1739.ย้อนรอยตำนานหลวงพ่อสาย​ วัดพยัคฆาราม

ย้อนรอยตำนานหลวงพ่อสาย​ วัดพยัคฆาราม
ประวัติ​วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ลพบุรี วัดพยัคฆาราม หรือ วัดเสือ เป็นวัดเดียวกันเพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเมื่อหลวงพ่อสายมรณภาพแล้วโดยเรียกชื่อวัดเสือนี้ตามเจ้าอาวาสรูปแรก (ท่านชื่อเสือ) จึงเรียกตามชื่อท่านสำหรับหลวงพ่อสายเป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 3 เมื่อ หลวงพ่อมรณภาพจึงเปลี่ยนชื่อจาก วัดเสือ มาเป็น วัดพยัคฆาราม

ที่กล่าวมานี่คือประวัติอย่างย่อของวัดเสือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ของหลวงพ่อสาย ติสสโร

พระเกจิชื่อดัง แห่งวัดเสือ เมืองลพบุรี “พระครูสังวรโสภณ” หรือ “หลวงพ่อสาย ติสสโร” วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี พระเกจิอาจารย์ดังเมืองลพบุรี

เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 4 ปีเถาะ พ.ศ.2397 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านตำบลโพธิ์ตลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง

อุปสมบทในปี พ.ศ.2418 เมื่ออายุ 21 ปี ที่วัดเสือ (วัดพยัคฆาราม) มีพระอุปัชฌาย์พุก วัดเสือ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประเวศทิพากร (ก๋ง) วัดเขาสมอคอน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา ติสสโร

อยู่จำพรรษาที่วัดเสือ อยู่ศึกษาวิชาจากพระอุปัชฌาย์ ทั้งด้านคันถธุระ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน นอกจากนี้ ยังได้ศึกษากับพระอุปัชฌาย์ก๋ง วัดเขาสมอคอน ด้วย

อยู่ได้ประมาณ 3 พรรษา ออกธุดงค์ตามป่าเขาเป็นเวลาหลายปี จึงได้เดินทางกลับมาวัดเสือ อันเป็นเวลาที่หลวงพ่อพุก พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธอยู่ จึงได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้จนหลวงพ่อพุกมรณภาพ ทางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างเห็นว่าหลวงพ่อสาย มีความเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไป

ช่วยพัฒนาและก่อสร้างเสนาสนะทั้งภายในและภายนอกวัด จนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

เมื่อปี พ.ศ.2418 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงแต่งตั้งหลวงพ่อสาย เป็นเจ้าคณะปกครองแขวงโพธิ์หวี และในเวลาต่อมา พ.ศ.2458 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูสังวรโสภณ

หลวงพ่อสาย เป็นหนึ่งในพระคณาจารย์ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงยกย่องขณะเสด็จมาตรวจที่เมืองลพบุรี

ประวัติและพระเกียรติคุณของท่านปรากฏในหนังสือ ระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลในกรุงเก่า ปีพุทธศักราช 2457 มีข้อความเกี่ยวกับหลวงพ่อสายและวัดเสือ ดังนี้ …

“วันที่ 26 มีนาคม… เวลา 1 ยามเศษ เสด็จขึ้นที่ประทับที่พระครูสายจัดกุฏิของท่านไว้ถวาย…พระครูสายวัดนี้ มีรูปสมบัติเป็นสง่าทั้งมีมารยาทงามน่านับถือ มีชาวบ้านชั้นคฤหบดี มีวัยผู้ใหญ่มาอยู่ช่วยพระครูรับเสด็จหลายคน มิกิริยาอัธยาศัยอันเรียบร้อย น่าชม สมกับทั้งเจ้าวัดและลูกบ้าน…”

กล่าวสำหรับ วัดพยัคฆาราม เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดเสือ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ใน ต.บางคู้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ห่างจากตัวเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตร ตามถนนสายสิงห์บุรี-ลพบุรี

เป็นวัดที่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2335 ด้านหลังวัดเป็นที่ตั้งของวัดร้างมาก่อน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา เมื่อบ้านเมืองสงบสุข ประชาชนจึงได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ และขยับขยายสถานที่มาสร้างให้ใกล้แม่น้ำลพบุรี เดิมเรียกว่า “วัดเสือ” คงจะหมายถึงนามของ “หลวงพ่อเสือ” เจ้าอาวาสวัดรูปแรก ในระยะนั้น

ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดพยัคฆาราม” ในสมัยของพระครูสังวรโสภณ (สาย ติสสโร) เป็นเจ้าอาวาส ราวปี พ.ศ.2484

พ.ศ.2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีพระภิกษุจำพรรษา 12 รูป สามเณร 1 รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2454 มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการตั้งอยู่ด้วย

พระครูสังวรโสภณ มรณภาพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ.2489 สิริอายุ 92 ปี เหรียญหลวงพ่อสาย รุ่น 2 วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ปี ๒๔๘๒ ลพบุรี
รายละเอียด เหรียญ รุ่น ๒ หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ปี พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นเหรียญหันข้างเนื้อทองแดง ห่วงเชื่อม ยุคแรกที่ถูกสร้างก่อนฉลอง พุทธกาล ปี 2500 มีความสวยคลาสสิกในด้านเชิงศิลป์ แกะแบบนูนต่ำ เหมือนหลวงพ่อฯ มาก

หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม หรือวัดเสือ ในอดีตมีเจ้าอาวาสที่ชาวเมืองละโว้ให้ความนับถือศรัทธาอย่างสูง ในช่วงสมัยที่หลวงพ่อสายหรือพระครูสังวรโสภณครองวัดเสืออยู่นั้นท่านได้ดูแล รักษาวัดสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งยังช่วยพัฒนาวัดอื่น ๆ จนได้รับความชื่นชมจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้าในคราวเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์มณฑล กรุงเก่า โปรดให้เลื่อนสมณศัดดิ์เป็นพระครูเจ้าคณะแขวง หลวงพ่อสายเป็นพระเกจิเรืองวิชา มีชื่อเสียงตั้งแต่ยุคก่อนสงครามอินโดจีนท่านได้สร้างวัตถุมงคลแจกศิษย์ ได้แก่เหรียญรูปเหมือน ตะกรุด ผ้าประเจียด ซึ่งล้วนแต่ปรากฏเหตุอัศจรรย์ทั้งทางเมตตาและคงกระพัน ศิษย์และชาวบ้านนับถือหลวงพ่ออย่างสูงได้ขออนุญาตหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อไว้ สักการะบูชาตั้งแต่ปี 2467 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพถึง 22 ปี (หลวงพ่อมรณภาพปี พ.ศ. 2489 อายุ 92 ปี พรรษาที่ 71 ) เหรียญหลวงพ่อสายรุ่น แรกสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2462 ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีขนาดเล็ก ปัจจุบันเป็นเหรียญหลักหายากของวงการ มีสนนราคาสูงถึงหลาย ๆ หมื่น ส่วนเหรียญรุ่น 2 สร้างปี พ.ศ. 2482 ทั้งสองรุ่นมีเนื้อทองแดงและเนื้อเงิน

วัดพยัคฆาราม หรือ วัดเสือ เป็นวัดเดียวกันเพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเมื่อหลวงพ่อสายมรณภาพแล้วโดยเรียกชื่อวัดเสือนี้ตามเจ้าอาวาสรูปแรก (ท่านชื่อเสือ) จึงเรียกตามชื่อท่านสำหรับหลวงพ่อสายเป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 3 เมื่อ หลวงพ่อมรณภาพจึงเปลี่ยนชื่อจาก วัดเสือ มาเป็น วัดพยัคฆาราม ดังกล่าว ชาติภูมิ

ท่านเป็นชาวบ้านโพธิ์ตลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 4 ปีเถาะ พ.ศ. 2397 ณ บ้านตำบลโพตลาดแก้ว อ.โพธิ์หวี (ปัจจุบัน คือ อำเภอท่าวุ้ง) โยมบิดาชื่อปั้น โยมมารดาชื่อเกลี้ยง นามสกุล ปั้นสะอาด หลวงพ่อเป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด

อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2418 ณ พัทธสีมาวัดเสือ (วัดพยัคฆาราม) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี โดยมีหลวงพ่อพุก เจ้าอาวาสวัดเสือ เป็นพระอุปัชฌาย์พระครูประเวศทิพากร (ก๋ง) วัดเขาสมอคอน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา “ ติสสโร ” และได้พำนักจำพรรษาและศึกษาทางด้านพระธรรมวินัยที่วัดเสือมาโดยตลอด หลังจากหลวงพ่อพุก พระอุปัชฌาย์ ท่านได้มรณภาพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบทอดต่อจากหลวงพ่อพุก

พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งตั้งหลวงพ่อสาย วัดเสือ เป็นเจ้าคณะปกครองแขวงโพธิ์หวี และในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่พระครูสังวรโสภณ หลวงพ่อสายได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีจอ (เดือนกุมภาพันธ์ 2489 ) สิริรวมอายุรวม 92 พรรษา 71 และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2489 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน

อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๗ คณะศิษย์นำโดยพระปลัดเชื้อและพระมหารื่นได้ศรัทธาขออนุญาตหล่อรูปเหมือนของท่านประดิษฐานไว้ ณ วัดพยัคฆาราม

วัตถุมงคล : เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๖๒ เนื้อทองแดง หลวงพ่อสายได้ปลุกเสกและแจกให้ศิษยานุศิษย์เป็นครั้งแรก มีผู้ประจักษ์ในกิตติคุณกันเป็นจำนวนมาก เหรียญรุ่นนี้มีราคาสูงหลายหมื่นบาท สภาพสวยถึงหลักแสน, เหรียญรุ่นสองรูปไข่หันข้าง แจกในงานทำบุญอายุ ๘๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง ล๊อคเก็ตหันข้าง ผ้ายันต์

พุทธคุณ : เมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

ขอบคุณที่มา ตำนาน​เล่าขาน​พระ​ผู้ทรง​ฌาน​อภิญญา​ครู​บ​า​อาจารย์​ผู้​เรือง​วิชา​อาคม / เรารัก”ลพบุรี”

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: