1858.ประวัติหลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร ศิษย์สำเร็จลุน

หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร

พระอาจารย์ใหญ่ตู๋ ธัมสาโร วัดสุขาวาส เกิดที่บ้านเวียง ต.กระเดียน อ.ตระการพืชผล .อุบลราชธานี เดือน 12 ปีวอก พ.ศ.2426 เกิดในสกุล วงศ์คำเป็นบุตรคนสุดท้อง บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมตอนท่านอายุ 6 ขวบ เมื่อท่านอายุได้ 8 ขวบพี่สาวได้นำท่านมามอบให้แด่พระอาจารย์เคน ท่านได้อยู่ศึกษาพระธรรมกับพระอาจารย์เคนจนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีอาจารย์เคน เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้มาร่ำเรียนกับญาท่านสีดาแห่งวัดสิงหาญ สมัยก่อนนั้นถ้าพูดถึงพระภิกษุผู้มีอุโฆษแห่งนามของเมืองขุหลุ(อำเภอตระการพืชผลปัจจุบัน)นั้น จะมีอยู่ 2 รูปด้วยกันคือ ญาท่านลุนหรือสำเร็จลุนท่านบวชเรียนที่บ้านสะพือตั้งเเต่เป็นเณร ท่านจะไปๆมาๆระหว่างบ้านสะพือและบ้านเวินไซ จำปาศักดิ์ และ ญาท่านสีดา(สำเร็จสีดา)แห่งวัดสิงหาญ บ้าน พูดถึงสำเร็จลุนและสำเร็จสีดาท่านทั้งสองเปรียบเสมือนพี่น้องกันเพราะท่านทั้งสองได้ รับการอบรมเลี้ยงดูโดยญาท่านอุตตมะ ปฐมาจารย์ใหญ่แห่งวัดสิงหาญ ญาท่านอุตตมะในสมัยอดีตคือผู้ที่ถูกประมวลด้วยความลี้ลับและอิทธิฤทธิ์มากมาย สำเร็จลุนและสำเร็จสีดาอยู่ภายใต้การดูแลของญาท่านอุตตมะผู้เป็นอาจารย์ ญาท่านอุตตมะนั้นมีศักดิ์เป็นอาของสำเร็จลุนเพราะท่านคือน้องชายแท้ๆของบิดาสำเร็จลุน สำเร็จลุนเองจริงๆก็บวชเรียนที่วัดสิงหาญ บ้านสะพือ

โดยมีญาท่านอุตตะมะเป็นพระอุปัชฌาย์ครับ ก็กล่าวถึงญาท่านอุตตมะและสำเร็จลุนแต่เพียงเท่านี้ก่อน มีพระภิกษุอีกสองรูปซึ่งจะไม่กล่าวถึงท่านเลยนั้นเห็นจะไม่ได้เพราะท่านมีความสำคัญอ ย่างยิ่งยวดในสายของสำเร็จลุน คือ 1ญาท่านแพง 2ญาท่านตัน แห่งวัดสิงหาญ ญาท่านแพงเป็นคนเชื้อสายบ้านสะพือ ญาท่านตันเป็นคนเชื้อสายบ้านนาเอือดแต่มาโตที่บ้านสะพือ ส่วนญาท่านตู๋นั้นเป็นคนบ้านเวียง ท่านทั้งสามนั้นเป็นสหายกันมาตั้งแต่วัยหนุ่ม ญาท่านตู๋และญาท่านแพงนั้นอายุเท่าๆกัน ญาท่านแพงจะอ่อนกว่าญาท่านตู๋อยู่ 1 ปี ส่วนญาท่านตันจะอ่อนกว่าท่านทั้งสองอยู่ 6-8 ปี ญาท่านแพงและญาท่านตันได้บวชเรียนที่วัดสิงหาญ บ้านสะพือ ภายใต้การอบรมสั่งสอนของญาท่านสีดา ทำให้ท่านทั้งสามคือศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันคือญาท่านสีดา หลังจากท่านทั้งสามได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆจากญาท่านสีดาแห่งวัดสิงหาญจนหมดสิ้น ญาท่านสีดาจึงแนะนำใหศิษย์ทั้งสามไปหาญาท่านลุน(สำเร็จลุน)แห่งวัดบ้านเวินไซ

พอดีกับช่วงเวลาที่สำเร็จลุนธุงดงค์มาบ้านสะพือเพื่อมาเยี่ยมเยือนสหายรักของท่านคือ ญาท่านสีดา ดังนั้น ญาท่านตู๋ ญาท่านแพง ญาท่านตันจึงได้พบกับสำเร็จลุนครั้งแรกโดยการแนะนำของญาท่านสีดาผู้เป็นอาจารย์ของท่ านทั้งสาม ญาท่านตู๋ ญาท่านแพงและญาท่านตันซึ่งขณะนั้นยังป็น พระตู๋ พระแพง และพระตัน รวมทั้งพระที่เป็นลูกศิษย์ของญาท่านสีดาอีกหลายองค์อาทิ พระพู และพระบัณฑิต จึงได้เรียนกับสำเร็จลุนที่วัดสิงหาญอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็ถึงเวลาที่สำเร็จลุนต้องกลับจำปาศักดิ์ สำเร็จลุนจึงเอ่ยกับพระหนุ่มทั้งหลายว่า ว่าถ้าเจ้าทั้งหมดอยากได้ดีกว่านี้จงตามอาตมาภาพกลับไปที่นครจำปาศักดิ์ บรรดาพระหนุ่มไม่ลังเลใจตามสำเร็จลุนไปเพราะอาจารย์ผู้นี้ได้แสดงอภินิหารหลายอย่างให้เห็น ญาท่านตู๋ ญาท่านแพง ญาท่านตัน ญาท่านพู ญาท่านบัณฑิตและพระรูปอื่นๆจึงได้ตามสำเร็จลุนไปนครจำปาศักดิ์

ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบจริงๆว่าเป็นสถานที่แห่งใดในนครจำปาศักดิ์ หรือบางทีนั่นอาจจะเป็นภูเขาควาย ตักศิลาแห่งตำนานก็เป็นไปได้เพราะสมัยก่อนพระภิกษุผู้ต้องการเรียนวิชาต่างก็ดั้นด้น ตามหาสถานที่แห่งนี้กันทั้งนั้น พระหนุ่มทั้งหลายจึงได้ศึกษาสรรพวิชาต่างๆกับสำเร็จลุนที่นครจำปาศักดิ์อยู่หลายพรรษ า แล้วแต่ว่าผู้ใดจะได้สรรพวิชาแขนงไหนไป หลังจากนั้นไม่นานได้มีเสียงร่ำรืออย่างหนาหูจากฝั่งลาวว่า พระหนุ่มทั้งหลายได้สำเร็จวิชาจากนครจำปาศักดิ์ ทั้ง พระตู๋ พระแพง พระตัน และรูปอื่นๆ ท่านทั้งหลายคือปรมาจารย์ผู้เผยแพร่สรรพวิชาสายสำเร็จลุนมิให้สาบสูญไป

ศิษย์ของหลวงปู่ญาท่านตู๋มีอยู่หลายองค์ ส่วนใหญ่จะอยู่จำปาศักดิ์และอุบลราชธานีโดยเฉพาะในเขต อำเภอตระการพืชผล เขมราฐ ศรีเมืองใหม่ โพธิ์ไทร โขงเจียม และตาลสุม อาทิ หลวงปู่ญาท่านทอง วัดบ้านหัวเรือ หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ วัดสระ หลวงปู่โทน กันตะสีโล หลวงปู่ดี ภัทธิโย หลวงปู่พระครูภูมาภิบาล หลวงปู่ภู ถาวโร หลวงปู่ลี อุตตโร หลวงปู่ศรี สุเมโท หลวงปู่บุตร วัดสำราษวราราม และองค์อื่นๆอีกมากมาย

การเดินธุดงค์ของหลวงป่ญาท่านตู๋ ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟัง ท่านได้ธุดงค์ไปหลายๆประเทศ อาทิเช่น ลาว ญวน พม่า และประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ ธุดงค์ไปกับญาท่านสีดา(สำเร็จสีดา)และญาท่านลุน(สำเร็จลุน) โดยมีคณะผู้ร่วมเดินทางคือ ญาท่านกัมมัฏฐานแพง ญาท่านตัน ญาท่านพู ญาท่านบัณฑิต และพระสหายที่จำปาศักดิ์อีกหลายรูป หลังจากสิ้นพระอาจารย์ทั้งหลายของหลวงปู่ญาท่านตู๋ ท่านจะธุดงค์ไปกับพร้อมกับบรรดาศิษย์ของท่าน อันได้แก่ พระดี ภัทธิโย พระผุย บ้านกระเดียน พระภู บ้านคำสมิง พระภู บ้านกองโพน พระฤทธิ์ วัดสระกุศกร พระโทน วัดบูรพา พระแสง บ้านหนองผือเขมราฐ พระลี(พระครูพนาภินันท์)พระทอง บ้านหัวเรือ หลวงปู่สี สุเมโท วัดสิงหาญ หลวงปู่บุตร วัดสำราษราฐ และองค์อื่นๆอีกหลายรูป หลวงปู่ญาท่านตู๋ท่านได้ธุดงค์อยู่หลายปีทีเดียว ครั้นอยู่ต่อมาเมื่อประมาณปี 2482-2483 สงครามอินโดจีนสงบลง ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิด

หลวงปู่ญาท่านตู๋เป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติไม่สนใจยศฐาบรรดาศักดิ์และไม่ยอมร ับตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ถึงแม้จะมีคนมอบให้ก็ไม่ยอมโดยมอบหมายให้หลวงปู่ญาท่าน ลี ซึ่งเป็นศิษย์คนสนิทของท่านรับตำแหน่งแทน หลวงปู่ญาท่านตู๋เป็นพระผู้มากล้นด้วยบุญบารมีและอิทธิฤทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของคนอำ เภอตระการพืชผล ในสมัยท่านยังมีชีวิตได้ทำประโยชน์คุณูปมาการแก่บ้านเกิดของท่านอย่างมากมาย โดยการเป็นผู้นำลูกหลานพัฒนาบ้านเกิดซึ่งไม่สามารถนำมาบรรยายได้หมด ขอยกตัวอย่างดังนี้ อาทิ

1. ปี พ.ศ.2487 ได้นำชาวบ้านรื้อโบสถ์หลังเก่าออกและเริ่มสร้างโบสถ์หลังใหม่แทนในปี พ.ศ.2489 แล้วเสร็จปี 2492 ฉลองอย่างใหญ่โต โดยนายเหลี่ยม โสมมา ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นเป็นผู้นำฝ่ายฆราวาส
2. ปี พ.ศ.2494 ได้นำชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญ(หลังปัจจุบัน)
3. ได้แยกโรงเรียนวัดบ้านเวียง ออกจากวัดไปเมื่อ ปี พ.ศ.2495 ไปสร้างขึ้นใหม่ที่ตั้งปัจจุบัน โดยขอความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านสามหมู่บ้าน เป็นกำลังสนับสนุน โดยไม่ได้ใช้งบประมาณทางราชการแม้แต่บาทเดียว สร้างเสร็จเมื่อปี 2497 ชาวบ้านจึงเรียกโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนบ้านเวียงตุ๋อุปถัมป์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อให้เกียรติและเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน

อยู่ต่อมาเมื่อถึงฤดูเข้าพรรษาในปี 2505 หลวงปู่ได้ไปจำพรรษาที่อยู่ที่วัดเอี่ยมวนาราม บ้านม่วงเดียด ตามคำขอร้องของหลวงปู่ลี (พระครูพนาภินันท์)ลูกศิษย์คนสนิทของท่าน ขณะที่ท่านหลวงปู่ญาท่านตู๋จำพรรษาอยูที่วัดเอี่ยมวนาราม ชาวบ้านม่วงเดียด เห็นว่าท่านหลวงปู่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างองค์กฐินขึ้นเพื่อถวายท่านเมื่อพ้นพรรษาแล้ว พอหลวงปู่ได้รับผ้าองค์กฐินแล้วไม่นานเท่าไหร่ท่านได้ป่วยกะทันหัน และมรณภาพลงด้วยท่านั่งสมาธิในกุฏิของท่านที่วัดเอี่ยมวนาราม

หลังจากนั้นหลวงปู่ลีได้ให้คนไปบอกลูกหลานของหลวงปู่ที่บ้านเวียง ในเวลากลางคืนของวันที่หลวงปู่มรณภาพ เมื่อชาวบ้านพร้อมลูกหลานทราบว่าหลวงปู่มรณภาพแล้วต่างคนต่างก็พากันเศร้าสลดใจกันทุ กๆคน ท่านพระครูพนาภินันท์(หลวงปู่ลี)ได้ปรึกษาหารือกับลูกหลานของหลวงปู่และชาวบ้านตกลงก ันว่าจะเก็บศพของหลวงปู่ไว้ 2 เดือน

การทำพิธีฌาปนกิจศพของหลวงปู่ญาท่านตู๋ ธัมมสาโร
ครั้นเมื่องถึงเดือน 3 ปี 2506 ได้จัดงานฌาปนกิจศพของท่านเป็นพิธีใหญ่โตอย่างสมเกียรติ มีประชาชนเหล่าอุบาสกอุบาสิกามาร่วมพิธิมากมาย มีทั้งญาติฝั่งลาวด้วย มาร่วมพิธิ ณ เมรุ วัดเอี่ยมวนาราม ส่วนกระดูกของหลวงปู่นั้นลูกหลานชาวบ้านเกิด(บ้านเวียง-ลาด-เหล่า)ได้อันเชิญมาเก็บไ ว้ที่วัดสุขาวาส บ้านเวียง

ต่อมาเมื่อปี 2507 ชาวบ้านเวียง ได้ปรึกษาหารือกันสร้างพระสถูปเจดย์ขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่ โดยการนำของพ่อใหญ่เหลี่ยม โสมมา เป็นประธาน โดยสร้างเป็นรูปแปดเหลี่ยม เหมือนธาตุปฐมเจดีย์ซึ่งมีฐานกว้าง 3 เมตร สูง 12 เมตร ขอแรงชาวบ้านช่วยกันวันละ 14 คน จนเป็นผลสำเร็จด้วยดี ปี 2508 สร้างเสร็จก็มีการฉลองสมโภชอย่างสมเกียรติและพระสถูปธาตุแห่งนี้อยู่ที่ทางทิศตะวันต กของโบสถ์ วัดสุขาวาส หลังปัจจุบัน เพือให้ลูกหลานที่อยู่ใกล้และไกลมาสักการะเคารพกราบไหว้จนเท่าทุกวันนี้ เมื่อท่านมรณภาพคำนวณอายุได้ 80 ปี 60 พรรษา

ประวัติและผลงานต่างๆของท่านคงมิเกินเลยกับคำว่าเทพเจ้าแห่งอำเภอตระการพืชผล เพราะสำหรับพสกนิกรชาวอำเภอตระการพืชผลแล้วจะหาพระองค์ใดที่เทียมท่านนั้นไม่มี พ่อถ่านตู๋พระผู้นั่งอยู่ในใจของพสกนิการชาวอำเภอตระการพืชผลมิมีวันเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของบุญญฤทธิ์และปาฏิหาริย์ของหลวงปู่ญาท่านตู๋จะนำประมวลให้ได้รับรู้กันในภาย หลังครับ ปกติเหรียญหลวงปู่ญาท่าตู๋และเหรียญหลวงปู่กัมมัฏฐานแพงคนอำเภอตระการพืชผลเขาจะเก็บ ไว้คู่กันเพราะนี่คือที่สุดแห่งสายสำเร็จลุนแล้ว

ขอบคุณที่มา ประวัติพระเกจิ อาจารย์ทุกนิกาย
แอพเกจิ แอพรวมเรื่องราวประสบการณ์จริง เกี่ยวกับ พุทธคุณ ไสยศาสตร์ วิชาอาคม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: