1631.ตำนานเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด (วัดนายโรง)

หลวงปู่รอด (วัดนายโรง)
วัดนายโรง เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ บริเวณวัดเดิมตั้งอยู่กลางสวนฝั่งธนบุรี ติดกับคลองบางกอกน้อยอยู่ใกล้กับวัดบางบำหรุ และวัดขี้เหล็ก ซึ่งได้กล่าวกันว่าวัดทั้ง 3 นี้จัดว่าเป็นวัดเก่าแก่ตั้งมา ตั้งแต่ครั้งปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้สร้างวัดนายโรงนี้ปรากฏหลักฐานว่า คือ นายโรงกรับ ซึ่งเป็นเจ้าของคณะละครนอก เดิมทีวัดนายโรงนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดละครเจ้ากรับ หรือวัดนายกรับ ซึ่งก็ใช้เรียกต่อๆ กันมา จนถึงปัจจุบันจึงได้เรียกชื่อวัดกันอย่างเป็นทางการว่า วัดนายโรง

เบี้ยแก้
ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่รอดนั้น ไม่สามารถสืบทราบได้อย่างเป็นที่แน่นอน เพียงแต่รู้ได้จากปากของคนเฒ่าคนแก่พูดสืบต่อๆ กันมา ว่าแต่เดิมท่านมิใช่คนริมคลองบางกอกน้อย หากแต่ท่านเป็นชาวบ้านแถบคลองบางพรหม และอยู่ใกล้กับวัดเงิน อีกชื่อคือ วัดรัชฏาธิฐาน

เมื่อเติบใหญ่ท่านก็ได้อุปสมบทและศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ ที่วัดเงินแห่งนี้ เมื่อท่านอุปสมบทได้หลายพรรษา จึงได้ออกรุกขมูลเพื่อฝึกจิตและปฏิบัติภาวนาอยู่หลายปี จนกระทั่งท่านได้ วิชาเบี้ยแก้
ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรง และได้ถูกแต่ตั้งให้ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสในที่สุดทางด้านพุทธาคมที่หลวงปู่ใช้ในการสร้างเบี้ยแก้จนเป็นที่อยากได้กันมาก ในมวลหมู่ลูกศิษย์ลูกหา
นั้น ได้กล่าวกันว่าหลวงปู่ท่านได้ไปศึกษากับหลวงปู่แขก แห่งวัดบางบำหรุ ซึ่งเป็นพระเถระที่แก่กล้าสรรพวิชาโบราณมากมาย หลวงปู่ได้ร่ำเรียนจนแตกฉานในด้านการสร้างเบี้ยแก้

นอกจากนั้นหลวงปู่ท่านยังมีพระสหธรรมมิกที่ได้ร่ำเรียนวิชาเบี้ยแก้มาด้วยกันคือ หลวงปู่ฉาย ซึ่งต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุต่อจากหลวงปู่แขกนั่นเอง

ในด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องรางประเภท ตะกรุด ผ้าประเจียด ผ้ายันต์ และที่สำคัญก็เบี้ยแก้ และชานหมากของหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่มักจะฉันในตอนทำพิธีปลุกเสกเบี้ยแก้

เมื่อท่านคายชานหมากออกมาหมู่ลูกศิษย์ลูกหาต่างแย่งกันขอหลวงปู่เพื่อไปสักการบูชากรรมวิธีในการสร้างเบี้ยแก้ สิ่งแรกที่ต้องหามาก็คือ ตัวเบี้ยที่ใช้บรรจุปรอท จะต้องคัดสรรตัวเบี้ยที่มีอาการครบ 32 กล่าวคือ ถ้าหงายท้องเบี้ยขึ้นดูจะพบว่าใต้ท้องเบี้ยจะมีร่องปาก ซึ่งมีลักษณะเหมือนฟันซี่เล็กๆ อยู่จะต้องนับให้ได้ข้างละ 16 ซี่ จึงจะครบตามตำรานอกจากนั้นแล้วหลังเบี้ย จะต้องมีเส้นนะปัดตลอด อยู่บนหลังเบี้ยอีกด้วย เส้นนะปัดตลอดนั้นจะเป็นเหมือนเส้นบางๆ วิ่งตัดผ่านจากหัวเบี้ยไปท้ายเบี้ย ในส่วนนี้ลูกศิษย์ลูกหาจะต้องหามาให้หลวงปู่ เพื่อนำมาบรรจุปรอท

วัสดุที่สำคัญอีกอย่างที่ใช้บรรจุเข้าไปในเบี้ยก็คือ ปรอท ปรอทซึ่งเป็นวัตถุธาตุ
อย่างหนึ่งมีลักษณะเป็นโลหะเหลวสีขาวมีลักษณะแวววาว เชื่อกันว่าสารปรอทนี้ เบี้ยแก้
เป็นธาตุกายสิทธิ์ที่มีความวิเศษในตัว ใช่ว่าจะนำมาเป็นปรอทที่ใช้บรรจุเบี้ยเพียงอย่างเดียว

เกจิอาจารย์สมัยก่อนอาทิ หลวงปู่ภู วัดท่าฬอ ก็ได้ใช้ปรอทมาผสมกับตะกั่ว และดีบุกเพื่อสร้างวัตถุมงคล รวมถึงตะกรุดต่างๆ ของท่านอีกด้วย ปรอทนี้สามารถหาได้โดยการไปดักตามป่าช้า ซึ่งกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกกันว่าการดักปรอทนี้ ปัจจุบันนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีเกจิอาจารย์ท่านใดทำได้บ้างหรือเปล่า ตามโบราณ

ท่านว่าจะต้องนำไข่เน่าไปวางแช่ลงในน้ำขัง หรือตามที่ชื้นแฉะทิ้งไว้หลายๆ วัน จะปรากฏเจ้าปรอทนี้ลงไปกินไข่เน่า จากปากคำของคนเฒ่าคนแก่ในคลองบางกอกน้อย ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อหลวงปู่ได้ตัวเบี้ยที่ลูกศิษย์นำมาถวายพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนแล้ว หลวงปู่ท่านจะใช้เวลาในช่วงค่ำทำพิธีสร้างเบี้ยแก้ โดยการปลุกเสกลงอาคมที่ตัวปรอทจะกระทั่งเคลื่อนไหวไปมาได้ หลวงปู่ก็จะเรียกปรอทให้ไหลเข้าไปบรรจุลงในตัวเบี้ย แล้วจึงใช้ชันโรงเฉพาะที่ทำรังอยู่ในดินเท่านั้นมาอุดที่ปากท้องเบี้ย เพื่อกันไม่ให้ปรอทไหลออกมา

ภายนอกได้ จากนั้นหลวงปู่จะนำแผ่นตะกั่วมาหุ้มตัวเบี้ยไว้อีกทีหนึ่ง ซึ่งในทุกขั้นตอนนั้นหลวงปู่ท่านจะบริกรรมคาถาปลุกเสกไปด้วย เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อลูกศิษย์มารับเบี้ยแก้จากหลวงปู่นั้น บางคนก็ให้หลวงปู่จารอักขระบนตัวเบี้ยให้ บางคนก็รับไปทั้งอย่างนั้น ส่วนการถักเชือกนั้นพวกบรรดาลูกศิษย์หลวงปู่ ได้นำไปจ้างให้ชาวบ้าน และพระที่อยู่ในวัดช่วยถักเชือกปิดตัวเบี้ยให้อีกที ทั้งเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา และในการพกพาติดตัวเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

ด้านการถักเชือกนั้นถ้าจะพิจารณาดีๆ จะพบว่าเมื่อถักเชือกเสร็จแล้วจะมีการลงรัก เพื่อรักษาสภาพของเชือกให้อยู่คงทน แต่จากสภาพพื้นที่ของวัดนายโรงนั้น คงจะหารักได้ยากเต็มที
เพราะชาวบ้านแถบวัดนายโรงนั้นมักจะใช้ยางไม้ชนิดอื่น อาทิเช่น ยางลูกมะพลับ มาใช้แทนรักในการชุบเพื่อรักษาสภาพเชือกแทน และบางตัวก็ยังไม่ได้ลงรักอีกด้วย เบี้ยแก้ เป็นเครื่องรางของขลังที่แทบจะเรียกได้ว่า ครบทุกรส คือ ถ้าจะนับในด้านพุทธคุณของเบี้ยแก้แล้ว ครบทุกด้าน

และจะโดดเด่นกว่าเครื่องรางของขลังชนิดอื่นก็คือ ใช้ป้องกันภยันตรายต่างๆ กันคุณไสย์ กันของต่ำที่ถูกคนทำใส่ อาราธนาทำน้ำมนต์แก้ยาสั่งหรือแม้แต่ผีเข้า นอกจากนั้นยังสามารถบูชาติดตัว เพื่อขอพุทธคุณช่วยให้กับร้ายกลายเป็นดี แคล้วคลาดคงกระพันอีกด้วย

ขอบคุณที่มา
http://www.phangpra.com/teacher10-rod.html

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: