1807.ตำนานหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา (ชลบุรี) อาจารย์หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

(หลวงปู่แตง ธมฺมโชโต) ท่านถือกำเนิดเมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๔๒ ในสมัย (รัชกาลที่๑) ที่บ้าน ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๓ คน โดย โยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดาชื่อ นางมี (ไม่ทราบนามสกุล)

ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กฉลาด ว่านอนสอนง่าย เมื่อถึงวัยเรียนก็ศึกษามูลกัจจาย และหนังสือขอมกับบิดา สามารถอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ถึงปี พ.ศ.๒๓๖๒ เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี บิดาของท่านจึงจัดให้ท่านอุปสมบท ณ (วัดอ่างศิลา) (ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์) ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต”

เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ท่านศึกษาคัมภีร์ทำผงวิเศษทั้ง ๕ คัมภีร์อักขระยันต์ ๑๐๘ และพระเวทย์วิทยาคมต่างๆ คัมภีร์โหราศาสตร์ ตำรายารักษาโรคจนชำนาญ เมื่ออกพรรษาก็จะนำพระภิกษุที่วัดออกธุดงค์ ไปยังป่าเขาลำเนาไพร แสดงหาแหล่งพำนักอันสงบ พบชาวบ้านเจ็บป่วยก็ช่วยรักษา


ประวัติของหลวงปู่แตง ได้มาจากหลักฐานตามประวัติของ (หลวงพ่อปาน) เมื่อหลวงพ่อปานอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่ (วัดอรุณราชวราราม) โดยมีท่าน (เจ้าคุณศรีศากยมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ
ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่ (วัดบางเหี้ยนอก) ปัจจุบันเรียกว่า (วัดมงคลโคธาวาส) โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ (หลวงพ่อเรือน)

หลังออกพรรษาแล้ว ท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือน ได้ดั้นด้นไปจนถึง (วัดอ่างศิลา) อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ (หลวงปู่แตง) เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ไสยเวทย์มนต์ต่างๆ จนเชี่ยวชาญ และสร้างชื่อเสียง ให้หลวงพ่อปาน เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ “เขี้ยวซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง” เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงได้อำลาพระอาจารย์ (หลวงปู่แตง) มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเอง พร้อมด้วยพระอาจารย์เรือน ที่ (วัดบางเหี้ย) (ปัจจุบันคือวัดมงคลโคธาวาส) และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส โดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูปได้ปกครองพระลูกวัดทั้งด้านการศึกษา และการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด

ระหว่างที่หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ธุดงค์ไปสมัยนั้นยังมีพระอาจารย์ อีกท่านหนึ่งที่ดั้นด้นไปเรียนที่ (วัดอ่างศิลา) คือ (หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง) จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จาก (หลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา) เป็นปรมาจารย์เจ้าตำหรับในการสร้างเขี้ยวเสือแกะ ที่มีฤทธิ์ และ โด่งดังมากๆท่านหนึ่ง

พร้อมกันขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนจนถึงขั้น ก็ต้องมีการทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร ให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วน (หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง) ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จึงต้องพักจากการเรียนเสือ (เหตุเพราะตบะทางมหาอำนาจยังไม่แกร่ง แต่ท่านโดดเด่นทางเมตตา)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
ต่อมา หลวงปู่แตง ท่านจึงให้หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ ต่อมา (หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง) ก็ได้เป็นอาจารย์ของ (หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก) จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี้ มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และ (หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง) นี้ ก็ยังเป็นอาจารย์ของ (หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่) จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมาก ในปัจจุบันนี้เช่นกัน

ส่วน (หลวงพ่อเรือน) พระที่เป็นสหายสนิทของ (หลวงพ่อปาน) ในครั้งที่ออกธุดงธ์ไปด้วยนั้น ก็ได้มีสวนรู้เห็นและได้เรียนวิชากับหลวงปู่แตงด้วย แต่ก็เรียนแค่เพียงน้อยนิด ไม่ถึงกับจบ อาจเพราะเกรงใจ หรือเคารพพระสหาย ที่เป็นรุ่นพี่ที่ไปด้วยอย่างหลวงพ่อปาน จึงทำให้ไม่ได้เรียนจนจบ แต่กระนั้นหลวงพ่อเรือนก็เรียนจบวิชาสร้างเสือปลุกเสกเสือจนได้ ด้วยการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อปานอีกที ดังนั้นหลวงพ่อเรือน จึงเป็นทั้งศิษย์ของ (หลวงปู่แตง) และเป็นทั้งเพื่อนและทั้งศิษย์ของ (หลวงพ่อปาน) ด้วยเช่นกัน

หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
หากเอ่ยนาม (วัดอ่างศิลา) คนรุ่นหลังคงรู้จักพระปิดตาหลังยันต์กระบองไขว้ ของ (เจ้าคุณศรี) ก็ไม่ผิด แต่ถ้าถามคนย่านภาคตะวันออก (วัดอ่างศิลา) นี้ดังมาตั้งแต่สมัย ก่อน (รัชกาลที่๕) เสียอีก เพราะที่วัดนี้เป็นสำนักที่ใช้ร่ำเรียนสรรพวิชาต่างๆมากมาย มีลูกศิษย์ลูกหาที่โด่งดังมากมายมาศึกษา อาทิ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย), (หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง), (หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ) และศิษย์ฆารวาสอีกหลายคน เช่น (ตาโต เพ่งวิจารย์), (ตาบุญ หนังช้าง), (ตากัน โจรสลัดจอมขมังเวทย์) แห่งภูเขาแหลมปู่เจ้า อ.สัตหีบ

วัตถุมงคลที่มีชื่อสุด และหายากมาก (ของแท้ๆ) คือ เขี้ยวเสือแกะ ซึ่งเป็นต้นตำหรับ เขี้ยวเสือเงินล้านของ (หลวงพ่อปาน) และยังมี ตะกรุด, หมากทุย, ผ้ายันต,์ และเชือกมงคล ล้วนแล้วแต่โด่งดังจากประสบการณ์ใช้หาของคนพื้นที่ทั่วท้องทะเลชลบุรีและพื้นที่ ใกล้เคียงต่างจังหวัดล้วนแล้วแต่รู้จักท่านทั้งสิ้น

หลวงปู่แตง ท่านถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ สิริอายุ ๙๓ ปี ๗๓ พรรษา

ขอบคุณที่มา prakejidansiam

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: