1795.ประวัติ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน (เพชรบุรี)

ประวัติ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน (เพชรบุรี)
“พระครูสุชาตเมธาจารย์” (หลวงพ่อกุน) ท่านถือกำเนิดเมื่อ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านหนองกาทอง ตำบลโรงเข้ จังหวัดเพชรบุรี (ไม่ทราบนามบิดา) โยมมารดาชื่อม่วง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน เป็นผู้ชายทั้งหมด

ในวัยเยาว์ท่านมีนิสัยโน้มเอียงไปทางสมณะ กล่าวคือชอบนั่งบนจอมปลวกแล้ว เทศน์ให้เพื่อนฟังและในเวลาต่อมาท่านก็ได้มาอยู่ (วัดวังบัว) ซึ่งอยู่ห่างจากบ้าน ประมาณ ๓ กิโลเมตร ต่อมาท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่ (วัดวังบัว)

ถึงปีพ.ศ.๒๔๒๓ เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่ (วัดวังบัว)
(ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์) ในขณะที่บวชเป็นพระใหม่ ท่านมีความอุตสาหะเป็นอย่างมาก ได้เดินทางไปศึกษาวิชากับ (อาจารย์แจ้ง) ทางวัดดอนไก่เตี้ย และได้ศึกษาวิชาการที่ (วัดข่อย) ศึกษาทางช่างศิลป์กับ ท่าน (อาจารย์มุ่ย) วัดใหญ่สุวรรณาราม และคุณพ่อฤทธิ์ (หนังใหญ่) วัดพลับพลาชัย

ในขณะนั้นท่านบวชอยู่ ๓ พรรษา ก็ได้ย้ายมาอยู่ วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) สมัย “พระครูสุวรรณมุนี” เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้เป็นสมุห์และเมื่อพระครูสุวรรณมุนี
มรณะภาพลง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)

ต่อมาได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสุชาตเมธาจารย์”
ทุกพรรษาท่านจะขึ้นไปนั่งบำเพ็ญกัมฏฐานในถ้ำ ในวิหารเล็กประมาณ ๗ วัน ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ครั้งหนึ่งก่อนจะนั่งเข้าที่ พระปลัดเทพ (พระครูสมณกิจพิศาล) เอาน้ำชามาถวายท่านรับไว้ พอเริ่มจะเข้าที่ ปรากฏเห็นเช่นนั้นอีก ท่านว่าเหมือนของจริงทุกอย่าง พอเอื้อมมือจะรับนึกขึ้นได้ว่าเพิ่งมาถวายเมื่อ
สักครู่นี้ จึงไม่รับท่านว่าเกือบเสียท่า

นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระภิกษุในวัดออกธุดงค์ปีละหลายๆองค์ และออกอยู่หลายปี พระภิกษุที่ออกธุดงค์กับท่านจะไปด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าท่านจะไปทางเหนือหรือทางใต้ เป็นต้องมีพระภิกษุสมัครไปด้วยเสมอ

หลวงพ่อกุนท่านยังได้สร้างตะกรุดแจกแก่ชาวบ้านและศิษย์อีกด้วย ตะกรุดของหลวงพ่อกุนนั้น กล่าวขานกันว่า ตำหรับทำตะกรุดนี้ จารึกไว้ในสมุดจีน ใบปกเขียว รูปที่เขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานถวายแหวน ขั้นตอนการทำนั้น ก็พิถีพิถันมากหลวงพ่อท่านใช้ฤกษ์ เสาร์ห้า เป็นฤกษ์ในการลงอักขระเลยยันต์และปลุกเสก สถานที่ปลุกเสกท่านก็ไปปลุกเสกในป่าช้า เจ็ดป่าช้า มีป่าช้า วัดพลับ, วัดแก่นเหล็ก, และวัดพระนอน เป็นต้น

หลังจากนั้นเมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลวงพ่อท่านก็จะใช้ลูกสบ้ามอญ ลบถูรอยเหล็กจารที่ท่านได้จารไว้ออก และพอถึงฤกษ์ เสาร์ห้า ก็กลับไปจารที่ป่าช้าอีก ท่านทำเช่นนั้นจนครบ ๓ รอบ ท่านถึงจะนำออกมาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา พุทธคุณนั้นเหล่าเรื่องมหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้พระขุนแผนสำนักไหนเลย

ด้านตะกรุดโทน มงกุฎพระเจ้ายันต์ที่ท่านลงและปลุกเสกในตะกรุด เรื่องมหาอุด อยู่ยงคงกระพันก็เยี่ยม แต่สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อท่านสั่งทุกคนที่ได้ของท่านไปว่า ขออย่างเดียวอย่าไปขโมยของเขา ถ้าไปขโมยของเขาก็จะใช้ไม่ขึ้น

ในอดีตถ้ากล่าวถึงตะกรุดที่มีราคาแพงที่สุด คงหนีไม่พ้นตะกรุดของหลวงพ่อกุน วัดพระนอน ซึ่งเป็นตะกรุดสุดเข้มขลัง ตะกรุดมหาระงับ นารายณ์สะกดทัพ และอื่นๆ
อีกมากมายเรียกได้ว่านักเลงในสมัยก่อนยังนำตะกรุดของหลวงพ่อ ไปลองแขวนไว้ที่เสาบ้านใคร เป็นได้หลับไม่ตื่นกันทั้งบ้าน จะทำเสียงดังอย่างไรก็ไม่ตื่นกันเลย นั่นเพราะตะกรุดที่ท่านได้สร้าง ได้ลงอักขระไว้สะกดให้ทุกคนในบ้านหลับไม่ตื่นนั้นเอง เรื่องเสน่ห์ก็เป็นเยี่ยม

สมัยก่อนของดีของหลวงพ่อกุนเลื่องลือมาก สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ปลัดเมืองเพชรบุรี ยังเคยมาขอของท่าน เพื่อไปคุ้มครองตัวเอง แต่ของดีของหลวงพ่อนั้นมีน้อยมาก เพราะกว่าท่านจะทำออกมาแต่ละอย่างใช้เวลามากขั้นตอนเยอะ และซับซ้อน ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลของหลวงพ่อหาชมได้ยากมาก

หลวงพ่อกุน ท่านถึงแก่มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ สิริอายุ ๖๐ ปี ๔๐ พรรษา

ขอบคุณที่มา prakejidansiam

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: