1412.สำนักวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง สำนักทิศาปาโมกข์ ตักศิลาแดนทักษิณ

ประวัติวัดเขาอ้อ (สำนักทิศาปาโมกข์)
วัดเขาอ้อแต่เดิมเป็นสำนักเขาอ้อซึ่งเป็นสำนักทิศาปาโมกข์แบบเดียวกันกับในประเทศอินเดีย สำนักเขาอ้อก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๘๐๐ ผู้ก่อตั้งคือพรหมณาจารย์หรือพราหมณ์ผู้ทรงเวทย์ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย เป็นยุคที่นามเรียก “ดราวิเลียนยาตรา”คือยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เริ่มเคลื่อนไหวออกจากประเทศอินเดียเพื่อจะขยายฐานศรัทธาของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นผลเนื่องจากศาสนาพุทธที่กำลังมาแรงในประเทศอินเดีย ทำให้ศาสนสถานของพราหมณ์หลายแห่งต้องกลายมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ เช่นวัดต่างๆในเขตเมืองนครศรีธรรมราช

ศาสนาพุทธได้เริ่มมาตั้งมั่นในเมืองนครศรีธรรมราชราวปี พ.ศ. ๘๐๐ ตามหลักฐานระบุว่าศาสนาพราหมณ์เดินทางมาก่อน ก็แสดงว่าสำนักเขาอ้อย่อมที่จะมีการก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๘๐๐ อย่างแน่นอนเพราะสำนักนักเขาอ้อ พราหมณ์เป็นผู้ก่อตั้ง
มีบันทึกชื่อสำนักเขาอ้อในหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่อยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยพาราณสีในประเทศอินเดีย ค้นพบโดย “เวทย์ วรวิทย์” อดีตมหาเปรียญผู้ผ่านการศึกษาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ในบันทึกมีใจความว่าแต่เดิมสำนักเขาอ้อเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ คือเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื่อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำ เพราะพราหมณ์เป็นชนชั้นรักสงบมีธาตุแห่งความประนีประนอมสูง มีความคิดกว้างไกล เป็นชนชั้นนักการศึกษาชนชั้นแรกของโลก

โดยนอกจากจะมีวิชาเกี่ยวกับการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม การจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามตลอดไปถึงไสยเวทย์ และการแพทย์
การสืบทอดวิชาในสำนักเขาอ้อได้ดำเนินมาจนกระทั่งถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายท่านได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์ว่าไม่สามารถที่จะต้านกระแสศรัทธาของศาสนาพุทธได้แน่แล้วจึงคิดหลอมสำนักเขาอ้อเข้ากับศาสนาพุทธและกลัวว่าจะไม่มีผู้ใดรับสืบทอดวิชา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อซึ่งพราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทย์หลายท่านได้ฝังร่างไว้ที่นี้จะถูกปล่อยให้รกร้างประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาถึงตัวจังหวัดพัทลุงแล้ว จึงได้ตัดสินใจนิมนต์พระรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยว “วัดน้ำเลี้ยวปัจจุบันเป็นวัดร้างหมดสภาพความเป็นวัดแล้ว” มีนามว่า “พระอาจารย์ทอง”ให้มาอยู่ในถ้ำแทนและมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์พร้อมถ่ายทอดวิชาให้และมอบสำนักให้
กลายเป็นที่พักสงฆ์จึงกลายมาเป็น “วัดเขาอ้อ”แม้ว่าสำนักเขาอ้อจะกลายมาเป็นสำนักสงฆ์แล้ว
แต่ก็ยังคงสืบทอดหน้าที่เป็นสำนักเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนต่อมาอีกหลายร้อยปี แต่ว่าเมื่ออยู่ในความปกครองของพระภิกษุ บรรดาศิษย์ที่เข้าเรียนในสำนักนี้มีหลายชนชั้นไม่เหมือนกับสมัยพราหมณ์ปกครองอยู่เปิดโอกาสให้แก่เชื่อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำเท่านั้น
ต่อมาในปี ๒๒๘๔ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑องค์
และหล่อด้วยเงิน ๑องค์แก่วัดเขาอ้อสร้างโดยเชื้อพระวงศ์ที่เคยมาศึกษาวิทยาการที่สำนักเขาอ้อมีนามว่า “เจ้าอิ่ม กับ เจ้าฟ้ามะเดื่อ”
ในสมัยพระมหาอินทราชท่านได้ทำการบูรณะพระพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐องค์ แทนพระบารมี ๑๐ทัดของพระพุทธองค์ สร้างอุโบสถขึ้น ๑หลัง สร้างพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธไสยาสน์ ๑องค์ พร้อมด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขาอ้อ ๓องค์ แล้วท่านก็ไปจากวัดเสีย ต่อมาปะขาวขุนแก้วเสนาและขุนศรีสมบัติพร้อมกับชาวบ้านใกล้เคียง
ไปนิมนต์พระมาหาคงให้มาอยู่ต่อที่วัด ต่อมาก็มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเขาอ้อต่อกันมาหลายสิบรูปล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยเวทย์มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้
ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
ลำดับที่

รายนามเกจิอาจารย์วัดเขาอ้อ เป็นเจ้าอาวาสสมัย

๑.พระอาจารย์ทอง ยังไม่มีข้อมูล

๒.พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง ยังไม่มีข้อมูล สมัยเดียวกับหลวงพ่อทวด

๓.พระอาจารย์พรหมทอง ยังไม่มีข้อมูล

๔.พระอาจารย์ไชยทอง ยังไม่มีข้อมูล

๕.พระอาจารย์ทองจันทร์ ยังไม่มีข้อมูล

๖.พระอาจารย์ทองในถ้ำ ยังไม่มีข้อมูล

๗.พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ ยังไม่มีข้อมูล

๘.พระอาจารย์ทอง (หูยาน) ยังไม่มีข้อมูล

๙.พระครูสังฆวิจารณ์ฉัตทันต์บรรพต (พระอาจารย์ทองเฒ่า) พ.ศ.๒๓๙๒ – พ.ศ.๒๔๗๐

๑๐.พระอาจารย์พระครูปาน ปาลธัมโม (พระอาจารย์ปาน) พ.ศ.๒๔๗๑ – พ.ศ.๒๕๒๐

๑๑.พระครูอดุลธรรมกิต อัคคธัมโม (พระอาจารย์กลั่น) พ.ศ.๒๕๑๙ – พ.ศ.๒๕๔๙

๑๒.พระอาจารย์ห้อง ธัมวโร (พระอาจารย์คล้อย)พ.ศ.๒๕๕๐ – ปัจจุบัน

ในปัจจุบันวัดเขาอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ขอบคุณที่มา
https://sites.google.com/site/prawatiwadkheaxx/

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: