1779.ตำนาน หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ผู้วิเศษแห่งภูตะแบง อีสานใต้

ตำนาน หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ผู้วิเศษแห่งภูตะแบง อีสานใต้
เรื่องเล่าต่างๆๆของหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ผู้วิเศษแห่งภูตะแบง อีสานใต้
ที่รวบรวมให้ท่านที่ศรัทธาได้มาได้อ่านในบ้างส่วนที่ค้นหาเจอค่ะ

ประวัติโดยย่อ หลวงปู่สรวง
ถ้าเอ๋ยถึงหลวงปู่สรวงคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จัก หลวงปู่เป็นใคร มาจากไหน อายุเท่าไหร่ ไม่มีใครทราบ รู้แต่ว่า อริยะสงฆ์ผู้อยู่เหนือกาลเวลา 500 พรรษา จำวัดทั่วจักรวาล นึกจะมาก็มา นึกจะไปก็ไป ชาวบ้านนับพันนับหมื่นแห่งดินแดนอิสานใต้ตั้งชื่อให้ท่านว่า ผู้วิเศษแห่งภูตะแบง หรือเทวดาเล่นดินนั้นเอง อภินิหารต่างเล่าขานกันมาจากปากต่อปากสื่อสิ่งพิมพ์ตีแพร่เรื่องราวของหลวง ปู่อยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่กล่าวขานมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันท่านได้ละสังขารนอนนิ่งอยู่ที่โลงแก้ว วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

โดยท่านละสังขารวันที่ 8 กันยายน 2543 พูดถึงวัตถุมงคลของหลวงปู่เป็นที่นิยมกันอย่างมาก นักเล่นพระต่างเสาะและแสวงหาเพื่อให้ได้มาครอบครองเก็บไว้เป็นศิริมงคลครอบ จักรวาล ในปี 2519 หลวงปู่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำภูดิน สำนักสงฆ์ภูดินได้จัดสร้างขุนแผนเนื้อดินปราสาทขอมพันปี ซึ่งหลวงปู่ได้ร่วมปลุกเสกกับลูกศิษย์ 1 ไตรมาส และหลังจากนั้นลูกศิษย์ก็ปลุกเสกขุนแผนรุ่นดังกล่าวที่วัดถ้ำภูดินเรื่อยมา จนครบ 11 ปี อาจารย์เสริฐสำนักสงฆ์ตาโคลที่เป็นลูกศิษย์โดยตรง ได้รวบรวมขุนแผนชุดดังกล่าวมาปลุกเสกที่วัดตาโคล 10 ปี ปลุกเสกที่วัดสุทัศน์ 10 ปี (200 พิธีใหญ่ พระร่วมพิธีปลุกเสกนับแสนรูป) พุทธคุณ คงไม่ต้องพูดถึงและบรรยายมาก เช่น เสน่ห์ เมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ ฯลฯ ครอบจักรวาล

คำบูชาหลวงปู่สรวง
โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา กันตุยธูป กันตุยเตียน กันตุยมะมาย อากู อากู

สวดที่กระท่อมต้นแต้,ต้นปี ช่วงเวลาประมาณตีสอง มีพระครูอำไพมรชิโร วัดพะเนาวรัตน์ จ.สุรินทร์ อยู่ร่วมในเหตุการณ์ (จดจำและบันทึกโดย อ.สาโรจน์ วงษ์ศรี)


ความสำคัญของคำบูชาหลวงปู่สรวง
บทสวดบทนี้เป็นบทสวดมนต์ที่หลวงปู่สรวงได้ใช้สวดเสมอมา ซึ่งสานุศิษย์หลายๆคนยืนยันได้ว่าเคยได้ยินท่านสวดด้วยน้ำเสียงอันไพเราะจับใจ โดยเฉพาะ อ.สาโรจน์ วงษ์ศรี ได้จดจำและบันทึก ไว้ บทสวดนี้น่าจะเป็นบทสวดที่ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด และถือว่าเป็นต้นแบบที่เหล่าสานุศิษย์ทั้งหลายพึงนำมาใช้สวดภาวนา ระลึกถึงหลวงปู่สรวง เพราะเป็นบทสวดที่หลวงปู่ใช้สวดมาก่อนแล้ว และไม่ได้มีการแต่งเติมเสริมขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้บทสวดนี้เป็นบทสวดภาวนาระลึกถึงหลวงปู่ แล้วอธิฐานขอพรจากหลวงปู่

นอกจากบทสวดนี้แล้วก็มีอีกหลายๆบทที่นักปราชญ์ทั้งหลายได้แต่งขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีความหมายเพื่อเทิดทูลบูชาหลวงปู่ทั้งนั้น เป็นความหมายที่มงคล ซึ่งท่านก็สามารถนำมาสวดบูชาได้เช่นกัน ไม่ได้จำกัดว่าบทไหนดีที่สุด หากใจผู้สวดเอง ได้สวดเพื่อน้อมบูชาหลวงปู่ไม่ว่าบทใดก็ดีที่สุด ดังนั้นสำคัญที่ใจผู้สวดเท่านั้นเอง ส่วนผู้เขียนเองพยายามบอกให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของบทสวดบทนี้เท่านั้น

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของความหมายหากสวดแล้วไม่รู้ความหมายเราอาจได้เพียงความศรัทธา หากเราสวดแล้วได้รู้ความหมายเราจะได้ทั้งความศรัทธาที่ประกอบไปด้วยปัญญา ดังนั้นผู้เขียนจึงได้แปลความหมายบทสวดนี้มาให้ท่านได้ศึกษาด้วย ไม่ได้แปลโดยคิดคนเดียว แต่ปรึกษาผู้รู้หลายคน เพื่อช่วยชี้แนะ แนะนำ ให้ได้ความหมายที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งได้แปลและอธิบายความหมายไว้ดังนี้

ความหมายของบทสวดมนต์หลวงปู่สรวง
โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบ

กันตุยธูป แปลว่า หางธูป หรือ ขี้ธูป หมายถึงการบูชาด้วยธูป เราจะเห็นได้ว่า การจุดธูป จะมีขี้ธูปหลังการจุดบูชา นั้นแหละเรียกว่าหางธูปหรือขี้ธูปธรรมเนียมชาวพุทธเรา ใช้การจุดธูปบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ได้แก่ บริสุทธิคุณ กรุณาธิคุณ และปัญญาธิคุณ กันตุยเตียน แปลว่า หางเทียน หรือขี้เทียน หมายถึงการบูชาด้วยเทียน การจุดเทียน ก็จะมีขี้เทียนหลังจุดบูชา ธรรมเนียมชาวพุทธเรา ใช้การจุดเทียนบูชาพระธรรม

กันตุยมะมาย แปลว่า แม่ม่าย จะเห็นได้ว่าไม่มีคำว่า หาง ส่วนกันตุยธูป กันตุยเตียน จะมีคำว่าหางด้วย เมื่อแปลออกมาจะได้ว่า หางธูปหางเทียน แต่หากกันตุยมะมาย แปล มีหางด้วย จะได้ว่า หางแม่ม่าย ก็อาจจะทำให้ความหมายผิดไป ดังนั้นในที่นี้ กันตุยมะมาย หมายถึงการประพฤติพรหมจรรย์ อีกนัยหนึ่งคือ การออกจากกาม ส่วนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า ผู้หญิงที่สามีตายหรืออย่าล้างกัน ดังนั้นในที่นี้ แม่ม่ายเปรียบเสมือนเป็นนิมิตหมายอุบายใจให้รู้ว่า เป็นการได้ประพฤติพรหมจรรย์ และในที่นี้ ก็มิได้หมายความรวมถึงผู้มีสามี หรือมีคู่ครองจะไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้

อากู อากู แปลว่า สาธุ สาธุ ธรรมเนียมชาวพุทธเรานั้นเมื่อจบคำอธิฐานหรือหลังจากทำบุญแล้วมักจะกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ หรือเมื่อมีการสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยเสร็จก็เช่นกันมักจะกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ บางคนบางครั้งก็จะระลึกไว้ในใจขณะยกมือขึ้นไหว้อย่างเดียวไม่ได้ออกเสียง

รวมความแล้วอาจจะแปลได้ในที่นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบ ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยธูป ด้วยเทียน ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์นี้ สาธุ สาธุ

อานุภาพอานิสงส์ของบทสวดนี้ เล่าโดย อ.สาโรจน์ วงษ์ศรี
ณ กระท่อมป่ามัน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 3 วัน 3 คืน หลวงปู่อดข้าวไม่มีอาหารฉัน ลูกศิษย์ก็อดไปด้วย ตกดึกในคืนที่ 3 หลวงปู่สวดบทสวด ว่า โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา กันตุยธูป กันตุยเตียน กันตุยมะมาย อากู อากู ท่านสวดย้ำ คำว่า อากู อากู ไม่ถึง 15 นาที คณะแม่ชีจากสกลนคร พร้อมรถตู้ 1 คัน นำอาหารเสบียงมาถวายเต็มที่โดยไม่คาดคิดบางครั้งหลวงปู่ได้สวดด้วยสำเนียง คำว่า สามมาสามพุธ เลขก็ออกสามแปด คนก็ฮือฮาท่านมากในช่วงนั้น.

ขอบคุณที่มา
http://waprakraung.blogspot.com/2014/01/blog-post.html

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: