1512.ย้อนรอยหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ อมตะพระคณาจารย์ขลังแห่งลำน้ำแม่กลอง

หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโณ(พระราชมงคลวุฒาจารย์)
วัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

ในบรรดาอมตะพระคณาจารย์ขลังแห่งลำน้ำแม่กลอง ที่ปรากฏเกียรติคุณชื่อเสียโด่งดังเป็นที่เลื่องลือรู้จักเคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่หลายท่าน ตลอดสองฝั่งแห่งลำน้ำแม่กลอง

หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโณ สมณศักดิ์ที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ แห่ง ?วัดเสด็จ? เป็นอมตเถราจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก และเคารพศรัทธาจากบรรดาศิษย์ ไม่แพ้อมตเถราจารย์ท่านใดในอดีต แม้แต่ในปัจจุบัน ด้วยท่านเป็นพระเถระนักพัฒนาที่มีผลงานเป็นประจักษ์มากมาย ทั้งในส่วนของการพัฒนาวัดวาอาราม ตลอดถึงสถานศึกษาต่างๆ อิทธิคุณความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ด้านพุทธาคมของท่านก้อเป็นที่เลื่องลือกล่าวขาน จากประสบการณ์ในวัตถุมงคลของท่านที่ได้สร้างและปลุกเสกเอาไว้ เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดี
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2405 ณ.ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

เป็นบุตรของ นายขำ-นางหุ่น เมื่ออายุได้ 15 ปี ครอบครัวได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำบลแควน้อย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามมี ?พระอาจารย์จุ้ย? ผู่เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย วิปัสนากัมมัฏฐาน รวมถึงพุทธาคมต่างๆ ทั้งจากพระอุปัชฌาย์และฆราวาสผู้ขลังเวทย์หลายท่าน

ปี พ.ศ. 2434 พระอาจารย์จุ้ย ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พิจารณาเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถภูมิปัญญาความรอบรู้ พอที่จะดูแลตัวเอง และหมู่คณะได้เป็นอย่างดี และขณะนั้น วัดใหม่ยายอิ่ม ซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ ไร้เจ้าอาวาสปกครองดูแลพัฒนา จึงมอบหมายให้ท่านไปดูแลปกครองในฐานะ ?เจ้าอาวาส?

วัดใหม่ยายอิ่ม ตั้งชื่อตามนามผู้บริจาคที่ดินถวายเพื่อสร้างวัด คือ ยายอิ่ม เดิมนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ครั้งที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆนั้น เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์เท่านั้น ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ก้อได้ชื่อใหม่ว่า ? วัดใหม่ใต้ปากคลองดอน? ในปีพุทธศักราช 2436

เมื่อท่านมาอยู่ ได้ทุ่มเทสติปัญญา กำลังกาย กำลังใจ สร้างและพัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนเป็นวัดแห่งหนึ่งของสมุทรสงคราม ที่มีความใหญ่โต สวยงาม เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด ไม่แพ้วัดใด

ครั้งหนึ่ง?สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯวัดบวรนิเวศ? เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ ตามหัวเมืองใหญ่ๆได้เสด็จมายังวัดนี้ ได้ประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดเสด็จ

โดยท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ตอนแรกนั้นขบวนเรือพระที่นั่งได้ผ่านวัดเสด็จไปแล้ว เผอิญพระองค์ทอดพระเนตรเห็น ท่านและคณะสงฆ์ตั้งโต๊ะหมู่บูชาเจริญชัยมงคลคาถารับเสด็จด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงมีรับสั่งให้ขบวนเรือย้อนกลับมาจอดยังท่าน้ำของวัด เสด็จขึ้นตรวจวัด ทรงทอดพระเนตรอาณาบริเวณวัดและมีพระดำริตรัสชอบว่า ?จัดวัดได้เรียบร้อยสวยงามดี? ตรัสถามถึงชื่อของท่าน และมีรับสั่งให้ไปเฝ้าที่ ?วัดอัมพวันเจติยาราม? ในช่วงเย็นๆ

ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังอีกว่า พอได้รับกระแสรับสั่งให้ไปเฝ้าตอนเย็นๆที่วัดอัมพวันฯนั้น ท่านก้อรู้สึกประหม่า ด้วยเหตุว่า หากไปถึงที่นั่น คงได้พบพระผู้ใหญ่มากมาย แต่ไม่ไปก้อไม่ได้ ด้วยเป็นกระแสรับสั่ง พอตกเย็นท่านได้ครองพาดผ้าสังฆาฏิ ให้ศษย์พายเรือไปส่งยังวัดอัมพวันฯ เมื่อถึงเข้าก้อเข้าเฝ้า ?สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ? ทรงจำได้ ทรงรับสั่งถามว่า ?มาแล้วหรือ มาอย่างไร? จากนั้นทรงหันไปรับสั่งกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาเฝ้าว่า ? ท่านใจองค์นี้ท่านเป็นสมภารที่เอาใจใส่วัดดี จัดทำวัดให้สะอาดสมเป็นวัดตัวอย่าง… ไม่ไหวว่าจะไปพักที่วัดบางสะแก ที่นั่นมีแต่ชาวบ้านขี้เมา นั่งกันเต็มหน้าวัด เลยไม่พักแล้ว…เอ้า เอาย่ามมหาสมณุติตมาภิเศกแล้วนัดเอาไว้ก่อน ฉันกลับไปกรุงเทพฯ แล้วฉันจะส่งใบแต่งตั้งมาให้อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้คุณก้อมีอำนาจหน้าที่ ทำการได้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป รักษาคุณงามความดีไว้นะ…?

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงประทานพัด และย่ามแล้ว ทรงอบรมถึงเรื่องให้รักษาความดีไว้ จากนั้นก้อทรงประทานอนุญาตให้กลับวัดได้

โอกาสต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคุ้นเคยกับวัดเสด็จมาก ขนาดเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งหลายวาระ และพระบรมวงศานุวงค์ ก้อได้ตามเสด็จด้วยทุกครั้งไป และพระองค์ทรงมีเมตตาต่อหลวงปู่ใจมาก ดังจะเห็นได้จาก พระอุโบสถที่สร้างใหม่นั้น ทรงประทานทุนทรัพย์จ้างช่างหลวงมาดำเนินการออกแบบและก่อสร้างให้ นอกจากนั้นพระบรมวงศานุวงค์ที่เคยตามเสด็จ ยังร่วมบริจาคทรัพย์สมทบในการสร้างอุโบสถของวัดเสด็จด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพระบรมวงศานุวงค์ที่มีต่อท่าน และหากท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯครั้งใด จะมาพักแรมยังวัดบวรนิเวศฯเสมอ

การศึกษาพุทธาคม เวทย์มนต์คาถา
ท่านพระครูวิบูลสมุทรกิจ ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเลขาของท่าน กล่าวตามคำบอกเล่าของท่านว่า ท่านมีความสนใจศึกษาไสยเวทย์ศาสตร์มาตั้งแต่ก่อนการอุปสมบท ได้เล่าเรียนวิชาเมตตามหานิยมจากคนเฒ่าคนแก่ที่อัมพวา เมื่อเรียนแล้วก้อจะทดลองว่าว่าจะขลังจริง ตามที่เจ้าของวิชาบอกหรือไม่?

วิธีทดลองก้อคือ โดยยืนใกล้ๆต้นฟักทอง ยื่นมือออกไปห่างยอดฟักทองราวหนึ่งศอก แล้วทำจิตให้เป็นสมาธิ บริกรรมภาวนาคาถาตามที่ได้เล่าเรียนมา ท่านว่ายอดฟักทองจะค่อยๆโอนมาเกาะมือ แล้วเลื้อยเรื่อยขึ้นมาถึงศอก ท่านจึงเชื่อว่าวิชาที่ได้เล่าเรียนมาขลังจริง
ท่านพระครูวิบูลฯจึงถามว่า การที่ยอดฟักทองเงลี้อยมาถึงข้อศอกนั้น จะนำไปใช้ประโยชน์ทางเมตตามหานิยมได้อย่างไร ท่านตอบว่า ก้อแค่ทดลอง หากจะนำไปใช้ประโยชน์ ต้องเด็ดยอดฟักทองที่เลี้อยมาถึงข้อศอกนั้นไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผง บริกรรมคาถาปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จึงนำไปใช้ได้

นอกจากนั้น ท่านยังเคยเล่าว่า ตอนที่ย้านมาจาก ?วัดบางเกาะเทพศักดิ์? มาอยู่ ?วัดใหม่ยายอิ่ม? หรือ

?วัดเสด็จ? ใหม่ๆ ท่านต้องเดินทางไปเมืองกาญจนบุรีทุกปี เพื่อตัดไม้ล่องซุงมาสร้างวัด ขึ้นๆล่องๆอยู่หลายปีจึงสร้างวัดเสด็จได้ และทุกปีท่านมักจะแวะพักที่ ? วัดหนองบัว? เสมอ และนำหมากพลูไปถวาย ?หลวงปู่ยิ้ม?เป็นประจำ และมีความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ด้วยหลวงปู่ยิ้มเป็นพระเถราจารย์ที่มีความเข้มขลังทางพุทธาคมและมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น

โดยขณะที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ คือ ปี พ.ศ.2434 นั้น ท่านหลวงปู่ยิ้มเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวล่วงเข้าปีที่ 14 แล้ว(เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ.2420) และกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งบรรพชิต และฆราวาสต่างมุ่งหน้าสู่วัดแห่งนี้ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์

ครั้งหนึ่ง ท่านหลวงปู่ยิ้ม คงพิจารณาเห็นแล้วว่า ท่านเป็นพระภิกษุ ที่มีสมณสารรูปเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีศีลาจารวัตรอันงาม และมีความสนใจในการศึกษาพุทธาคม จึงพูดเปิดทางให้กับท่านว่า ถ้าสนใจวิชาไสยศาสตร์จะถ่ายทอดให้

ท่านไม่รอช้า รีบฝากตัวเป็นศิษย์ทันที ด้วยรอโอกาสนี้มานานแล้ว แต่การจะได้รับการถ่ายทอดนั้น ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบตามธรรมเนียมเสียก่อน บททดสอบคือ เป็นการทดลองพลังจิต โดยจุดเทียนตั้งไว้ที่ขันน้ำมนต์ แล้วเพ่งกระแสจิตไปยังเทียน เพื่อให้เทียนขาดกลางให้ได้ หาดทำได้เมื่อใด ถึงจะถ่ายทอดวิชาให้

ท่านใช้เวลาปฏิบัติอยู่นานถึง 7 คืน เทียนก้อยังไม่ยอมขาด หลังจากกลับมาพักที่แพ จึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่า หากคืนพรุ่งนี้เทียนยังไม่ขาด ก้อจะกลับอัมพวา และจะเลิกสนใจไสยศาสตร์อีกต่อไป

ผลปรากฏว่าในคืนที่ 8 ท่านทำได้สำเร็จ โดยสามารถเพ่งกระแจิตตัดเทียนให้ค่อยๆละลายขาดลงตรงกลาง หลวงปู่ยิ้มถึงกลับกล่าวคำชมว่า ? เมื่อแรกเรียนท่านก้อเก่งกว่าเสียแล้ว? เพราะท่านทำเพียง 8 วัน เทียนก้อขาด แต่หลวงปู่เองต้องทำถึง 15 วัน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆมาอย่างมากมาย จนหมดสิ้นทุกอย่าง เรียกได้ว่าเป็นศิษย์สายตรงก้นกุฏิอีกองค์หนึ่งของท่านหลวงปู่ยิ้มเลยทีเดียว เมื่อเทียบความอาวุโสระหว่างท่าน และหลวงปู่เหรียญ ท่านจะมีอาวุโสสูงกว่า โดยท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2405 ส่วนหลวงปู่เหรียญเกิดปี พ.ศ.2419 และเมื่อครั้งหลวงปู่เหรียญอุปสมบทในปี พ.ศ. 2440 นั้น ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จล่วงเข้าปีที่ 6 แล้ว

หลวงปู่ใจ ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบพระธรรมวินัยอย่างเคร่งรคัดอย่างเสมอต้นเสมอปลาย พูดน้อย และพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ และไพเราะหู ไม่เห่อเหิมในลาภยศสรรเสริญ ไม่ยกตนข่มท่าน และไม่โอ้อวดคุณวิเศษที่มีอยู่ในตัว
ดังนั้นวัตถุมงคลของท่าน จึงมีความเข้ทขลังอย่างยิ่งยวด แต่ก้อไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่ใครสักคนจะได้รับวัตถุมงคลจากมือท่าน ยิ่งในห้วงระยะเวลาก่อนท่านอายุ 90 ปีแล้ว ใครได้รับของดีจากท่าน ถือว่าโชคดี

บางคนเดินทางมาจากจังหวัดไกลๆขอเท่าใดท่านก้อไม่ยอมให้ และหากท่านจะปฏิเสธ ท่านมักจะพูดว่า ?ยังไม่ว่างที่จะทำ? หรือ ?มันจะไม่ค่อยดีล่ะมั้ง? หากท่านพูดเช่นนี้แล้วล่ะก้อ อย่าไปง้อเสียให้ยากเลย ตรงกันข้ามกับบางคนที่ท่านเห็นว่า เหมาะสมและสมควร ท่านก้อจะมอบให้ทันที ทั้งกำชับด้วยว่า ?เก็บไว้ให้ดีนะจ้ะ อย่าไปบอกใคร ของฉันดีทางแคล้วคลาดและเมตตามหานิยมจ้ะ?

ที่ท่านกำชับว่า อย่าไปบอกใคร เพราะการสร้างวัตถุมงคลของท่านนั้น สร้างด้วยความยากลำบาก จึงเกรงจะรบกวน จนท่านไม่มีเวลาจะปฏิบัติสาสนกิจนั้นเอง

นอกจากนี้การสร้างวัตถุมงคลของท่าน จะพิถีพิถันใช้ความประณีตบรรจงอย่างที่สุด เช่น ตะกรุดแต่ละชนิด ต้องมีขนาดเท่ากัน การม้วนก้อต้องเหมือนกัน การควั่นไหม 5 สีร้อยตะกรุดลูกอม ก้อต้องใช้ไหมที่มีขนาดเท่ากันทุกเส้น เวลาควั่นต้องจัดเกลียวให้เป็นระเบียบเดียวกัน เป็นต้น

ประการหนึ่งที่น่าสังเกตุก้อคือ การที่ท่านบ่งบอกเจาะจงลงไปว่า ของฉันดีทางแคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม ทั้งๆที่ท่านก้อได้ร่ำเรียนมาทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี ซึ่งทุกแขนงเป็นที่เชื่อได้ว่าท่านเข้มขลัง และศักดิ์สิทธิ์จริงทุกประการตามที่ได้ร่ำเรียน และศึกษามาประการนี้ ท่านเคยกล่าวกับท่านพระครูวิบูลฯว่า ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจสร้างวัตถุมงคลแต่ละชนิด ท่านพิจารณาเห็นว่า คุณวิเศษด้านคงกระพันนั้น แม้ถูกยิงถูกฟันจะไม่เข้าไม่ตาย แต่ก้อได้นับความบอบซ้ำ เกิดโทษในภายหลังได้ ส่วนทางเสน่ห์ยาแฝด อาจจะมีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม ผิดลูกผิดเมีย ทำให้เกิดความเดือดร้อนได้ จึงระงับไว้เสีย ไม่สร้าง และสร้างเฉพาะเน้นหนักทางด้านแคล้วคลาด และเมตตามหานิยมเท่านั้น ด้วยเห็นคุณประโยชน์ที่ดีกว่า

ท่านเป็นพระเถรที่มีจิตใจเมมตาสูง จึงเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ไม่ว่าใกล้ไกล ่างก้อพยายามเดินทางไปนมัสการท่านด้วยตนเองเสมอ เฉพาะอย่างยิ่ง ในระะเวลา 3-4 ปี ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อถึงวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีผู้เดินทางไปกราบนมัสการท่านทั้งวัน ท่านก้อให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ด้วยความเสมอภาค ทั้งยังแจกวัตถุมงคลโดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่า แม้สิ่งที่ท่านแจก บางครั้งจะทำด้วยเนื้อทองคำ ซึ่งมีมูลค่าสูง ท่านก้อจะบอกว่า ให้เป็นของขวัญที่มาเยี่ยม

เหตุนี้เอง ผู้ที่มาเยี่ยมกราบนมัสการท่าน จึงมีความปลื้มปิติ และยินดีบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากๆ จนทำให้การก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆที่ท่านดำริไว้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ผลงานด้านการพัฒนา ผลงานด้านนี้ของท่านนับเป็นเอนกอนันต์ ยากจะนำมาเสนอได้ทั้งหมด ด้วยมามากมายนั่นเอง จึงนำมาเป็นบางส่วนเช่น

1.การพัฒนาวัดเสด็จ จากเดิมเป็นวัดเล็กๆ จากแรงศรัทธาของยายอิ่ม ได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา มีเพียงกุฏิสงฆ์ เมื่อท่านได้มารับหน้าที่ปกครองดูแล ได้พัมนาวัดแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรือง ขยับขยายเนื้อที่จากเดิม ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่เศษ พร้อมเสนาสนะครบถ้วน เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจ ไม่ว่าจะเป็น พระอุโบสถ โรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร รวมถึงกุฏิสงฆ์ต่างๆ

2.โรงเรียนสุทธิสาร ท่านสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาของบุตรหลานชาวบ้าน ให้ได้รับการศึกษาได้อย่างทั่วถึง

3.ตั้งมูลนิธิสุทธิสาร เพื่อเป็นกองทุนไว้ทนุบำรุงการศาสนศึกษา และการคณะสงฆ์ ตลอดจนเรียบเรียงหนังสืออุโบสถศีล แจกจ่ายเผยแพร่พุทธศาสนิกชนที่สนใจทั่วไป เป็นต้น
ตำแหน่ง-และสมณศักดิ์

-พ.ศ.2469 ได้รับพระราชทานสมณสักดิ์ชั้นสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูสุทธิสาร และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ

-พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสุทธิสาราวุฒาจารย์
-วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่

พระราชมงคลวุฒาจารย์
หลวงปู่ใจ อินทฺสุวรรณฺโณ ได้ถึงแก่กาลมรณะภาพ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2505 ตรงกับ แรม 6 ค่ำ เดือน 7 รวมสิริอายุ 100 ปี 78 พรรษา
ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตรงกับวันที่ 9 เมษายน

พ.ศ.2506………………………………………….
(ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก…คุณกานต์และสำนักพิมพ์คเณศ์พร)
ศิษย์ที่ไปเรียนวิชามาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จมีหลายรูปด้วยกันเช่น
-พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงปู่เก๋) วัดแม่น้ำ อำเภอเมือง สมุทสงคราม
-พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด) วัดแก้วเจริญ อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม
-พระครูสุนทรจริยาวัตร (หลวงปู่ม่วง) วัดยางงาม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8986.10;wap2

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: