทยา” และต่อมาได้ถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ในระยะจัดตั้งโรงเรียนนี้ พระสมุห์ทิม ได้เป็นพระครูชั้นประทวน อยู่ ๘ เดือน ก็ได้รับตราตั้งเป็นอุปัชฌาย์ อยู่ ๘ เดือน ก็ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระครูวินัยสาร เจ้าคณะแขวง อำเภอเมืองสุโขทัย และได้รับหน้าที่รักษาการ เจ้าคณะแขวง อำเภอกงไกรลาศ (เดิมเป็นเมือง แล้วยุบเป็น อำเภอบ้านไกร จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอกงไกรลาศ) อีก ๑ แขวง รวมเป็น ๒ แขวงด้วยกัน

ในปีที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เสด็จมาที่วัดราชธานี ได้เห็นพระพุทธ-รูปศิลาประทับยืนสมัยทวารวดี ซึ่งมีขนาดใหญ่โต งดงาม มีพระประสงค์จะใคร่ได้ไปไว้ในพิพิธภัณฑสถาน แห่ง ชาติ กรุงเทพฯ พระครูวินัยสาร(ทิม) จึงถวายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไป สมเด็จฯ จึงสั่งให้พระยาวิชัย ประกาศ ข้าหลวงจังหวัดสุโขทัยในสมัยนั้น นำส่งกรุงเทพฯ ทางน้ำ โดยต่อแพขนาดใหญ่ แต่เดิมพระพุทธรูปศิลา องค์นี้ ได้เคยอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัยมาก่อน นับเป็นโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีที่ชัดเจนชิ้นแรก ที่พบใน เมืองเก่าสุโขทัย

หลังจากพระครูวินัยสาร(ทิม) มอบพระพุทธรูปศิลาแก่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้ว ทรงเห็นว่า พระครูวินัยสารเป็นผู้ใฝ่ใจเก็บรักษาวัตถุโบราณเป็นอันดียิ่ง จึงทรงโปรดให้ดูแลรักษาวัดต่าง ๆ ในเขตสุโขทัย ตลอดจนสวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย) ด้วย คราวหนึ่งพระครูวินัยสาร(ทิม) ได้ไปตรวจวัดเก่าต่าง ๆ ที่เมืองสวรรคโลก และศรีสัชนาลัย พบว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดพระปรางค์ นั้น ตั้งอยู่ในที่ล่อแหลม ใกล้อันตรายมาก เพราะฝั่งตลิ่งที่ตั้งพระปรางค์นั้น ในหน้าน้ำ ตลิ่งจะถูกน้ำเซาะพังทุกปี พระครูวินัยสารได้จัดหา เงินมาได้ ๕,๐๐๐ บาท โดยเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงทราบเรื่องก็ประทานเงินมาให้พระครูวินัย-สารอีกด้วย และได้ทำรอใหญ่ขึ้น ๔ แห่ง ซึ่งรอแห่งหนึ่งตั้งอยู่เหนือพระปรางค์ทำให้หาดทรายใหญ่ขึ้น และได้ทับ ถมกันน้ำไม่ให้กัดตลิ่งได้ ส่วนอีก ๓ แห่งได้ผลน้อย เพราะเหตุว่าบริเวณบ้านวังยายมาก มีหัวแหลมเป็นหาดใหญ่ ตรงกับพระปรางค์พอดีทำให้สายน้ำเป็นอันตรายต่อองค์พระปรางค์ และทำให้รอทั้ง 3 แห่งพัง ถ้าไม่กำจัดหาดทราย นี้เสียก็จะเป็นอันตรายแก่พระปรางค์อยู่อย่างนั้นเอง สมควรจะจัดหารถแทรกเตอร์ดันทรายออกจากที่นั้นเสีย น้ำก็ จะไหลไปทางอื่น จะทำให้พระปรางค์คงทนถาวรไปอีกนาน

ความตั้งใจของพระครูวินัยสาร(ทิม) ตรงกับความคิดเห็นของกรมศิลปากรอยู่แล้ว ในการที่จะป้องกันรักษา องค์พระปรางค์ ทางกรมศิลปากรจึงได้จัดหางบประมาณและมอบให้หน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัยจัดสร้างรอคอน-กรีตยาว ๕๐ เมตร ขึ้นตรงที่น้ำพัดตลิ่งพัง และใช้รถแทรกเตอร์ตัดทางน้ำใหม่ ตรงบริเวณบ้านวังยายมากด้วย แต่ บังเอิญในปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เกิดอุทกภัยและวาตภัยครั้งใหญ่ขึ้นเกือบทั่วประเทศ ทำให้รอคอนกรีตและทางน้ำ ที่ทำขึ้นใหม่ใช้ไม่ได้ผล กรมศิลปากรจึงได้ขวนขวายจัดหาเงินใหม่จนรัฐบาลได้ให้งบประมาณมาอีก ๑ ล้านบาท-เศษ กรมศิลปากรได้มอบให้กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างเขื่อนหินป้องกัน ตลิ่งพังขึ้น จนแล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และได้ผลมาจนทุกวันนี้

จากวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี พระสมุห์ทิม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอเมืองสุโขทัย และ อำเภอกงไกรลาศ โดยท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐

พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับสัญญาบัตรเป็นพระครูวินัยสาร เจ้าคณะแขวง มีนิตยภัต ๖ บาท
พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูวินิจฉัยพุทธบัญญัติ ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด สุโขทัย
พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ มีนามว่า “พระโบราณวัตถาจารย์” เป็นกรรมการ สงฆ์จังหวัด ตำแหน่งสาธารณูปการ และตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) อำเภอ ศรีสัชนาลัย
พ.ศ. ๒๕๐๘ วันที่ ๘ พฤษภาคม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย

ภาระกิจสำคัญในชีวิตของท่าน เจ้าคุณพระราชประสิทธิคุณ ก็คือ ท่านเป็นผู้ที่สนใจในโบราณวัตถุ และ โบราณสถานต่าง ๆ ที่เมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าสวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย) เป็นอันมาก อีกทั้งท่านได้จัดการขุดลอก สระตระพังทอง ซึ่งเป็นสระใหญ่ ที่สำคัญและมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า ตระพังโพยสี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นครั้งแรก และจากนั้นเมื่อมีทุนทรัพย์คราวใด ท่านก็พยายามลอกให้ลึกอยู่เสมอ ทำให้ราษฎรที่เมืองเก่า ได้มีน้ำที่สะอาดใช้สอยตลอดมา นอกจากนี้ท่านยังได้จัดการซ่อมแซม อุดรอยที่ผู้ร้ายลักลอบขุดค้นตามเจดีย์ วัด ต่าง ๆ ทั้งใน และนอกเขตเมืองเก่าสุโขทัย เช่น วัดพระบาทน้อย, วัดมหาธาตุ, วัดตระพังทอง, วัดศรีชุม, วัด-สะพานหิน เป็นต้น ในการนี้กรมศิลปากรได้ถวายเงินให้แก่ท่าน ในการดูแล รักษาโบราณสถานต่าง ๆ เป็นเงิน ปี ละ ๒๐๐ บาทด้วย ต่อมาท่านได้มอบโบราณวัตถุที่ท่านได้รวบรวมไว้ตามพระกระแสรับสั่งของสมเด็จ พระบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ ครั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็น เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้แก่กรมศิลปากร และ กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑ์วัดราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และต่อมาได้ย้ายโบราณวัตถุต่าง ๆ ไปไว้ในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ปรากฏโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พระราชประสิทธิคุณมอบให้ถึง ๑,๙๓๐ รายการ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้มอบเพิ่มเติมอีกจำนวน ๒ รายการ ซึ่งอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง นี้ ได้จัดสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗

ระหว่างที่ทางราชการบูรณะเมืองเก่าสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๔๙๙ ท่าน เจ้าคุณ พระราชประสิทธิคุณ(ทิม) หรือ พระโบราณวัตถาจารย์ ได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรอยู่ตลอดเวลา อย่างมิเห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย มีอยู่หลายครั้งที่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรขอให้ท่านนำไปสำรวจโบราณสถานต่าง ๆ ท่านก็เต็มใจนำเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรบุกป่า เข้าไปจนถึงโบราณสถานนั้น ๆ ทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง โบราณสถานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

แม้เมื่อเข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว คือเมื่อมีอายุได้ประมาณ ๘๐ ปีเศษ ก็ยังหมั่นดูแลโบราณวัตถุต่าง ๆ ใน พิพิธภัณฑ์ และโบราณสถานต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ และยังให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือแก่หน่วยศิลปากรสุโขทัย หรือ ขอให้ท่านช่วยเหลือในกิจการที่เกี่ยวกับพระศาสนาอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเมื่อท่านนึกสิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์แก่ คนรุ่นหลังได้ ท่านก็จะรีบบอกเพราะจะลืม อย่างคราวหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งเป็นระยะที่ ท่านเพิ่งฟื้นจากอาพาธใหม่ ๆ ได้เดินทางไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ฯ รามคำแหง และเล่าเรื่องราวของหลวงพ่อธรรมจักร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่วัดราชธานี ว่าเดิมพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ที่วัดไทยชุมพล ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสำนัก งานเทศบาลเมืองสุโขทัยธานีในปัจจุบัน ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมัยเมื่อเสด็จ ตรวจคณะสงฆ์ทางภาคเหนือ ได้ดำรัสสั่งให้พระยาราม ข้าหลวงเมืองสุโขทัยในครั้งนั้น นำมาไว้ที่วัดราชธานี และ ได้อยู่ที่วัดนี้มาจนปัจจุบัน

แม้เมื่อเวลาจะเดินทางไปที่ใด เจ้าคุณ พระราชประสิทธิคุณ ท่านก็ไม่นิยมให้มีผู้ติดตามไปมาก มีอุปนิสัย หนักแน่นมั่นคง การอาพาธของท่านเริ่มขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ กล่าวคือ ท่านรู้สึกเจ็บคอมากขึ้นเป็นลำดับ ท่านจึง เดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นเวลา ๓ อาทิตย์ ต่อมาย้ายไปอยู่ที่โรงพยาบาลมิชชั่น อีกประมาณ ๑ เดือน อาการยังไม่ดีขึ้น จึงย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช อีก ๒ เดือนเศษ ในระยะนี้ฉันอาหารไม่ได้ จึงต้องใส่ สายยางทางลำคอ เมื่ออาการทุเลาจึงกลับวัดราชธานี

ในปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ พระราชประสิทธิคุณได้ไปเยี่ยมบ้านเกิดที่จังหวัดอ่างทอง เพื่อดูการก่อ สร้างพระประธานพรที่วัดมหาดไทย ซึ่งท่านได้สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ของท่าน ๑ องค์ สูงประมาณ ๑๒ เมตร และยัง ไม่เสร็จ พอดีได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในตัวจังหวัดสุโขทัย เพลิงได้ลุกลามไปอย่างกว้างขวาง ลุกไหม้สิ่งก่อ สร้างในวัดไปมากมาย เช่น โบสถ์ วิหาร โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ กุฏิสงฆ์ จำนวนหลายหลัง นับเป็นความเสียหายครั้ง ยิ่งใหญ่ของจังหวัด และของวัดราชธานีด้วย ท่านได้รีบเดินทางกลับวัดราชธานีในวันที่ ๒๘ มีนาคม เมื่อมาถึงวัด ก็ ได้ประชุมพระสงฆ์เพื่อขยับขยายจัดที่ทางสำหรับพระสงฆ์จำพรรษา และจัดหาทุนทรัพย์สำหรับก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ใหม่

อาการป่วยของท่านก็เป็นบ้างหายบ้างตลอดมา จนกระทั่งในภายหลังสามารถฉันอาหารได้ทางปาก จึงได้ ถอดสายยางออก ในระยะนี้ท่านเป็นโรคหวัดบ่อยครั้งก็ไปตรวจรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสุโขทัย บ้าง โรงพยาบาลบ้าง แล้วก็กลับวัด ต่อมาในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพฯ ประสงค์จะไปโรงพยาบาล ศิริราช เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจประมาณ ๒ – ๓ เดือน ต่อ ๑ ครั้ง ตามปกติ แต่ท่านก็ได้แวะไปเยี่ยมบ้านอ่างทองก่อน เนื่องจากท่านเป็นห่วงเรื่องการสร้างพระประธานพรของท่าน ที่วัดมหาดไทยว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์หรือไม่ แต่พระ ประธานพรก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ และท่านได้สั่งให้ญาติโยมจัดงานปิดทองพระประธานพรประจำปีที่วัดมหาดไทย ทุก ๆ ปี ท่านพักอยู่วัดมหาดไทย ๒ วัน ก็พอดีถึงแก่มรณภาพโดยลมโรคลมปัจจุบันใน วันพุธ ที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ในขณะที่กำลังฉันอาหารเช้า บรรดาญาติโยม และศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันจัดการตั้งศพสวดที่วัดมหาดไทย จังหวัดอ่างทอง รวม ๓ คืน แล้วญาติและศิษยานุศิษย์ที่จังหวัดสุโขทัย ได้นำศพของท่านกลับถึงวัดราชธานี จังหวัด สุโขทัย ในวันที่ ๒๖ กันยายน ท่านเจ้าคุณ พระราชประสิทธิคุณ(ทิม) หรือ พระโบราณวัตถาจารย์ สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี

ขอบคุณที่มา เล่า เรื่อง “พระ ”
แอพเกจิ แอพรวมเรื่องราวประสบการณ์จริง เกี่ยวกับ พุทธคุณ ไสยศาสตร์ วิชาอาคม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: