1672.องคต หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ แกะจากด้ามตาลปัตร

องคต หลวงพ่อปาน
วัดบางกระสอบ จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกระสอบรูปแรก เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าสมัยเดียวกันกับ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ที่สำคัญท่านเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาอาคมแก่ หลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ (เป็นเจ้าอาวาสรูปที่สอง และเป็นผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักยอดนิยมที่ทีราคาสูง) ท่านได้ละสังขารเมื่อปี พ.ศ.2446

ศิลปะในองคตแท้ๆของท่าน มักเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยใบหน้าเป็นลิงนั่งสมาธิเอาหางพันเป็นฐานขึ้นมา จะมีนายช่างที่แกะให้ท่านหลายคน เนื้อไม้จะมีน้ำหนักเบา แน่นตัว และแห้งเก่าจัดมัน บางองค์จะมีการลงรักน้ำเกลี้ยงเอาไว้

องคตหลวงพ่อปาน สร้างจากด้ามไม้ตาลปัตร ด้วยคติที่ว่า ไม้ตาลปัตร จะช่วยให้ผู้บูชาเปลี่ยนจากร้ายกลายเป็นดี สร้างขึ้นอันเนื่องมาจาก สมัยหลวงพ่อปาน ได้ว่าจ้างช่างให้มาทําการบูรณะโบสถ์ แต่ไม่ทราบด้วยสาเหตุใดมักจะมีอุบัติเหตุกับเหล่าช่างที่มาทํางานอยู่เนืองๆ โดยตกจากที่สูงอย่างไมทราบสาเหตุ

หลวงพ่อปาน ท่านจึงได้นําด้ามไม้ตาลปัตร มาทําการแกะเป็นรูป “องคต” และลงด้วยพระคาถาองคต ซึ่งเป็นพญาวานรหนึ่งในทหารเอกของพระราม จึงเป็นคุณวิเศษป้องกันมิให้ตกจากที่สูงได้ชงัดนัก พวกช่างที่ได้รับองคตจากหลวงพ่อปาน จึงทํางานได้อย่างปลอดภัย ไม่มีใครพลัดตกจากที่สูงอีกเลย จึงเป็นที่ลํ่าลือกันว่า องคตของหลวงพ่อปาน ดีทางคุ้มครองแคล้วคลาดปลอดภัย

อีกทั้งพุทธคุณยังโดดเด่นในทางอำนาจ เป็นผู้ไม่ตกต่ำ ไม่ตกเป็นรองใคร ซึ่งเรื่องนี้มีที่มาจากส่วนหนึ่งในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ กล่าวคือ “องคต” เป็นทหารเอกของพระรามที่มีสติปัญญา ความกล้าหาญและความเฉลียวฉลาดเป็นเลิศ ในคราวที่องคตได้รับมอบภารกิจจากพระรามให้เป็นผู้ไปเจรจากับทศกัณฑ์นั้น องคตเห็นทศกัณฑ์ประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์สูง ผู้ใดที่เข้าไปพบปะเจรจากับทศกัณฑ์ แม้อยู่เบื้องหน้าแต่ก็อยู่ในที่ต่ำกว่าทศกัณฑ์ ทำให้รู้สึกได้ถึงความไม่เท่าเทียม รู้สึกเสมือนเป็นผู้มีอำนาจด้อยกว่าทศกัณฑ์ โดยเฉพาะในสายตาของบริวารแวดล้อมรอบข้าง ด้วยเหตุนี้องคตจึงแสดงความเฉลียวฉลาดและความกล้าหาญ ด้วยการใช้ฤทธิ์เนรมิตให้หางตัวเองขดเป็นวงสูงขึ้นเสมอบัลลังก์ที่ประทับของทศกัณฑ์ องคตจึงสามารถใช้หางของตนแทนบัลลังก์นั่งเจรจาความกับทศกัณฑ์ได้ การสร้างองคตนั่งอยู่บนขดหางนี้ หลวงพ่อปานท่านสร้างเพื่อเป็นอุปเท่ห์ว่าคนที่ใช้องคตของท่านคือผู้มีความกล้าหาญ ไม่ตกต่ำ ไม่ตกเป็นเบี้ยล่างและไม่ตกเป็นรองใคร

องคต หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ แกะจากด้ามตาลปัตร

องคตของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางกระสอบเป็นเครื่องรางที่มีชื่อเสียงและหาได้ยากแถมมีราคาค่างวดสูงขึ้นทุกวัน องคตของท่าน สร้างจากไม้ด้ามตาลปัตร ซึ่งมีพุทธคุณเป็นที่ยอมรับว่า ดีเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และเหมาะในการพกพาไปเจรจาเป็นเลิศ ……….ในสมัยก่อนเรียกกันว่า หนุมานนั่งเมือง แต่ตามประวัติที่แท้แล้ว หลวงพ่อปาน ท่านตั้งใจสร้างเป็น องคต เพราะว่าเริ่มแรกท่านสร้างให้บรรดาคนงานก่อสร้างที่มาบูรณะโบสถ์ ซึ่งมักจะตกลงมาได้รับบาดเจ็บเพื่อเอาไว้คุ้มครองตัวไม่ให้ได้รับอันตราย ซึ่งเป็นไปตามตำนานที่ว่า องคต เป็นลิงที่เป็นทหารเอกของพระรามเหมือนกับหนุมาน และมีฤทธิ์มากเช่นเดียวกัน โดย องคต เป็นหลานของพระอินทร์ และเป็นลูกของ พระยาพาลี เจ้าเมืองขีดขิน ซึ่งพระรามใช้ให้ไปเป็นฑูตเจรจา ขอนางสีดาคืนจากทศกัณฑ์ เมื่อได้เข้าพบทศกัณฑ์นั่งอยู่บนบัลลังสูงหากตนอยู่ต่ำกว่าก็เสมือนเสียเปรียบในการเจรจา และด้วยนิสัยไม่ยอมอ่อนข้อให้ใคร จึงแผลงฤทธิ์ ม้วนหางขึ้นเป็นแท่นนั่งเสมอกับทศกัณฑ์ ทำให้ทศกัณฑ์โกรธ สั่งให้ทหารยักษ์จับไปฆ่า องคตจึงแผลงฤทธิ์ฆ่าทหารยักษ์และเผากรุงลงกา หนีกลับไปหาพระรามอย่างปลอดภัย จึงทำให้ หลวงพ่อปาน ท่านสร้างเป็นเคล็ดว่า พกพาองคตแล้วจะไม่เป็นอันตรายและปลอดภัยจากที่สูงๆ เมตตาแรงเจรจาเป็นเลิศ สำหรับประวัติของ หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ นั้นค่อนข้างจะสืบค้นยาก เพราะขาดการบันทึกไว้ ทราบเพียงแต่ว่า ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกระสอบรูปแรก เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าสมัยเดียวกันกับ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ที่สำคัญท่านเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาอาคมแก่ หลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ (เป็นเจ้าอาวาสรูปที่สอง และเป็นผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักยอดนิยมที่ทีราคาสูง) ..หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ ท่านได้ละสังขาร เมื่อปี พ.ศ.2446..ศิลปะในองคตแท้ๆของท่าน มักเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยใบหน้าเป็นลิงคล้ายลิงของ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว และนั่งสมาธิเอาหางพันเป็นฐานขึ้นมาเท่าที่พบเจอ จะมีหลายนายช่างที่แกะให้ท่าน แต่จะมีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม เนื้อไม้จะมีน้ำหนักเบา แน่นตัว และต้องแห้งเก่าจัดมัน บางองค์จะมีการลงรักน้ำเกลี้ยงเอาไว้และที่พบมักจะมีการ จารยันต์ตามตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลังบางองค์ไม่จารก็มีคาถาบทย่อที่ใช้บูชาคือ พะหะวารา

Cr.รูปภาพสวยๆจาก คุณอ๊อดเสือ,คุณTimmy,คุณตั้งโอ๋ สะสมทรัพย์,คุณกวงทอง999,คุณมล เชือกคาด

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: