1516.ตำนานเสือหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส

ประวัติเสือหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
พระครูขันตยาภิราม (หลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล) เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๔๕ ในวัยเยาว์ท่านได้เรียนหนังสือตามเกณฑ์กับพระที่วัด สอบไล่ได้เทียบชั้นความระดับประถม ๔ (สูงสุดในสมัยนั้น) พออายุ ๒๑ ปี ถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือที่กรมสรรพาวุธ บางนา และเมื่อปลดประจำการอายุ ๒๓ ปี ได้อุปสมบทที่วัดปริวาส เมื่อวันพุธที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๘ โดยมี พระครูวินยานุบูรณาจารย์ (เชย) วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดไม้ วัดปริวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการน้อย วัดด่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อวงษ์ชอบเป็นพระนักปฏิบัติ ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา โดยได้ศึกษาที่วัดทองธรรมชาติ, วัดจักรวรรดิราชาวาส (สามปลื้ม) และวัดมหาธาตุฯ จนได้นักธรรมชั้นตรี ชำนาญทางด้านบาลีแบบมูลกัจจายน์ และภาษาขอมบาลี, ขอมไทย แต่ไม่ได้เข้าสอบต่อ เนื่องจากพระปลัดไม้ เจ้าอาวาสวัดปริวาส มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ ทำให้หลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเวลาต่อมา หลวงพ่อวงษ์มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๒๓

หลวงพ่อวงษ์ได้รับการถ่ายทอดวิชาปรุงยาสมุนไพร และสูญฝีด้วยปูนกินหมาก รวมทั้งการจับยามสามตาจากพระปลัดไม้ ซึ่งมีผู้ป่วยและลูกศิษย์มารับการรักษาอยู่เสมอ

นอกจากนี้ท่านยังเรียนรู้วิชาการเล่นแร่แปรธาตุ การต้มปรอท การรักษาโรค การเขียนผงลบผง โดยเฉพาะผงนะปถมัง และผงอิทธิเจ การอาบน้ำมนต์ และการวิปัสสนากรรมฐาน จาก ปู่เนียน สังข์เนตร ฆราวาสชื่อดังที่อาศรมบางวัว และได้ศึกษาการวิปัสสนากรรมฐานจาก หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ (พ.ศ.๒๔๗๘) ซึ่งพระบวชใหม่ในแถบบางโพงพางช่วงนั้น ถ้าจะออกธุดงค์ ต้องมาขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อพุ่มก่อนออกเดินธุดงค์

วิชาการสร้าง และปลุกเสกพยัคฆราช (เสือ) หล่อโลหะของหลวงพ่อวงษ์ ที่สร้างตั้งแต่รุ่น ๑ ถึงรุ่น ๖ (พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๙) มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักสะสมเครื่องรางของขลังในรูปแบบเสือ ทั้งแบบปั๊มโลหะและหล่อโบราณ ที่สร้างโดยหลวงพ่อวงษ์ พระเกจิอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและปลุกเสกเสือตามแบบที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่ปาน วัดมงคลโคธาวาส (บางเหี้ย) ซึ่งหลวงปู่ปานได้ศึกษาวิชาการสร้างเสือมาจากหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี พระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในด้านวิชาต่างๆ มากมายในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว

สำหรับวิชาการสร้างเสือและปลุกเสกเสือนั้น หลวงพ่อวงษ์ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่ปานทางนิมิต เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นระยะเวลาหลายปี จนกระทั่งสำเร็จวิชาการสร้างเสือ หลวงพ่อวงษ์จึงได้สร้างเสือครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๐๑ และทุกครั้งที่มีการสร้างเสือ หลวงปู่ปานจะมาร่วมพิธีด้วยการผ่านร่างประทับทรง จนถึงรุ่นหก ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายในปี ๒๕๑๙

ในการสร้างและปลุกเสกเสือนั้น หลวงพ่อวงษ์จะนั่งปลุกเสกเสือจนกระทั่งเสือโลหะนั้นกระโดดได้เหมือนมีชีวิต จึงหยุดปลุกเสก บรรดาศิษย์ที่ศรัทธาในยุคนั้นเห็นท่านปลุกเสกเสือกระโดดได้เป็นเรื่องปกติ จึงศรัทธาเลื่อมใสมาก นอกจากเสือโลหะแล้ว ยังมีพระเนื้อผง พิมพ์สมเด็จตัวหนอน อันเป็นเอกลักษณ์พิมพ์เฉพาะของหลวงพ่อวงษ์

เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงพ่อวงษ์ได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างและปลุกเสกเสืออาคมขลังนี้ให้กับสามเณรรูปหนึ่ง ซึ่งต่อมาคือ พระพิพิธพัฒนาทร (หลวงพ่อสมชาย) เจ้าอาวาสวัดปริวาสรูปปัจจุบัน เป็นศิษย์เพียงรูปเดียวที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการสร้างและปลุกเสกเสือต่อจากหลวงพ่อวงษ์

หลวงพ่อสมชายได้ทำพิธีปลุกเสือและสร้างเสือตามตำราที่สืบทอดจากพระเถราจารย์ยุคก่อน จนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบเสือที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน ทั้งเนื้อโลหะ เนื้อผง เนื้องา รวมทั้งเขี้ยวพยัคฆ์ โดยไม่สร้างทับรอยเลียนแบบพระเถราจารย์ ยึดหลักอักขระยันต์ของหัวใจพยัคฆ์ และในตำรับวิชาของวัดปริวาสฯ

ในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ นี้ เป็นวันครบรอบอายุ ๑๐๘ ปี หลวงพ่อวงษ์ (หลวงพ่อวงษ์มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๒๓) เพื่อแสดงความมุทิตาจิตและระลึกถึงพระคุณของหลวงพ่อวงษ์ หลวงพ่อสมชายจึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น “มหามงคล ๑๐๘ ปี หลวงพ่อวงษ์” ขึ้น เป็นเหรียญเม็ดแตงเนื้อโลหะทองคำ, เงิน, ทองแดง, สัมฤทธิ์, ทองเหลือง, ตะกั่วและดีบุก

พยัคฆราช เนื้อโลหะรุ่นนี้ หลวงพ่อสมชายได้รวบรวมชนวนมวลสารโลหะเก่าสมัยหลวงพ่อวงษ์มาหลอมเพื่อเป็นชนวนโดยเฉพาะ พร้อมกับพระผงพิมพ์ตัวหนอน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิมพ์ของหลวงพ่อวงษ์ ผสมกับเนื้อเถ้าอังคารของหลวงพ่อวงษ์ วัตถุมงคลรุ่น “มหามงคล ๑๐๘ ปีหลวงพ่อวงษ์” นี้ ได้ผ่านพิธีอันเป็นมงคลหลายวาระสำคัญ

พิธีปลุกเสกครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๙ น. โดยมี หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด และหลวงพ่อสมชาย วัดปริวาสฯ ขณะนี้ได้เปิดให้ทำบุญบูชาแล้ว

วัตถุมงคลรุ่น “มหามงคล ๑๐๘ ปีหลวงพ่อวงษ์” ได้จัดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ ให้แก่เหล่าศิษย์ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อวงษ์ ที่แม้กาลเวลาจะผ่านมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ความทรงจำต่อหลวงพ่อวงษ์ก็ยังไม่มีวันเสื่อมคลายไปจากใจศิษย์ได้เลย

วัตถุมงคลยุคกลาง เสือคำราม
หลวงพ่อวงษ์ หลังจากท่านได้บรรจุพระผงลงเจดีย์แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรอีก จนกระทั่งปี 2501 ท่านได้ทำพิธีหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปาน(วัดบางเหี้ย) เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2501 เสร็จแล้ว ท่านได้นำชนวนโลหะที่เหลือ ไปผสมปั้ม เสือเนื้อทองผสมทองเหลือง รุ่น 1 ได้จำนวน 500 องค์ โดยตอกโค๊ตตัว เฑาะ และตัว พุท เป็นภาษาขอม 2 ตัว แล้วทำพิธีปลุกเศกในอุโบสถ วัดปริวาสฯ มีหลวงพ่อและหลวงปู่ปานผ่านร่างประทับร่วมปลุกเศก จนเสือโลหะเคลื่อนไหวได้จึงเสร็จพิธี และได้ออกให้ลูกศิษย์บูชาองค์ละ 10 บาท (รุ่น 1 เป็นเสือปั๊มอย่างเดียวเท่านั้น) จนกระทั่ง 3 ปีเสือจึงหมด ปี 2504 หลวงพ่อได้สั่งให้ช่างปั๊มเสือเพิ่มแบบรุ่นแรกเป็นตัวอย่าง(ปั๊มอย่างเดียว) แต่เปลี่ยนเป็นเนื้อทองแดง รุ่น 2 ประมาณ 1000 องค์ ทำพิธีที่อุโบสถ มีหลวงพ่อวงษ์และหลวงปู่ปานประทับผ่านร่างร่วมปลุกเศกจนเสือเคลื่อนไหวได้ แล้วจึงนำออกให้บูชาในงานประจำปี 2504 บูชาองค์ละ 20 บาท จนหมด เสือรุ่น 3 มีคุณโมรา เอี๋ยววัฒนะเป็นผู้ติดต่อเปลี่ยนช่างใหม่ แต่เป็นแบบปั๊มเหมือนเดิม สั่งทำ 2500 องค์ เป็นเนื้อทองแดง ทำพิธีที่อุโบสถ มีหลวงพ่อวงษ์และหลวงปู่ปานประทับผ่านร่างร่วมปลุกเศกจนเสือกระโดดได้ จึงเสร็จพิธี ออกให้บูชาในงานประจำปี 2508 ราคาองค์ละ 20 บาท จนหมดลง

เสือรุ่น 4 หลวงพ่อได้สั่งทำแต่เปลี่ยนมาเป็น แบบเสือหล่อโบราณ โดยหลวงพ่อติดต่อช่างเอง ชื่อช่างติ่ง(จ่าติ่ง) ท่านนำแบบตัวอย่างไปให้สั่งทำราคาองค์ละ 1 บาท เป็นเนื้อทองเหลือง จำนวน 2000 องค์ แต่ช่างทำไม่ทันตามฤทษ์ที่ท่านกำหนด จึงได้เสือเพียง 1200 องค์ เท่านั้น ทำพิธีที่อุโบสถ มีหลวงพ่อวงษ์และหลวงปู่ปานประทับผ่านร่างร่วมปลุกเศกเหมือนเดิม จนเสือกระโดดได้ และออกให้บูชาในงานประจำปี 2512 บูชาองค์ละ 50 บาท ตอกโค๊ต 2 ตัว ด้านหน้าเป็นโค๊ตตัว อุหางลง และด้านหลังเป็นตัว พุท แบบภาษาขอม มีผู้ศรัทธาบูชาไปจนหมด เสือรุ่น 5 ในปี 2514 ได้ถอดแบบพิมพ์จากเสือรุ่น 4 ด้วยวีธีหล่อเนื้อทองเหลือง มีโค๊ต 2 ตัว ด้านหน้าเป็นตัว อุหางขึ้น คล้ายเลข ๙ ไทย ด้านหลังเป็นตัว พุท จำนวน 5000 องค์ แต่ปลุกเศกที่วิหาร เพราะอุโบสถกำลังบูรณะอยู่ พิธีเหมือนเดิมทุกประการ แต่ครั้งนี้ได้ พระครูพิศาลพัฒนพิธาน(หลวงพ่อสมชาย) ที่ยังเป็นสามเณร ร่วมพิธีปลุกเศกด้วย ทำพิธีจนเสือกระโดดออกมานอกบาตร จึงเสร็จพิธี ออกให้บูชาองค์ละ 50 บาท ในปี 2514 และในปีนี้หลวงพ่อวงษ์ ได้สั่งทำเหรียญ รูปเหมือนหลวงปู่ปานด้วย มี 2 พิมพ์ เป็นรูปไข่ และแบบกลม เพื่อสมนาคุณผู้ที่ร่วมบริจาคบูรณะอุโบสถ

วัตถุมงคล ยุคปลาย สมเด็จตัวหนอนหลังสาลิกา อันลือลั่น
เมื่อปี 2517 ในวันมหามงคล 5 ธันวาคม หลวงพ่อวงษ์ได้รับประกาศแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นตรีเป็น”พระครูขันตยาภิราม” โดยหลวงพ่อวงษ์ได้เข้ารับการแต่งตั้งที่พระอุโบสถวัดราชบพิตรฯ ในวันที่ 4 ม.ค.2518 ตามใบฎีกาของกรมการศาสนา ในวาระอันเป็นมงมลนี้ คณะศิษย์ได้จัดเตรียมงานอย่างยิ่งใหญ่ หลวงตายิ้ม อภิปุญโญ พระลูกวัด ที่ทำการพิมพ์พระผงสมเด็จที่ไม่เหมือนที่ใด บรรดาลูกศิษย์รู้จักกันในพิมพ์ตัวหนอน มี 2 ขนาด เล็กกับใหญ่ พิมพ์ใหญ่เรียกว่าพิมพ์ไกเซอร์ฐานจุด ได้ถวายให้หลวงพ่อปลุกเศก 1 คืน และได้นำออกแจกในวันรับพัดยศ ในงานนี้หลวงพ่อได้แจกพระใบมะขามปรกที่ลูกศิษย์นำมาถวายอีกด้วย

ในปี 2518 นี้ หลวงตายิ้มยังแกะพิมพ์ต่างๆอีก 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ไกเชอร์ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ขาโต๊ะ และพิมพ์อกร่อง ถวายให้หลวงพ่อวงษ์ปลุกเศก นำออกให้บูชาในงานประจำปี 2518 หลังจากที่หลวงพ่อแจกพระพิมพ์ตัวหนอนหมดแล้วเป็นที่นิยมในหมู่ลูกศิษย์อย่างมาก ทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้มาขอให้หลวงตายิ้มทำให้ แล้วให้หลวงพ่อวงษ์ปลุกเศก จนกระทั่งหลวงพ่อมรณะภาพแล้วก็ยังมีการพิมพ์พระอยู่ จนหลวงตายิ้มมรณะภาพลงในปี 2531 หลวงพ่อสมชาย

จึงได้นำพิมพ์ไปบรรจุ เจดีย์หน้าวิหาร ปี 2519 หลวงพ่อวงษ์ ได้สั่งทำเสือรุ่น 6 ขึ้น มีพระพิมล อิทธิเตโช เป็นผู้ติดต่อร้านทำ โดยนำพิมพ์รุ่น 3 มาเป็นแบบ ในราคาองค์ละ 1.50 บาท เป็นเนื้อทองแดง สั่งทำจำนวน 50000 องค์ แต่ได้เพียงจำนวน 37500 องค์ เป็นเนื้อเงิน 29 องค์ เพราะแม่พิมพ์แตก ต้องใช้แม่พิมพ์ถึง 8 อัน ทำให้ทางร้านต้องคืนงานหลวงพ่อ

เนื่องจากร้านขาดทุน เพราะเสียค่าแม่พิมพ์มาก ทำพิธีปลุกเศกที่อุโบสถโดยหลวงพ่อวงษ์ หลวงปู่ปานผ่านร่างประทับ และหลวงพ่อสมชาย ปลุกเศกจนเสือกระโดดออกจากบาตร 16 องค์ ลูกศิษย์ต่างเข้าแย่งกันชุลมุน หลวงพ่อบอกว่าเสือที่กระโดดออกมานั่นเป็นพวกหัวโจกทั้งนั้น และได้ออกนำให้บูชาองค์ละ 100 บาท จนหมดลงในปี 2532

เสือรุ่น 6 นี้ พระครูจันทรโอภาส (จ้อย) เจ้าอาวาสวัดด่าน สหธรรมิก ได้ขอเสือรุ่น 6 ไปในราคาทุนจำนวน 2000 องค์ ต่อมาปี 2520 พระอุโบสถใกล้แล้วเสร็จสมบูรณ์ หลวงพ่อวงษ์ มอบหมายให้ พระพิมล และแม่ชีในวัดช่วยกันพิมพ์พระทรงสมเด็จมีทั้งหมด 7 พิมพ์ มีพิมพ์ไกเซอร์ พิมพ์พระประธาน พิมพ์นิยม พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร พิมพ์อกร่อง พิมพ์เล็กเท่าวัดปากน้ำ และพิมพ์คะแนนหลังปั๊มชื่อหลวงพ่อวงษ์ ได้พิมพ์ละประมาณ 84000 องค์ มีสีขาวเนื้อผงผสมปูน สีดำเนื้อปูนผสมผงใบลานเผา ได้มาจากพระพิมลที่นำใบลานพระคัมภีร์เทศน์เก่าที่ชำรุดมาเผาไฟ จนทำให้พระพิมลไม่สบายอย่างหาสาเหตุไม่ได้ จึงขอให้หลวงพ่อวงษ์รดน้ำมนต์ให้จนหาย หลวงพ่อวงษ์จึงสั่งให้นำผงใบลานเก่าที่เผาแล้วไปผสมทำพระเสีย เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้สร้างใบลาน

เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วได้นำพระไปให้หลวงพ่อวงษ์ปลุกเศกเดี่ยวเพียงองค์เดียว มาตลอดจนมรณะภาพ พระผงรุ่นนี้ หลวงพ่อตั้งใจจะนำออกมาแจกในงาน ทำบุญฉลองพระอุโบสถที่ทำการบูรณะเสร็จแล้ว ท่านจึงตั้งใจปลุกเศกให้ดีที่สุด ท่านบอกว่าพระผงรุ่นนี้ ต่อไปจะหายากยิ่งกว่าพระผงพิมพ์ตัวหนอนรุ่นพัดยศ เพราะพระผงรุ่นนี้ท่านปลุกเศกนานถึงสามพรรษา จนท่านมรณะในวันที่ 2 สิงหาคม 2523 พระผงรุ่นนี้จึงเป็นรุ่นสุดท้ายของท่าน
วาทะหลวงพ่อ

“ตอนปลุกเสกเสือรุ่น 1 นั้น ผมเพิ่งจบชั้นประถม แต่เสือรุ่น 6 นั้น ผมจบปริญญาแล้วพวกคุณว่ารุ่นใหนจะดีกว่ากัน”

ขอบคุณขอมูลดีๆจาก amuletlives
แอพเกจิ แอพรวมเรื่องราวประสบการณ์จริง เกี่ยวกับ พุทธคุณ ไสยศาสตร์ วิชาอาคม

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: